หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: Infineon เปิด Co-Innovation Space แห่งแรกในสิงคโปร์  (อ่าน 537 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 26 ตุลาคม 2018, 07:21:18 »

Infineon เปิด Co-Innovation Space แห่งแรกในสิงคโปร์ หนุนสตาร์ทอัพสรรสร้างนวัตกรรมสู่สังคม

 Infineon Technologies (FSE: IFX / OTCQX: IFNNY) เปิดตัว Co-Innovation Space ระดับโลกแห่งแรกของบริษัท เพื่อช่วยเหลือเหล่าสตาร์ทอัพสรรสร้างต้นแบบหรือโซลูชั่นเซมิคอนดักเตอร์ที่สามารถใช้งานได้จริงและพร้อมนำออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว

          Co-Innovation Space เป็นพื้นที่สำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกัน ซึ่งถือเป็นแห่งแรกของบริษัท ครอบคลุมพื้นที่ 250 ตารางเมตร และตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของ Infineon ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในสิงค์โปร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นช่องทางสนับสนุนกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับธุรกิจสตาร์ทอัพ นอกจากนี้ สถานที่แห่งนี้ยังเป็นมากกว่าพื้นที่ทำงาน เพราะเป็นแหล่งรวมเทคโนโลยี ความชำนาญ ตลอดจนคำแนะนำต่าง ๆ ที่ Infineon ในสิงคโปร์และทั่วโลกจะให้การสนับสนุนตลอดระยะเวลาหนึ่งปี

          ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทจะจัดการฝึกอบรม พร้อมกับให้คำแนะนำด้านกระบวนการคิดเชิงออกแบบและการคิดเชิงนวัตกรรมธุรกิจแก่บริษัทสตาร์ทอัพ รวมทั้งเปิดทางให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถเข้าถึงการวิจัยและพัฒนา (R&D) โรงงานผลิต ตลอดจนเครือข่ายพันธมิตรและฐานลูกค้าที่สำคัญของ Infineon ในภูมิภาค

          "เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์และบิ๊กดาต้าดึงดูดผู้เล่นหน้าใหม่เข้าสู่ตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และผลักดันให้เกิดความร่วมมือที่แข็งแกร่งระหว่างความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ความร่วมมือด้านนวัตกรรมเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จทางธุรกิจในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงและเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์เช่นนี้" นายเฮลมุต กาสเซล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของ Infineon กล่าว "Co-Innovation Space จะเป็นห้องทดลองภาคสนามสำหรับ Infineon และเหล่าพันธมิตรสตาร์ทอัพที่น่าจับตามอง เราจะร่วมมือกันพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ ๆ ที่เชื่อมโลกจริงและโลกดิจิทัลเข้าด้วยกัน"

          "การทำงานอย่างใกล้ชิดกับบริษัทสตาร์ทอัพทำให้เรามีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้ พร้อมกับให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยี รวมถึงช่องทางการเข้าถึงเครือข่ายพันธมิตรและลูกค้าจากทั่วโลก เรามุ่งหวังที่จะเห็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ จาก Co-Innovation Space แห่งนี้ ที่จะสร้างผลกระทบต่อโลก และช่วยให้ชีวิตสะดวกสบาย ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสังคมมากขึ้น" นายฉั่ว ชี ซ่ง ประธานและกรรมการบริหารของ Infineon ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าว

          "การเปิด Co-Innovation Space ของ Infineon นับเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามของสิงคโปร์ที่จะสนับสนุนความร่วมมือในการริเริ่มไอเดียแปลกใหม่ และเปิดพื้นที่เพื่อนำเสนอโอกาสในการร่วมสร้างสรรค์ เนื่องจากนวัตกรรมมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ เราจึงมุ่งหวังที่จะสนับสนุนบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง Infineon ให้ได้แสดงบทบาทสำคัญในการสร้างพื้นที่สำหรับความร่วมมือใหม่ ๆ ที่จะช่วยยกสถานะของสิงคโปร์ให้เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและการผลิตขั้นสูง" นายลิม ก๊ก เกียง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งสิงคโปร์ (EDB) กล่าว

          บริษัทสตาร์ทอัพ 4 แห่งที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมใน Co-Innovation Space แห่งแรกของ Infineon จะรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้กับอุตสาหกรรมและตลาดต่าง ๆ ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ซึ่งบริษัทเหล่านี้ประกอบด้วย:

          - Ampotech ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ไฟฟ้า จะสร้างสรรค์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถมองเห็นการใช้ไฟฟ้าและการบริโภคพลังงานของพื้นที่และอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์

          - Plunify ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาโปรแกรมสำหรับการออกแบบวงจรอิเล็กทรนิกส์อัตโนมัติ (Electronic Design Automation หรือ EDA) ตั้งเป้าที่จะสร้างเครื่องมือและบริการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการออกแบบทั้งในรูปแบบ On-Premise และ Cloud-Based สำหรับบรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก

          - SHADO จะพัฒนายานยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาโซลูชั่นบริหารจัดการยานพาหนะ และการชาร์จยานพาหนะแบบครบวงจร เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการคมนาคมขนส่งในเอเชีย

          - XNERGY มีเป้าหมายที่จะพัฒนาพลังงานให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และง่ายต่อการผนวกรวมเทคโนโลยีสุดล้ำในด้านการถ่ายโอนกำลังไฟฟ้าและการชาร์จพลังงานแบบไร้สาย สำหรับอุปกรณ์อัตโนมัติต่าง ๆ เช่น หุ่นยนต์เคลื่อนที่ และยานพาหนะประเภทต่าง ๆ

          สิงคโปร์เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของบริษัท โดยมีบุคลากรมืออาชีพทั้งฝ่ายขาย ฝ่ายวิจัยและพัฒนา (R&D) ฝ่ายกระจายสินค้า และฝ่ายการผลิตขั้นสูง รวมกว่า 2,000 คนที่ได้ใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบต่าง ๆ ของอุตสาหกรรม 4.0 โดยสมาชิกฝ่าย R&D ประจำภูมิภาคได้มีส่วนร่วมในหลายด้าน ทั้งการวางแนวคิดและระบบวิศวกรรม การผลิต IP การออกแบบโมดูลอนาล็อกและสัญญาณผสม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชิป วิศวกรรมผลิตภัณฑ์และการทดสอบ การจัดการการทดสอบผลิตภัณฑ์ และวิศวกรรมแอปพลิเคชัน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: