หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ว่าจ้างต้องปรับวิถีปฏิบัติในการจ้างงานเพื่อดึงดูดบุคลากรสายเทค  (อ่าน 209 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 23 มิถุนายน 2023, 11:05:29 »

รายงานใหม่จากเจเนอเรชันเผย ผู้ว่าจ้างต้องปรับวิถีปฏิบัติในการจ้างงาน เพื่อดึงดูดบุคลากรผู้มีความสามารถสายเทคโนโลยีในตำแหน่งระดับเริ่มต้น


แม้จะมีกระแสแนวทางการจ้างงานโดยมุ่งเน้นทักษะ แต่ผู้ว่าจ้าง 61% ได้เพิ่มข้อกำหนดการคัดกรองคุณสมบัติด้านการทำงานหรือการศึกษาสำหรับการจ้างงานตำแหน่งระดับเริ่มต้นในช่วงสามปีที่ผ่านมา

บริษัทที่ยกเลิกการกำหนดคุณสมบัติด้านวุฒิการศึกษาหรือการทำงานมีจำนวนผู้สมัครเพิ่มขึ้นโดยมีคุณภาพการดำเนินงานในการทำงานที่เทียบเคียงกันได้

ข้อมูลใหม่จากเจเนอเรชัน (Generation) เครือข่ายไม่แสวงกำไรระดับโลกด้านการจ้างงาน เผยว่าองค์กรต่าง ๆ ต้องปรับวิถีปฏิบัติในการจ้างงานสำหรับบุคลากรผู้มีความสามารถสายเทคโนโลยีในตำแหน่งระดับเริ่มต้น พร้อมเสนอสิ่งที่ต้องดำเนินการในขั้นแรก ๆ

บริษัทจำนวนหนึ่งได้ทลายกรอบเดิม ๆ และยกเลิกการกำหนดคุณสมบัติด้านวุฒิการศึกษาหรือการทำงานแล้วในช่วงสามปีที่ผ่านมานี้ และขณะนี้กำลังได้รับประโยชน์

เกือบ 60% ขององค์กรที่ยกเลิกการกำหนดคุณสมบัติเช่นนั้นมีจำนวนผู้สมัครเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถจ้างบุคลากรจำนวนมากขึ้นได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังได้เข้าถึงกลุ่มผู้สมัครที่สามารถส่งเสริมความหลากหลายของบุคลากร ยิ่งไปกว่านั้น องค์กรเหล่านี้ยังเผชิญกับการได้อย่างเสียอย่างเพียงเล็กน้อยในแง่ของคุณภาพการดำเนินงานเมื่อผู้สมัครเข้าทำงาน โดยบริษัท 84% ระบุว่าบุคลากรที่บริษัทจ้างโดยไม่มีการกำหนดคุณสมบัติด้านวุฒิการศึกษาหรือการทำงานมีการดำเนินงานในระดับเดียวกันหรือดีกว่าบุคลากรที่จ้างโดยใช้แนวทางแบบเดิม

ข้อค้นพบเหล่านี้มาจากรายงานเริ่มการปฏิวัติการจ้างงานวงการเทคโนโลยี (Launching a Tech Hiring Revolution) ซึ่งเป็นการศึกษาผู้ว่าจ้าง พนักงานสายเทคโนโลยีตำแหน่งระดับเริ่มต้น และผู้หางานหลายพันราย ครอบคลุม 8 ประเทศ ได้แก่ บราซิล แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย เม็กซิโก สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา งานศึกษาวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนโดยมูลนิธิเดอะเอชจี (The Hg Foundation) ร่วมกับแบงก์ ออฟ อเมริกา (Bank of America), เคลย์ตัน (Clayton), ดูบิเลียร์ แอนด์ ไรซ์ (Dubilier & Rice) และมูลนิธิเม็ทไลฟ์ (MetLife Foundation)

ในระดับโลก 86% ของผู้ว่าจ้างที่ได้รับการสำรวจระบุว่าพวกเขาจ้างงานในตำแหน่งระดับเริ่มต้นในสายเทคโนโลยี องค์กรต่าง ๆ ในหลากหลายหมวดธุรกิจ ทั้งการธนาคาร การผลิต และค้าปลีก ล้วนมีความต้องการด้านเทคโนโลยี ทำให้ต้องแข่งขันกันดึงดูดบุคลากรผู้มีความสามารถ ซึ่งประสบกับความท้าทาย โดยผู้ว่าจ้าง 62% ระบุว่ากระบวนการสรรหาบุคลากรสายเทคโนโลยีในตำแหน่งระดับเริ่มต้นจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง

งานสายเทคโนโลยีในตำแหน่งระดับเริ่มต้นแท้จริงได้หดหายไป เพราะผู้ว่าจ้าง 94% กำหนดคุณสมบัติการจ้างงานสำหรับ "ตำแหน่งระดับเริ่มต้น" (entry-level) ในสายเทคโนโลยีไว้ว่า ผู้สมัครต้องมีประสบการณ์การทำงานก่อนหน้าในด้านที่เกี่ยวข้อง

แม้จะมีกระแสแนวทางการจ้างงานโดยมุ่งเน้นทักษะ เกือบสองในสามของผู้ว่าจ้างในระดับโลก (61%) ได้เพิ่มการกำหนดคุณสมบัติด้านการศึกษาหรือการทำงานสำหรับตำแหน่งระดับเริ่มต้นในสายเทคโนโลยีในช่วงสามปีที่ผ่านมานี้ และไม่ใช่เฉพาะทักษะเชิงเทคนิคเท่านั้น 40% ยังได้เพิ่มการกำหนดคุณสมบัติสำหรับทักษะเชิงพฤติกรรมด้วย

ดังที่ผู้ว่าจ้างที่ท้าทายกระแสแนวโน้มดังกล่าวได้แสดงให้เห็น การเปลี่ยนการจ้างงานให้หันมามุ่งเน้นทักษะแทนที่จะเป็นวุฒิการศึกษาเป็นหนทางในการเข้าถึงบุคลากรผู้มีความสามารถกลุ่มใหม่ ๆ การมุ่งเน้นเทคนิคเชิงทักษะเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จของผู้ว่าจ้างสำหรับกลุ่มที่ยกเลิกการกำหนดคุณสมบัติ โดยการรับรองคุณสมบัติในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในแง่นี้ อย่างไรก็ตาม ขณะที่การรับรองช่วยเพิ่มความเท่าเทียมในกระบวนการในแง่ของชาติพันธุ์ อคติทางเพศยังคงอยู่ ผู้ชายที่ไม่มีการรับรองได้รับข้อเสนอการจ้างงานต่อการสัมภาษณ์แต่ละครั้งมากกว่าผู้หญิงที่มีการรับรอง

แม้ผู้ว่าจ้างจะมีแรงจูงใจอย่างมากที่จะขยายทรัพยากรบุคคลสายเทคโนโลยีในตำแหน่งระดับเริ่มต้น แต่ผู้ว่าจ้างที่ประสบความท้าทายในการเปลี่ยนแปลงระบุว่างบประมาณที่จำกัดประกอบกับการขาดการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารเป็นอุปสรรคสำคัญ รายงานสรุปว่ามี 4 ปัจจัยที่จะช่วยปลดล็อกการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น ประกอบด้วย

ขยายกลุ่มผู้สมัครด้วยการยกเลิกการกำหนดคุณสมบัติด้านประสบการณ์ทำงานและวุฒิการศึกษา และหันมาให้ความสำคัญกับการรับรองคุณสมบัติและสิ่งบ่งชี้ทักษะประเภทอื่น ๆ
ระหว่างกระบวนการจ้างงาน ใช้การประเมินทางเทคนิคเพื่อทดสอบว่าผู้สมัครมีทักษะที่จำเป็นสำหรับงานนั้น ๆ
ตลอดกระบวนการ ให้ความสนใจกับทักษะทั้งเชิงพฤติกรรมและเชิงเทคนิค
ปรับวิธีการจ้างทีมงานเพื่อลดอคติแฝงและเพิ่มความหลากหลายของบุคลากร
เจเนอเรชันจะรวบรวมแนวร่วมผู้ว่าจ้างระดับโลกที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงดังที่งานวิจัยนี้มุ่งผลักดัน และเผยแพร่ผลลัพธ์ต่อสาธารณะเพื่อสร้างทางออกที่ยั่งยืนซึ่งสามารถนำไปใช้ในหมวดธุรกิจต่าง ๆ และทั่วโลก เพื่อก้าวต่อไปในการสำรวจความเป็นไปได้ของแนวทางแบบมุ่งเน้นทักษะ

อ่านต่อเพิ่มเติม https://www.thaipr.net/it/3350160
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: