หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ZTE เปิดตัวโซลูชั่น IP+Optical 5G Flexhaul เป็นรายแรกในอุตสาหกรรม  (อ่าน 770 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 01 มีนาคม 2017, 19:58:54 »

ZTE Corporation (0763.HK / 000063.SZ) ผู้ให้บริการรายใหญ่ในด้านโซลูชั่นโทรคมนาคม เทคโนโลยีระดับองค์กรและผู้บริโภคสำหรับอินเทอร์เน็ตมือถือ ประกาศเปิดตัวโซลูชั่น IP+Optical 5G Flexhaul เป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมในงานมหกรรม Mobile World Congress ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน โดยโซลูชั่นดังกล่าวได้ผสานบริการ Fronthaul และ Backhaul ด้วยเทคโนโลยี Internet Protocol (IP)+Optical

          จากการผสานสถาปัตยกรรม IP+Optical ใหม่ ทำให้นวัตกรรมนี้สามารถนำเสนอโซลูชั่นรวมส่งข้อมูลบริการทั้ง Fronthaul และ Backhaul ในเครือข่าย 5G บนอุปกรณ์เดียว ทั้งยังมีแบนด์วิดท์สูง ค่าความหน่วงต่ำ และมีระบบวิศวกรรมรองรับปริมาณการส่งผ่านข้อมูลด้วยเทคโนโลยี Software-Defined Networking (SDN) โดยมีการประมาณการว่า โซลูชั่น 5G Flexhaul ของ ZTE นั้น จะช่วยลดต้นทุนการเป็นเจ้าของโดยรวม (TCO) ได้ถึง 30% เมื่อเทียบกับโซลูชั่นแบบดั้งเดิม

          เป็นที่ทราบกันว่า เครือข่าย 5G มอบประสบการณ์การใช้งานที่เหนือกว่าในแง่ของแบนด์วิดท์ ค่าความหน่วง และการเชื่อมต่อ โดยหากเปรียบเทียบกับเครือข่าย 4G แล้ว เครือข่าย 5G สามารถรองรับการใช้งานภายใต้มาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารที่หลากหลายกว่า ซึ่งรวมถึง enhanced mobile broadband (eMBB)/ massive machine type communications (mMTC)/ ultra-reliable and low latency communications (uRLLC) ทั้งนี้ ตัวชี้วัดสำคัญในมาตรฐานต่างๆมีความแตกต่างกันอย่างมาก ดังนั้น เครือข่ายดั้งเดิมจึงมีข้อจำกัดมากมาย ทั้งในเรื่องของการปรับโครงสร้างใหม่ อัพเกรดอุปกรณ์ และยกระดับประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ ผู้ให้บริการทั่วโลกจึงเผชิญกับความท้าทายใหม่ในการสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในเรื่องความหน่วงต่ำ แบนด์วิดท์ที่กว้างขึ้น และการยกระดับเครือข่ายหลักและ RAN ให้สามารถรองรับระบบคลาวด์ในยุค 5G ได้

          โซลูชั่น 5G Flexhaul ของ ZTE ผสานสถาปัตยกรรม Flex Ethernet และ IP+Optical เข้าด้วยกัน และนำเสนอศักยภาพในการนำส่งข้อมูลขนาดใหญ่และมีความยืดหยุ่นเพื่อให้บริการทั้ง Fronthaul และ Backhaul บนเครือข่าย 5G โดยโซลูชั่น 5G Flexhaul ทำงานผ่านการประสานพลัง IP+Optical แบบ end-to-end (E2E) พร้อมมอบโซลูชั่นสำหรับการวางแผน จัดโครงสร้าง บริหารจัดการ และการบำรุงรักษาที่ทำงานแบบบูรณาการด้วยตัวควบคุมในระบบ SDN โดยอุปกรณ์ระบบ IP+Optical นี้ถูกนำไปใช้ใน Mass Access Layer เพื่อลดต้นทุนการวางเครือข่ายและพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์ โซลูชั่นดังกล่าวนำส่งข้อมูลได้ในแบนด์วิดท์ขนาดใหญ่ผ่านการเชื่อมต่อหลายช่วงความยาวคลื่นระหว่างตัวเชื่อม (adjacent node) นอกจากนี้ ฟีเจอร์ FlexE ยังช่วยแยกย่านความถี่ย่อยของบริการต่างๆได้อย่างยืดหยุ่น เพื่อปรับรูปแบบการนำส่งข้อมูล (Forwarding Plane) ให้เหมาะสม และรองรับการทำงานของเครือข่ายแยกส่วน (Network Slicing) บนระบบ 5G ส่วนผลิตภัณฑ์ ZXCTN 6180H ซึ่งเป็นอุปกรณ์ 5G ที่เปิดตัวในงาน MWC ก่อนวางจำหน่ายเพื่อการพาณิชย์นั้น มีความสูงเพียง 3RU แต่สามารถรองรับความจุเครือข่ายได้สูงสุดถึง 1T ในหนึ่ง access ring

          นอกเหนือจากศักยภาพในการนำส่งข้อมูลขนาดใหญ่แล้ว โซลูชั่น 5G Flexhaul ยังสามารถปรับค่าความหน่วงในการนำส่งข้อมูลได้อีกด้วย โดยค่า Latency Budget ที่จัดสรรให้กับเครือข่าย Fronthaul ด้วยเครือข่าย 5G C-RAN นั้น อยู่ที่ระดับต่ำกว่า 100us ในส่วนของการนำส่งข้อมูลนั้น โซลูชั่น 5G Flexhaul สามารถรองรับทั้งโหมดการนำส่งแบบด่วนและแบบปกติ ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ตามประเภทของบริการ โดยโหมดนำส่งแบบด่วนนั้น เหมาะกับบริการที่เน้นในเรื่องเวลา ส่วนเทคโนโลยี Time Sensitive Network (TSN) ถูกนำไปใช้เพื่อลดค่าความหน่วงในการสับเปลี่ยนระหว่างตัวเชือมบริการระดับบนและล่าง จากเดิม 30 ไมโครวินาทีเหลือเพียงไม่กี่ไมโครวินาที ในขณะเดียวกันตัวเชื่อมกลาง (Intermediate) จะใช้เทคโนโลยี Optical Bypass เพื่อให้ค่าความหน่วงในการรับส่งข้อมูลมีไม่ถึง 1 ไมโครวินาที สิ่งนี้สอดคล้องกับข้อกำหนดด้าน 5G ที่จำเป็นต้องมีความหน่วงต่ำ ทั้งยังเป็นเครื่องรับประกันที่จะนำไปสู่การพัฒนาบริการและสถาปัตยกรรมเครือข่ายใหม่ๆอีกด้วย

          ส่วนฟีเจอร์สำหรับการทำงานบนคลาวด์ที่รวมอยู่ในเทคโนโลยี 5G นั้น จะนำมาซึ่งการเชื่อมต่อที่ยืดหยุ่นและครอบคลุม โดยโซลูชั่น 5G Flexhaul สร้างขึ้นจากวิศวกรรมด้านทราฟฟิกที่ผสานเทคโนโลยี SDN ซึ่งช่วยให้สามารถเชื่อมต่อจากทุกหนทุกแห่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปรับปริมาณทราฟฟิกในเครือข่ายให้เหมาะสมได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยข้อมูลที่เก็บจากตัวควบคุมปริมาณทราฟฟิก เพื่อให้การทำงานของเครือข่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าสูงสุด

         
         
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: