หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อาการเมื่อติดโควิดสายพันธุ์ “โอมิครอน” อันตรายที่ควรระวัง  (อ่าน 205 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
kkthai20009
Vmodtech Member
*****
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 34660


อีเมล์
« เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2022, 14:53:23 »


จากการตรวจพบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 แบบกลายพันธุ์ชนิดโอมิครอน ที่ทำให้หลายประเทศทั่วโลกเริ่มแตกตื่นและระมัดระวังตัวเองมากขึ้น ดังจะเห็นจากการที่หลายๆ ประเทศเริ่มปิดรับนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศที่มีความเสี่ยงพบผู้ติดเชื้อ เนื่องด้วยโควิด-19 สายพันธุ์ล่าสุดนี้ เริ่มเป็นที่ทราบกันว่าสามารถต่อต้านวัคซีนได้
องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกแถลงการณ์ ให้เชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ตัวล่าสุด B.1.1.529 ถือเป็น "สายพันธุ์น่าวิตกกังวล" (VOC) ใช้ชื่อเรียกจากภาษากรีกว่า "โอมิครอน" (Omicron) โดยเป็นเชื้อไวรัสตัวที่ 5 ในกลุ่ม ต่อจาก อัลฟา เบตา แกมมา และเดลตา
อาการเมื่อติดโควิด-19 สายพันธุ์ “โอมิครอน”
แพทย์หญิง แองเจลีก คูตเซีย ประธานสมาคมแพทย์แอฟริกาใต้ ที่ตรวจพบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 แบบกลายพันธุ์ชนิดโอมิครอน เผยกับสำนักข่าว เดอะ เทเลกราฟ จากสหราชอาณาจักร ว่า อาการของผู้ติดเชื้อแบบกลายพันธุ์ชนิดนี้แปลกแต่ไม่รุนแรงนัก โดยสังเกตอาการที่แตกต่างไปจากเดิม คือ
ไม่พบว่าเสียการรับรสหรือกลิ่น
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
อ่อนเพลีย
ครั่นเนื้อครั่นตัว
เป็นต้น
โควิด-19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” อันตรายอย่างไร
นักวิทยาศาสตร์ด้านพันธุกรรมเผยว่า ไวรัสชนิดนี้มีการกลายพันธุ์มากกว่า 32 ครั้งในหนามโปรตีนสำคัญ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า “จากการดูพันธุกรรมไวรัสนี้ พัฒนาเพิ่มขึ้นจากสายพันธุ์เดลตาที่แพร่กระจายง่ายอยู่แล้ว อย่างน้อยการแพร่กระจายของโรค ก็ไม่น่าจะน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา” ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าสายพันธุ์โอมิครอนจะแพร่กระจายได้ง่ายเท่ากับหรือมากกว่าสายพันธุ์เดลต้า
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลในขณะนี้ ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ส่วนใหญ่ยังมีอาการไม่รุนแรง “สำหรับไวรัสตัวนี้ยังใหม่เกินไปที่จะบอกว่าอาการของโรคลดน้อยลงหรือเพิ่มขึ้น จะต้องดูจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้าโรงพยาบาล ผลการรักษา อัตราการเสียชีวิตระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาล เปรียบเทียบกับสายพันธุ์เดิมที่มีอยู่ เช่น สายพันธุ์เดลตา”
นอกจากนี้ แพทย์หญิง แองเจลีกยังลงความเห็นว่า ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่มีร่างกายแข็งแรง แต่ที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มผู้ป่วยที่ร่างกายอ่อนแอ หรือมีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวาน โรคหัวใจ รวมถึงผู้สูงอายุ และผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน
ต่อให้ต้านทานวัคซีนได้ แต่ฉีดวัคซีนก็ยังดีกว่าไม่ได้ฉีดเลย
สำหรับการหลบหลีกการทำงานของวัคซีนในสายพันธุ์นี้ หมอยงระบุว่า “คงต้องรอการศึกษา รวมทั้งประสิทธิภาพของ monoclonal antibodies ที่วางจำหน่ายแล้ว และยาที่วางแผนในการรักษา”
อย่างไรก็ตาม “สายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นถ้าหลบหลีกภูมิต้านทาน ก็จะทำให้ลดประสิทธิภาพของวัคซีนลง แต่ไม่ใช่ว่าวัคซีนจะไม่ได้ประสิทธิภาพเลย เช่น วัคซีนเคยได้ประสิทธิภาพ 90% สายพันธุ์ใหม่อาจจะลดลงมาเหลือ 70-80 เปอร์เซ็นต์
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : วิธีรักษาโรค

ที่มา : https://www.sanook.com/health/

Tags : สุขภาพ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: