หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พลิกโฉมนาฬิกาทุกเรือนให้กลายเป็นอุปกรณ์ชำระเงินไร้สัมผัส  (อ่าน 573 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 26 กันยายน 2020, 14:25:33 »

การชำระเงินแบบไร้สัมผัสกำลังเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก เพราะเป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว และถูกสุขอนามัย โดยเฉพาะหลังจากที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เทคโนโลยีดังกล่าวก็ยิ่งเป็นที่ยอมรับและถูกใช้งานแพร่หลายขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งนอกจากบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเครดิตแล้ว อุปกรณ์สวมใส่ หรือแวร์เอเบิล ก็กำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้นด้วยเช่นกัน อีกทั้งยังนับเป็นครั้งแรกที่นาฬิกาข้อมือทั่วไปหรือนาฬิกาหรูที่ทำจากโลหะจะมาพร้อมฟังก์ชั่นการชำระเงินไร้สัมผัส โดยบริษัท Winwatch ของสวิตเซอร์แลนด์ได้ติดชิปความปลอดภัยขนาดจิ๋วจากบริษัท Infineon Technologies AG (FSE: IFX / OTCQX: IFNNY) ลงบนกระจกคริสตัลแซฟไฟร์ STISS(R) ได้อย่างแนบเนียนจนแทบมองไม่เห็น ซึ่งชิปตัวนี้จะทำให้ผู้สวมใส่นาฬิกาสามารถทำธุรกรรมชำระเงินได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็วในระดับมิลลิวินาทีผ่านคลื่นความถี่วิทยุ

"การเชื่อมต่อที่รวดเร็วและเสถียรจากนาฬิกาไปยังเครื่องอ่านที่จุดชำระเงินนั้น เป็นปัจจัยสำคัญต่อการยอมรับของลูกค้า” อเล็กซ์ คาลเบอร์แมทเทน ซีอีโอของ Winwatch กล่าว “Infineon มีคุณสมบัติเหนือโซลูชั่นอื่นๆ ทั้งหมดที่มีอยู่ในท้องตลาดขณะนี้ ในแง่ของคุณภาพของไวร์เลส ตัวอย่างเช่น การติดชิปไร้สัมผัสทำให้เราสามารถพัฒนากระจกคริสตัลแซฟไฟร์ที่เปลี่ยนนาฬิกาทุกเรือน ตั้งแต่นาฬิกาไขลานที่เป็นมรดกตกทอดไปจนถึงนาฬิกาแนวสปอร์ตสายโลหะ ให้กลายเป็นอุปกรณ์ชำระเงินแบบไร้สัมผัสได้ และทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่”

"ไม่ว่าจะเป็นบัตรแบบคลาสสิก เครื่องประดับแฟชั่น เช่น แหวน หรือ อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ นวัตกรรมชิปจาก Infineon ทำให้โลกแห่งความจริงกับโลกดิจิทัลมาบรรจบกันได้ และทำให้การทำธุรกรรมชำระเงินเป็นไปได้อย่างง่ายดาย ปลอดภัย และถูกสุขอนามัย” บียอร์น ชาร์เฟิน หัวหน้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ Payment & Ticketing Solutions บริษัท Infineon กล่าว “ด้วยความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและเทคโนโลยีไร้สัมผัสของเรา ตลอดจนดีไซน์ชิปที่ประหยัดพลังงาน เราจึงมีบทบาทเป็นผู้นำในตลาดที่เติบโตแห่งนี้”

วิธีการชำระเงินแบบไร้สัมผัสที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุดยังคงเป็นบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต จากข้อมูลของ ABI พบว่า สองในสามของบัตรทั้งหมดที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นแบบไร้สัมผัส และคาดว่าสัดส่วนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 80% ภายในปี 2568 ขณะที่ความต้องการอุปกรณ์สวมใส่ที่มีฟังก์ชั่นการชำระเงินก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยธุรกรรมการชำระเงินด้วยสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์สวมใส่พุ่งขึ้นสองเท่าจาก 7% เป็น 14% ภายในหนึ่งปี

Infineon เป็นอันดับหนึ่งของโลกในด้านชิปชำระเงินสำหรับบัตร และเป็นผู้นำเทคโนโลยีไร้สัมผัส ด้วยส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 47%* Infineon เป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในมิวนิก และมีศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีไร้สัมผัสตั้งอยู่ที่เมืองกราซ ประเทศออสเตรีย

การผสานรวมระหว่างเทคโนโลยีชิป ความปลอดภัยของข้อมูล และการออกแบบสายอากาศ

โซลูชั่นการชำระเงินแบบไร้สัมผัสต้องอาศัยการผสมผสานเทคโนโลยีเซมิคอนดัคเตอร์ เทคโนโลยีการเข้ารหัส และเทคโนโลยีวิทยุระบบแอนะล็อก ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นบัตร นาฬิกา แหวน หรือกุญแจรีโมต ชิปที่รวมเทคโนโลยีต่างๆ เข้าด้วยกัน จึงนับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมาก

ชิปที่ว่านี้เปรียบเสมือยมินิคอมพิวเตอร์ขนาดเพียงไม่กี่ตารางมิลลิเมตร ซึ่งทำหน้าที่เริ่มและควบคุมการสื่อสารทั้งหมดระหว่างลูกค้าและสถาบันการเงินผ่านเสาอากาศขนาดเล็ก และภายในเวลาประมาณ 200 มิลลิวินาที หรือเพียงแค่ชั่วพริบตาเดียว ชิปตัวนี้จะพิสูจน์ความถูกต้องของอุปกรณ์กับลายเซ็นของบุคคลนั้น และสร้างรหัสลับที่มีข้อมูลของบัตร จำนวนเงินที่จะชำระ และสถานที่ชำระเงิน หลังจากพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลสำเร็จ ธนาคารจึงจะยืนยันการชำระเงินกับเครื่องอ่าน

การสื่อสารระหว่างบัตรหรืออุปกรณ์สวมใส่กับเครื่องอ่านนั้น ใช้เทคโนโลยี NFC (Near Field Communication) โดยชิปตัวนี้จะใช้เพียงสนามพลังงานของเครื่องอ่านเพื่อคำนวณ เข้ารหัส และส่งข้อมูลที่ระยะ 2-10 เซนติเมตร

*รายงาน ABI Payment and Banking Cards Secure IC Technologies Report เดือนกรกฎาคม 2563



รูปปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200923/2926317-1

คำบรรยายภาพ : Winwatch บริษัทสัญชาติสวิส ติดชิปความปลอดภัยขนาดจิ๋วจาก Infineon ลงบนกระจกคริสตัลแซฟไฟร์ STISS(R) ที่บริษัทได้จดสิทธิบัตรแล้ว เพื่อเปลี่ยนนาฬิการะบบแอนะล็อกให้กลายเป็นอุปกรณ์ชำระเงินระบบดิจิทัล ชิปตัวนี้ทำให้ผู้สวมใส่นาฬิกาสามารถทำธุรกรรมชำระเงินได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็วในระดับมิลลิวินาทีผ่านคลื่นความถี่วิทยุ



โลโก้ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200707/2850283-1LOGO
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: