Vmodtech.com

กระดานซื้อขายแลกเปลี่ยนแห่ง Vmodtech => ประชาสัมพันธ์ข่าวสารทางธุรกิจ => ข้อความที่เริ่มโดย: iqpressrelease ที่ 13 ตุลาคม 2020, 10:46:56



หัวข้อ: หัวเว่ย เปิดตัว 4 โครงการซอฟต์แวร์พื้นฐาน
เริ่มหัวข้อโดย: iqpressrelease ที่ 13 ตุลาคม 2020, 10:46:56
หัวเว่ย เปิดตัว 4 โครงการซอฟต์แวร์พื้นฐาน มุ่งกระจายความหลากหลายสู่อุตสาหกรรมการประมวลผล
          หัวเว่ย จัดการประชุม Computing Industry Basic Software Summit ที่นครเซี่ยงไฮ้ เพื่อนำเสนอความสำเร็จที่เกิดขึ้นหลังการเปิดตัวโครงการซอฟต์แวร์พื้นฐานแบบโอเพ่นซอร์ส ได้แก่ openEuler, openGauss, openLooKeng และ MindSpore ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างระบบนิเวศพื้นฐาน
          Jiang Dayong รองประธาน Huawei Kunpeng Computing Business ได้เปิดตัวกลยุทธ์ซอฟต์แวร์พื้นฐานของหัวเว่ย ซึ่งครอบคลุมนวัตกรรมแบบฟูลสแต็ก (full-stack) ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ตลอดจนอธิบายว่า แนวทางแบบโอเพ่นซอร์สจะสามารถขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ขั้นพื้นฐานไปข้างหน้าได้อย่างไร
          เปิดตัว 4 โครงการซอฟต์แวร์พื้นฐาน มุ่งขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรมของชุมชนโอเพ่นซอร์ส
          โดยในขณะที่ฮาร์ดแวร์เป็นพื้นฐานสำหรับพลังการประมวลผล ซอฟต์แวร์พื้นฐานก็จะทำหน้าที่ปลดปล่อยศักยภาพ และซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันจะช่วยสร้างคุณค่าที่จับต้องได้สำหรับผู้ใช้งาน การสร้างสรรค์นวัตกรรมจะสามารถทำได้อย่างรวดเร็วเมื่อระบบมีความสอดคล้องกันทั้งวงจร ไม่ว่าจะเป็นผู้จำหน่ายฮาร์ดแวร์ ผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์พื้นฐาน ผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่น ผู้พัฒนาระบบ ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ และผู้ใช้งาน
          ซอฟต์แวร์แบบโอเพ่นซอร์สถือเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ระบบนิเวศการประมวลผลของหัวเว่ย บริษัทให้คุณค่ากับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์แบบโอเพ่นซอร์ส รวมถึงการสนับสนุนจากหุ้นส่วน หัวเว่ยเป็นผู้นำแผนริเริ่มต่างๆ ที่เกี่ยวกับโอเพ่นซอร์ส ตลอดจนสนับสนุนหุ้นส่วนธุรกิจ ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมระบบนิเวศซอฟต์แวร์เชิงเทคนิคด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ต่อเนื่อง
          ในแง่ของการมีส่วนร่วมของชุมชน หัวเว่ยเป็นอันดับที่ 2 ของโลกในการเปิดตัว Linux Kernel 5.8 โดยหัวเว่ยเป็นผู้นำในโครงการโอเพ่นซอร์ส 4 โครงการ ได้แก่ openEuler, openGauss, openLooKeng และ MindSpore และประสบความสำเร็จในการผนวกรวมอย่างต่อเนื่องเข้ากับชุมชนกระแสหลักมากกว่า 40 แห่ง การมีส่วนสนับสนุนชุมชนเหล่านี้เพื่อสร้างสถานการณ์การใช้งานกระแสหลัก ทำให้หัวเว่ยสามารถขับเคลื่อนชุมชนหลักถึง 80% เพื่อมอบการสนับสนุนให้แก่ Kunpeng ด้วยเหตุนี้ นักพัฒนา ARM จึงสามารถใช้ส่วนประกอบโอเพ่นซอร์สเหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งการดำเนินการทั้งหลายเหล่านี้ยังช่วยสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับความร่วมมือด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์แบบฟูลสแต็กด้วย
          ฮาร์ดแวร์คือพื้นฐานของระบบนิเวศทั้งระบบ ขณะที่ระบบปฏิบัติการคือพื้นฐานของซอฟต์แวร์ โดย openEuler ได้เปิดตัวในรูปแบบโอเพ่นซอร์สอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2562 และได้มีการปล่อยระบบสนับสนุนระยะยาว Long-Term Support (LTS) เวอร์ชั่น 20.03 ไปเมื่อเดือน มี.ค. 2563 ซึ่งหลังจากที่เปิดใช้งานมา 9 เดือน ชุมชน openEuler สามารถดึงดูดผู้ร่วมสนับสนุนมากกว่า 2,000 ราย ก่อตั้งเป็นกลุ่มที่มีความสนใจเฉพาะ (SIGs) 70 กลุ่ม และสร้างการมีส่วนร่วมกับบริษัทมากกว่า 60 แห่งในจีน อีกทั้งบริษัทระบบปฏิบัติการรายใหญ่ที่สุดของจีน 6 รายยังได้เข้าร่วมชุมชนและเปิดตัวเวอร์ชั่นเชิงพาณิชย์ด้วย
          สำหรับเวอร์ชั่นนวัตกรรม openEuler 20.09 ซึ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 ก.ย. 2563 ประกอบด้วยฟีเจอร์ 1+8 ได้แก่ 1 แกนหลัก และ 8 โครงการนวัตกรรม ประกอบด้วย multi-core acceleration, iSula2.0 lightweight VM, StratoVirt cloud native container, BiSheng JDK, Compass CI, A-Tune intelligent turning tool, UKUI desktop, โครงข่ายประมวลผลแม่นยำ secGear และสถาปัตยกรรมการวัด IMA ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานแบบ 1+8 นี้ทำให้ openEuler กลายเป็นชุมชนโอเพ่นซอร์สที่มีความคึกคักมากที่สุด
          ฐานข้อมูลคือหัวใจสำคัญของซอฟต์แวร์พื้นฐาน และเป็นแกนหลักของระบบธุรกิจของลูกค้า อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังคงมีช่องว่างระหว่างฐานข้อมูลโอเพ่นซอร์สแบบดั้งเดิม กับความคาดหวังด้านการใช้งานขององค์กรในด้านประสิทธิภาพ การเข้าถึงได้ และความปลอดภัย
          openGauss ของหัวเว่ยมีความพร้อมในการเป็นฐานข้อมูลโอเพ่นซอร์สระดับองค์กร หัวเว่ยทำงานร่วมกับหุ้นส่วนอย่างใกล้ชิดเพื่อปล่อยเวอร์ชั่นเชิงพาณิชย์ออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว โดยมีจุดประสงค์เพื่อตอบรับความต้องการของลูกค้าอุตสาหกรรมในด้านประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ และการบวนการทางธุรกิจแบบหลอมรวม openGauss เปิดตัวเป็นโอเพ่นซอร์สอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2563 โดยเน้นการยกระดับประสิทธิภาพสำหรับ Kunpeng การใช้งานเซิร์ฟเวอร์ 2-socket ของ Kunpeng ทำให้ openGauss สามารถส่งมอบข้อมูลได้สูงถึง 1.5 ล้าน tpmC ซึ่งสูงกว่าผลิตภัณฑ์กระแสหลักที่ใช้กันอยู่ในอุตสาหกรรมถึง 50% และในเวลาเพียง 3 เดือน มีหุ้นส่วนจำนวน 6 รายเปิดตัว openGauss เชิงพาณิชย์แล้ว อีกทั้งยังช่วยผลักดันการใช้งาน openGauss ในเชิงพาณิชย์ด้วย
          openLooKeng มีเป้าหมายที่การขับเคลื่อนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความเรียบง่าย ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้าผ่านการใช้ฐานข้อมูลได้อย่างสะดวก โดยหัวเว่ยจะยังคงสานต่อการสร้างเอ็นจินที่สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว ระบบนิเวศที่แข็งแกร่ง และความน่าเชื่อถือในระดับสูง

(http://img.in.th/images/6bcf3cb046c74c99a52a03efe26331f2.jpg)
         รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20201010/2945159-1 (https://photos.prnasia.com/prnh/20201010/2945159-1)
          คำบรรยายภาพ: Jiang Dayong รองประธานธุรกิจ Huawei Kunpeng Computing Business ขึ้นกล่าวบนเวที
          



Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2006-2008, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF