หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไมโครชิพเผยรายละเอียดชิปในตระกูล PolarFire SoC FPGA ขุมพลัง RISC-V  (อ่าน 627 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 12 ธันวาคม 2019, 11:33:53 »

ไมโครชิพเผยรายละเอียดชิปในตระกูล PolarFire SoC FPGA ขุมพลัง RISC-V พร้อมให้ทดลองใช้ก่อนเปิดตัวอย่างเป็นทางการ


  - ชิป PolarFire SoC ซึ่งรองรับการใช้งานแอปพลิเคชันหลายตัวพร้อมกันแบบเรียลไทม์ และระบบปฏิบัติการอันทรงพลังที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานอย่างเหนือชั้น เปิดช่วงทดลองการใช้งานแล้ววันนี้


          ณ การประชุม RISC-V Summit -- กระแสความนิยมในเกตเวย์และอุปกรณ์เอดจ์ที่รองรับการประมวลผลขนาดใหญ่กำลังผลักดันให้เกิดการรวมขีดความสามารถด้านการประมวลผลแบบ embedded ซึ่งเป็นขีดความสามารถที่จำเป็นสำหรับระบบการเชื่อมต่อต่าง ๆ ที่มีความปลอดภัยและเป็นอัจฉริยะ เข้ากับแอปพลิเคชันการควบคุมแบบดีเทอร์มินิสติก (deterministic) ดังนั้นเพื่อตอบรับกับกระแสดังกล่าว บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด (Nasdaq: MCHP) จึงเปิดตัว Early Access Program (EAP) เพื่อให้ทดลองใช้ชิป PolarFire(R) system-on-chip (SoC) field programmable gate array (FPGA) ก่อนการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดยแพลตฟอร์มนี้นำเสนอระบบไมโครโปรเซสเซอร์แบบ RISC-V ที่สามารถรองรับระบบปฏิบัติการที่มีคุณสมบัติครบถ้วนอย่าง Linux(R) ได้แบบเรียลไทม์เป็นครั้งแรกของโลก โดยเป็นระบบที่ทำงานอยู่บนชิปในตระกูล FPGA PolarFire ระดับกลางที่ได้รับรางวัลการันตีมาแล้ว ชูคุณสมบัติการใช้พลังงานต่ำ ประสิทธิภาพการระบายความร้อนเยี่ยม และมีระบบป้องกันที่มีความปลอดภัยในระดับที่ใช้ในการทหาร


          ลูกค้า EAP ที่มีคุณสมบัติผ่านตามเกณฑ์ สามารถเริ่มออกแบบโดยใช้ชุดโปรแกรม Libero(R) SoC 12.3 FPGA และเครื่องมือสนับสนุนการพัฒนา SoftConsole 6.2 ของไมโครชิพได้แล้ววันนี้ โดยลูกค้าสามารถแก้จุดบกพร่อง (debug) ในแอปพลิเคชันแบบ embedded ได้โดยใช้ Renode ซึ่งเป็นแบบจำลองของระบบไมโครโปรเซสเซอร์


          Bruce Weyer รองประธานธุรกิจ Field Programmable Gate Array ของไมโครชิพ กล่าวว่า "ไมโครชิพได้พัฒนา RISC-V based SoC FPGA เป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรม พร้อมกับระบบนิเวศ Mi-V ของเรา โดยไมโครชิพและพันธมิตร Mi-V กำลังมุ่งพัฒนานวัตกรรมในระบบฝังตัว (embedded) ซึ่งช่วยให้นักออกแบบสามารถพัฒนาแอปพลิชันที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานอย่างเหนือชั้นได้ สิ่งนี้จะช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถเพิ่มสมรรถนะที่ไม่เคยมีมาก่อนให้แก่เครือข่ายการสื่อสาร การทหาร การแพทย์ และระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติ"


          ชิป PolarFire SoC มีประสิทธิภาพพลังงานยอดเยี่ยม เนื่องจากใช้พลังงานต่ำกว่าอุปกรณ์ระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าได้ประโยชน์ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ที่ลดลง เนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีพัดลมและแผงระบายความร้อน ถือเป็นครั้งแรกที่ SoC FPGA มาพร้อมกับซีพียู RISC-V และระบบความจำย่อย L2 แบบดีเทอร์มินิสติก ซึ่งรองรับระบบ Linux และแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์


          การรองรับระบบปฏิบัติการแบบเรียลไทม์อันทรงพลังอย่าง Linux เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ Mi-V RISC-V ที่กำลังขยายตัวของไมโครชิพ โดยระบบนิเวศนี้นำเสนอชุดเครื่องมือและทรัพยากรการออกแบบที่ครอบคลุม ซึ่งพัฒนาขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างไมโครชิพและพันธมิตรหลายราย เพื่อให้รองรับ RISC-V ได้อย่างแท้จริง สำหรับพันธมิตรในระบบนิเวศที่พร้อมรองรับชิป PolarFire SoC ประกอบด้วย WindRiver, Mentor Graphics, WolfSSL, ExpressLogic, Veridify, Hex-Five และ FreeRTOS ตลอดจนเครื่องมือพัฒนาของ IAR Systems และ AdaCore


          Michael Genard รองประธานฝ่ายการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ บริษัท Wind River กล่าวว่า "นักพัฒนาจำนวนมากมุ่งใช้งานเทคโนโลยีอย่าง AI ควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาความท้าทายของการสร้างระบบแบบเรียลไทม์ที่สามารถทำนายพฤติกรรมได้ ซึ่งการที่ VxWorks(R) รองรับชิป PolarFire SoC จึงนับว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้เป็นอย่างยิ่ง ด้วยความคงที่และความปลอดภัยอย่างสูงของแอปพลิเคชัน PolarFire ตลอดจนความสามารถในการรองรับ RISC-V เราคาดว่า SoC FPGA ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของไมโครชิพ จะสร้างความสนใจในฐานลูกค้าขนาดใหญ่ของเราได้เป็นอย่างมาก"


          Scot Morrison ผู้จัดการทั่วไปธุรกิจ Embedded Platform Solutions บริษัท Mentor ในเครือ Siemens กล่าวว่า "การใช้พลังงานต่ำเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับฐานผู้ใช้งาน Nucleus RTOS กลุ่มใหญ่ ทำให้ชิป PolarFire SoC เป็นแพลตฟอร์มประมวลผลแบบฝังตัวที่ Mentor ต้องให้การสนับสนุน ด้วยการเชื่อม Nucleus เข้ากับ PolarFire SoC เราจะช่วยให้นักพัฒนาสามารถนำ Nucleus ไปใช้งานในแอปพลิเคชันแบบดีเทอร์มินิสติก ซึ่งต้องการความสามารถในการเพิ่มขนาดและความเสถียร"


          ชิป PolarFire SoC มาพร้อมกับความสามารถในการแก้ไขจุดบกพร่อง (debug) อย่างครอบคลุม ซึ่งรวมถึง instruction trace และ Advanced eXtensible Interface (AXI) bus monitors ที่กำหนดเวลาการทำงานได้ จาก UltraSoC ซึ่งเป็นพันธมิตรของ Mi-V อีกทั้งยังประกอบไปด้วย 50 breakpoints, FPGA fabric monitors และ SmartDebug ซึ่งเป็นเครื่องวิเคราะห์สัญญาณลอจิกแบบบิลท์อินสองช่องทางของไมโครชิพ ขณะที่ในส่วนสถาปัตยกรรมของชิป PolarFire SoC นั้น ประกอบด้วยคุณสมบัติความเสถียรและความปลอดภัย เช่น การแก้ไขข้อผิดพลาดแบบเดี่ยวและการตรวจจับข้อผิดพลาดแบบคู่ (SEC-DED) ในทุกหน่วยความจำ, ระบบป้องกันหน่วยความจำทางกายภาพ, crypto core ที่รองรับ differential power analysis (DPA), ฟีเจอร์ secure boot ที่มีความปลอดภัยระดับที่ใช้ในการทหาร และ flash boot memory ขนาด 128 kb


          การประชุม RISC-V Summit

          พันธมิตร Mi-V ได้แก่ Wind River, Mentor Graphics, WolfSSL, HexFive, Veridify, Digital Core และ AdaCore จะสาธิตการใช้งานโซลูชั่นของแต่ละบริษัทที่ทำงานบนแพลตฟอร์ม PolarFire SoC


        
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: