RAID เทคโนโลยีสูงสุดของการป้องกันความเสียหายของข้อมูลและความเร็วในฮาร์ดดิสก์

/ บทความโดย: admin , 08/12/2004 20:40, 10,511 views / view in EnglishEN
«»
Share


RAID 7 : Optimized Asychronous for high I/O Rate + High Data Transfer Rates


       RAID 7 นั้นโดยพื้นฐานแล้วก็คือ RAID 4 ที่มีการเพิ่มคุณสมบัติหนึ่งเข้าไป คุณสมบัติที่ว่าก็คือการส่งข้อมูลเข้า และออกจาก
ฮาร์ดดิสก์นั้นจะเป็นในลักษณะ Asynchronous และจะถูกควบคุมอย่างอิสระ นอกจากนั้นการอ่าน หรือการเขียนทุกๆครั้งจะถูก
ส่งระบบบัสความเร็วสูงที่มีชื่อว่า “X-Bus” การทำงานในลักษณะ Asynchronous นั้นหมายความว่าฮาร์ดดิสก์แต่ละตัวจะ
ทำงานอย่างเป็นอิสระต่อกัน นั่นคือฮาร์ดดิสก์หนึ่งๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้ฮาร์ดดิสก์อีกตัวเสร็จสิ้นการเขียนก่อนตัวมันถึงจะทำ
การเขียนต่อได้อย่างใน RAID 4 อีกต่อไป RAID 7 อาศัยหลักการที่ใช้หน่วยความจำแคชหลายระดับและหลายๆ Bank ในตัว Controller เพื่อแยกการทำงานต่างๆออกจากกัน ที่ตัว RAID 7 จะมี Real-Time Operating System ที่ฝังอยู่ภายใน
Array Control Processer คอยทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน Asyschronous ที่เกิดขึ้นบนเส้นทางการสื่อสาร









รูปที่ 10


    นอกจากนั้น OS ที่ว่านี้ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ Bus control Logic, High Speed Bus controller Logic
, Cache Control Logic, การสร้าง Parity และการตรวจสอบ Control Logic โดยจะมีทางเชื่อมต่อระหว่าง OS ของเครื่อง
Host กับ OS ที่ฝังอยู่ในอุปกรณ์ RAID 7 ทางเชื่อมต่อนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้เส้นทางให้ Host สามารถควบคุม RAID 7 ให้ทำ
งานได้ตามต้องการ เพราะฉะนั้นบริษัทผู้ผลิต Host จึงสามารถเขียนหรือแก้ไขโค้ดการทำงานของ OS ที่ฝังอยู่ใน RAID 7 ได้
ซึ่งก็จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาคุณสมบัติการทำงานใหม่ๆให้กับ RAID 7 ได้มากทีเดียว

     RAID 7 สามารถเชื่อมต่อได้มากถึง 12 Host Interfaces และมากถึง 48 ไดร์ฟ และด้วยคุณสมบัติหลายๆอย่างของ RAID
7 ส่งผลให้ RAID 7 มีประสิทธิภาพในการเขียนข้อมูลมากกว่า RAID ชนิดอื่นๆกว่า 1.5 ถึง 6 เท่า และด้วยประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
ส่งผลให้ราคาของ RAID 7 นั้นสูงตามไปด้วย และเนื่องจาก RAID 7 ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท Storage Computer Corp.
นั้นมีการทำงานที่ค่อนข้างจะซับซ้อนอยู่พอสมควร ทางบริษัทจึงไม่อนุญาตให้ลูกค้าแก้ไขสิ่งใดๆ กับเครื่องเลย และการรับประกัน
ก็ยังมีช่วงเวลาที่สั้นเกินไป



RAID 10 : Mirroring with striped subsets


       RAID 10 ความจริงแล้วก็คือการรวมเอาโครงสร้างของ RAID 0 และ 1 เข้าด้วยกันนั่นเอง การรวมกันนี้จะส่งผลให้การเข้า
ถึงข้อมูลจะรวดเร็วขึ้น (คุณสมบัติของ RAID 0) ในขณะเดียวกันก็จะมีการแบ๊คอัพข้อมูลไปด้วยตลอดเวลา (คุณสมบัติของ RAID
1 ) ลักษณะของโครงสร้าง RAID 10 จะเป็นดังรูปที่ 11 นั่นคือ ฮาร์ดดิสก์แต่ละตัวก็จะมีฮาร์ดดิสก์ “เงา” อยู่คู่กัน โดยข้อมูลของ
ฮาร์ดดิสก์แต่ละคู่ก็จะส่งออกมาในลักษณะขนานกัน และจากโครงสร้างของ RAID 10 นี้ จึงมีชื่อเรียก RAID 10 อีกอย่างว่าเป็น
RAID ที่มีลักษณะ 2 มิติ











และจากการที่ RAID 10 ต้องมีฮาร์ดดิสก์ “เงา” คู่กับฮาร์ดดิสก์หลักทุกตัว ก็ทำให้การเพิ่มจำนวนฮาร์ดดิสก์ในอนาคตทำได้ค่อนข้างลำบาก เพราะยิ่งเราเพิ่มจำนวนฮาร์ดดิสก์เก็บข้อมูลมากขึ้นเท่าใด เราก็ต้องเพิ่มฮาร์ดดิสก์แบ๊คอัพมากขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะฉะนั้นงานที่จะนำ RAID 10 ไปใช้จึงควรเป็นงานประเภท Database Server ที่ต้องการประสิทธิภาพในการอ่าน/เขียนข้อมูลสูงๆ และมี Full Tolerance ดี แต่มีความจุข้อมูลไม่สูงมากนัก และไม่ต้องการคุณสมบัติด้าน Scalability มากเท่าใด














รูปที่ 11
 



Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»