หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กลุ่มผู้นำในด้านวิทยาศาสตร์จากนานาประเทศ ร่วมมือในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (อ่าน 687 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 09 ธันวาคม 2019, 14:32:42 »

กลุ่มผู้นำในด้านวิทยาศาสตร์จากนานาประเทศแสดงความคาดหวังอย่างสูงต่อความร่วมมือในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับจีน


เนื่องในโอกาสที่ปี 2562 นี้ เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน หนังสือพิมพ์ Science and Technology Daily จึงถือโอกาสนี้สัมภาษณ์กลุ่มผู้นำในด้านวิทยาศาสตร์จากประเทศต่าง ๆ และทบทวนประวัติศาสตร์การพัฒนาของจีนในด้านวิทยาศาสตร์และความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ โดยผู้นำทั้งหลายต่างก็แสดงความหวังถึงอนาคตความร่วมมือที่สดใสกับจีน


          การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกำลังขับเคลื่อนการเติบโตของจีน

          Kazuki Okimura ซึ่งเป็น principal fellow ของ JST ได้กล่าวถึงการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของจีนในบทความของเขาว่า "จีนได้สร้างเครือข่ายการขนส่งที่พัฒนาไปเป็นอย่างมาก เช่น รถไฟความเร็วสูงและทางหลวงซึ่งระยะทางรวมนั้นมากกว่าในญี่ปุ่นถึงสิบเท่า นอกจากนี้ ยังมีสนามบินและท่าเรือเกิดใหม่ขึ้นทุกแห่งที่มาพร้อมเทคโนโลยีสุดล้ำและนวัตกรรมสุดไฮเทค เครือข่ายการสื่อสารและระบบกริดของจีนนั้นอยู่ในระดับท็อปของโลก จีนกำลังกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่และมีประสิทธิภาพที่สุดในประวัติศาสตร์โลก"


          Wang Lin นักวิเคราะห์จาก Clarivate ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอธิบายความก้าวหน้าของงานวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานของจีนจากมุมมองของข้อมูลสิ่งพิมพ์ทั่วโลกไว้ว่า "นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา จีนประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่งในด้านสาขาวิชาต่าง ๆ มากมาย โดยจีนอยู่ในอันดับหนึ่งในโลกในด้านบทความงานวิจัยวัสดุศาสตร์ เป็นอันดับสองในด้านเกษตรศาสตร์ เคมี วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรม สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ธรณีศาสตร์ คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ และในปี 2549 จีนก็ได้แซงหน้าสหราชอาณาจักรในด้านบทความงานวิจัยวิทยาศาสตร์ได้เป็นครั้งแรก ก้าวขึ้นเป็นอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงสหรัฐเท่านั้น"


          อย่างไรก็ตาม การมีส่วนร่วมของจีนต่อสังคมโลกผ่านทางบทความงานวิจัยนั้นเป็นเพียงส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น แล้วสังคมวิทยาศาสตร์ทั่วโลกมองการพัฒนาของจีนและที่มาของแรงผลักดันเหล่านั้นอย่างไร?


          Phil Coates ผู้อำนวยการ Polymer Interdisciplinary Research Center ของ University of Bradford และศาสตราจารย์ประจำ Royal Academy of Engineering ได้แบ่งปันมุมมองผ่านบทสัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวของ Science and Technology Daily ว่า การสนับสนุนงานวิจัยวิทยาศาสตร์จากรัฐบาลจีนนั้นเป็นเรื่องปกติทั่วไปในปัจจุบัน


          "รัฐบาลจีน ตั้งแต่ปักกิ่งจนถึงเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ต่างให้ความสำคัญและสนับสนุนการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวิจัยสาขาวิชาพื้นฐาน" Ali Mohammad นักคณิตศาสตร์ชาวอิหร่านจาก Anhui University กล่าวเห็นด้วยกับศาสตราจารย์ Coates "เมื่อผมพูดกับนักคณิตศาสตร์จากทั่วโลก รวมถึงนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน พวกเขาต่างบอกว่า 'ถ้าคุณอยากทำวิจัยตอนนี้ ให้ไปที่จีน'"


          "คาดหวังได้อย่างมาก" -- ความเห็นที่ทุกมหาวิทยาลัยมีร่วมกันต่ออนาคตความร่วมมือกับจีน (ซับไตเติลที่สอง)

          Sir Paul Nurse นักชีววิทยาชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียง เจ้าของรางวัลโนเบล และนักวิชาการชาวต่างชาติของ Chinese Academy of Sciences ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า วิทยาศาสตร์เป็นภาษาสากลของมนุษย์ ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศไม่เพียงแต่สำคัญต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ยังเป็นวิธีที่สำคัญที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอีกด้วย


          Vialatte Philippe หัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคณะผู้แทนจากสหภาพยุโรป (EU) ประจำประเทศจีนกล่าวว่า "จีนกำลังพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีด้วยความเร็วที่น่าทึ่ง" โดย Philippe ยังคาดว่าจะได้เห็นความร่วมมือระหว่างจีนกับยุโรปในด้านนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายใต้กรอบการทำงาน "Horizon Europe" มากขึ้นอีกในอนาคต


          "จีนและฝรั่งเศสนั้นเปิดกว้างและเป็นพันธมิตรที่ยอดเยี่ยมในอุตสาหกรรมเภสัชกรรม" Alain Merieux ประธานของมูลนิธิ Fondation Merieux กล่าว "มันเป็นเรื่องไม่ถูกต้องที่ประเทศต่าง ๆ จะปิดกั้นการแลกเปลี่ยนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วยเหตุผลทางด้านการเมือง ฝรั่งเศสมีบทบาทสำคัญในด้านการแลกเปลี่ยนกับจีน (ในหมู่ชาติตะวันตก) มาโดยตลอด ทั้งสองประเทศจะเดินหน้าเสริมความร่วมมือแบบได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายต่อไปในหลายส่วนสำคัญ เช่น พลังงานนิวเคลียร์พลเรือน ชีววิทยา และอื่น ๆ"


          "ความร่วมมือแบบได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่ายระหว่างยูเครนกับจีนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นเป็นประโยชน์กับทั้งโลก" Stanislav Prokopchuk ผู้สื่อข่าวจาก Uryadovy Kuryer กล่าวพร้อมเสริมว่า "ยูเครนกับจีนมีศักยภาพความร่วมมือที่ลึกซึ้งในด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานและเทคโนโลยีประยุกต์ เรากำลังตั้งตารอความร่วมมือในการสร้างศูนย์วิจัยและนวัตกรรมในอนาคตด้วยความคาดหวังอย่างสูง"


          Aleksandar Titkov ประธานกลุ่มโครงการวิทยาศาสตร์และการศึกษาของ Sputnik News Agency and Radio แสดงความเห็นว่า โครงการความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นระหว่างสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในสองประเทศจะช่วยสร้างผลประโยชน์ร่วมกันและเป็นผลดีกับทั้งสองฝ่ายมากกว่าเดิม ขณะที่ Moris Topaz ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ชาวอิสราเอลผู้มีชื่อเสียงและผู้ได้รับรางวัล "China Friendship Award" กล่าวว่า "การแพทย์นั้นเป็นเอกลักษณ์ในความหลากหลายของตัวเอง ซึ่งมีศักยภาพสูงสำหรับความร่วมมือระหว่างจีนกับอิสราเอล"
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: