หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อันตรายจาก ฝีดาษลิง คืออะไร ติดต่อจากลิงสู่คนได้อย่างไร  (อ่าน 256 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
kkthai20009
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37756


อีเมล์
« เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2022, 07:32:18 »


 
ฝีดาษลิง
เชื่อว่าไม่มีใครไม่รู้จักโรค “ฝีดาษ” หรือไข้ทรพิษ ที่เคยคร่าชีวิตคคนในสมัยก่อนมาหลายร้อยหลายพันคนมาแล้ว เพราะเป็นโรคติดต่อที่น่ากลัว อาการรุนแรง และติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งได้ง่าย แต่ในสมัยนี้อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูกันนัก เพราะเรามีวัคซีนที่ฉีดป้องกันให้เราตั้งแต่เด็ก อีกทั้งการศึกษา ระบบสาธารณูปโภคที่สะอาด และทันสมัย ทำให้การติดเชื้อเกิดขึ้นได้ยากมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม มีโรคฝีดาษอีกชนิดหนึ่งที่หลายคนอาจไม่คุ้นหู แต่มีอยู่จริง นั่นคือ “ฝีดาษลิง
ฝีดาษลิง คืออะไร แตกต่างจากโรคฝีดาษปกติอย่างไร
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายว่า โรคฝีดาษลิง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส orthopoxvirus เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่พบได้น้อย โรคนี้พบมากในแอฟริกากลาง และตะวันตก โดยเชื้อไวรัสฝีดาษลิงเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษในคน และฝีดาษวัว พบในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะหลายชนิด เช่น หนู กระรอก กระต่าย เป็นต้น สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงก็อาจติดเชื้อได้ รวมทั้งคนก็สามารถติดเชื้อนี้ได้เช่นกัน
ฝีดาษลิง ติดต่อในคนได้อย่างไร
สำหรับในคน สามารถติดโรคฝีดาษลิงนี้ติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สิ่งคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด การแพร่เชื้อจากคนสู่คนอาจเกิดขึ้นได้แต่มีโอกาสน้อยมาก
อาการของโรคฝีดาษลิงในคน
ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคหลังติดเชื้อประมาณ 12 วัน อาการป่วยของโรคฝีดาษลิงคือ

  • มีไข้ หนาวสั่น

  • ปวดหัว เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต

  • ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง

  • อ่อนเพลีย

  • จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย

  • จากผื่น จะกลายเป็นตุ่มหนอง

  • ในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะมีสะเก็ดคลุมแล้วหลุดออกมา
วิธีรักษาโรคฝีดาษลิงในคน
ตามปกติแล้ว อาการป่วยโรคฝีดาษลิงในคนจะค่อยๆ หายได้เองหลังจากผ่านไปประมาณ 2-4 สัปดาห์ แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพิ่มเติม

คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : สุขภาพ

ที่มา : https://www.sanook.com/health/

Tags :  การดูแลสุขภาพ, ยารักษาโรค
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: