หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: GlobalBeacon(SM) เปิดให้บริการแล้ววันนี้  (อ่าน 487 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2018, 11:42:19 »

          GlobalBeacon โซลูชันจาก Aireon และ FlightAware เปิดให้สายการบินต่าง ๆ เข้ามาตรวจสอบสถานะเที่ยวบินแบบเรียลไทม์ทั่วโลกแล้ววันนี้ ก่อนที่มาตรฐานและคำแนะนำด้านการติดตามเที่ยวบินจาก ICAO จะมีผลเร็ว ๆ นี้

          Aireon LLC และ FlightAware ประกาศในวันนี้ว่า GlobalBeaconSM ได้เปิดให้บริการแล้ว เพื่อให้สายการบินต่าง ๆ สามารถใช้ตรวจสอบสถานะเที่ยวบินทั่วโลก ก่อนที่คำแนะนำการติดตามเที่ยวบิน Global Aeronautical Distress Safety System (GADSS) ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) จะมีผลในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 นี้ โดย GlobalBeacon เปิดโอกาสให้สายการบินติดตามสถานะเครื่องบินของตนได้ตลอดเวลา ใกล้ชิดระดับนาทีต่อนาที ทุกที่ทั่วโลก

          GlobalBeacon เป็นโซลูชันเทิร์นคีย์ตัวแรกที่เหนือกว่ามาตรฐาน GADSS และเหนือกว่าคำแนะนำการติดตามเที่ยวบินที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยการผนวกรวมแพลตฟอร์มประมวลผลข้อมูลและเว็บอินเทอร์เฟซของ FlightAware เข้ากับเครือข่าย ADS-B ของ Aireon บนอวกาศนั้น ทำให้ GlobalBeacon สามารถเอาชนะขีดจำกัดด้านเขตแดนและอาณาเขตแถลงข่าวการบิน (Flight Information Region หรือ FIR) ทั้งยังกำจัดช่องว่างด้านความครอบคลุมในน่านอากาศบริเวณขั้วโลก ทะเลทราย และมหาสมุทร โซลูชัน GlobalBeacon มีหัวใจหลักอยู่ที่การรวบรวมข้อมูลติดตามสถานะเที่ยวบินจากเครือข่าย ADS-B ของ Aireon บนอวกาศ ประกอบกับข้อมูลเที่ยวบินเพิ่มเติมจาก FlightAware ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลบอกต้นทาง ปลายทาง เส้นทางบิน และเวลาถึงปลายทางโดยประมาณ (ETA)

          GlobalBeacon เปิดให้บริการแล้ววันนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้สายการบินทุกแห่งไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ สามารถรุกเตรียมความพร้อมในการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินได้อย่างมั่นใจ โซลูชันใหม่นี้อำนวยความสะดวกในเรื่องการสื่อสารระหว่างผู้ดำเนินการบินกับผู้บังคับ ด้วยฟังก์ชันตรวจสอบสถานะกองบินอย่างใกล้ชิด ระบบแจ้งเตือนสภาวะคับขันอัตโนมัติ และเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร

          "FlightAware และ Aireon ได้ประกาศแผนพัฒนา GlobalBeacon ไปเมื่อเดือนกันยายน 2559 และในวันนี้ ก็เหลือไม่กี่วันแล้วที่คำแนะนำการติดตามเที่ยวบิน ICAO GADSS จะมีผลใช้จริง บัดนี้ เรามีโซลูชันที่นอกจากจะก้าวล้ำเหนือคำแนะนำสำหรับปี 2561 แล้ว ยังแฝงองค์ประกอบสำคัญที่พร้อมสนองต่อข้อกำหนดในปี 2564 ด้วย" ดอน โธมา ซีอีโอของ Aireon กล่าว "เรามีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งต่อสายสัมพันธ์ที่เรามีร่วมกับทาง FlightAware และด้วยความร่วมมือเป็นพันธมิตรครั้งนี้ เครือข่าย ADS-B บนอวกาศจึงได้เริ่มดำเนินการแล้ว ผ่านสายการบินและผู้ดำเนินการบินต่าง ๆ"

          แดเนียล เบเกอร์ ซีอีโอของ FlightAware กล่าวว่า "GlobalBeacon เป็นโซลูชันที่คุ้มค่าและใช้งานง่าย ทั้งยังก้าวนำเหนือมาตรฐานและคำแนะนำการติดตามเที่ยวบินที่ระบุไว้ใน GADSS ทั้งหมด โซลูชันใหม่นี้ได้รับการออกแบบให้ทำงานควบคู่กับขั้นตอนงานและเครื่องมือที่เหล่าผู้ดำเนินการบินใช้อยู่เดิม เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานและรองรับสายการบินได้ทุกขนาด โดยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ADS-B ที่มีอยู่เดิมนั้นทำให้ GlobalBeacon มีข้อได้เปรียบที่โดดเด่นเหนือโซลูชันอื่น เพราะโซลูชันนี้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งฮาร์ดแวร์หรืออุปกรณ์ใหม่ทั้งบนหรือในเครื่องบินแต่อย่างใด"

          ในช่วงปลายเดือนกันยายน 2559 มีการประกาศว่า สายการบินกาตาร์ แอร์เวย์ เป็นสายการบินแห่งแรกที่ใช้เทคโนโลยี GlobalBeacon ซึ่งจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์ปฏิบัติการ IOC โดยตรง นับตั้งแต่เริ่มต้นวัฏจักรการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กาตาร์ แอร์เวย์ ได้มีส่วนร่วมในการทดสอบเวอร์ชันเบต้าและตรวจสอบระบบของ GlobalBeacon ซึ่งคุณเบเกอร์ กล่าวว่า "หลังจากที่เราได้ประกาศสร้าง GlobalBeacon กาตาร์ แอร์เวย์ ได้ให้ความร่วมมือในฐานะลูกค้าของ GlobalBeacon และด้วยความร่วมมือตั้งแต่ช่วงแรกเริ่ม เราจึงได้มีโอกาสทดสอบและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ และขอรับประกันว่า GlobalBeacon มีความสอดคล้องกับหลักปฏิบัติของการติดตามเที่ยวบินและการติดตามพิกัดฝูงบินเป็นอย่างดี"

          คุณอัคบาร์ อัล เบเกอร์ ผู้บริหารของกาตาร์ แอร์เวย์ กรุ๊ป กล่าวว่า "เรารู้สึกตื่นเต้นที่เป็นสายการบินเจ้าแรกที่มีโอกาสได้ใช้เทคโนโลยี ADS-B และรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ FlightAware และ Aireon ในการพัฒนาโซลูชั่นดังกล่าว ในฐานะสายการบินชั้นนำที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในโลก เป้าหมายของกาตาร์ แอร์เวย์ คือการส่งมอบบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า ทั้งนี้ GlobalBeacon สามารถบูรณาการเข้ากับเทคโนโลยีติดตามเครื่องบิน (Total Operations System) ตามมาตรฐาน ICAO 2018 ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยยกระดับการดำเนินการและระบบบริหารและติดตามพิกัดตำแหน่งยานพาหนะ ด้วยการอัพเดทข้อมูลเป็นรายนาทีหรือเร็วกว่านั้น"
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: