Review : Asus M32AD Desktop PC

/ บทความโดย: Northbridge , 22/12/2014 00:00, 6,892 views / view in EnglishEN
«»
Share

1 Review : Asus M32AD Desktop PC

สวัสดีครับ สำหรับบทความรีวิวในวันนี้นั้นก็จะเป็นรีวิวของ Asus M32AD ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เดสก์ทอพรูปทรงแบบทาวเวอร์ ประกอบสำเร็จจากค่าย ASUS ที่พวกเราสาย DIY จะคุ้นเคยกับเมนบอร์ดที่มีชื่อเสียงจากค่ายนี้กันดีครับ M32AD นั้นเป็น variant ล่าสุดจาก M32 series ที่มาพร้อมกับซีพียู 4th generation core processor ซึ่งในตัวที่ผมได้รับมาทำการรีวิวในวันนี้ก็จะมาพร้อมกับซีพียูตัวท็อปรหัส Intel Core i7 4790 4 คอร์ 8 เธรด กันเลยทีเดียว ในร่างของเคสทาวเวอร์ขนาดกระทัดรัด ลองมาชมภาพรวมกันครับ

2 Review : Asus M32AD Desktop PC

6 Review : Asus M32AD Desktop PC

อย่างที่ได้เห็นไปแล้วในรูปแรกว่าตัวเคสนั้นก็เป็นเคสเหล็ก พ่นสีเทาเข้ม พร้อมกับหน้ากากลายอะลูมิเนียม และฐานพลาสติกด้านหน้ายกหน้าเคสให้ดูสูงขึ้น ด้านฝาข้างด้านซ้ายมือ ซึ่งเป็นด้านที่จะมีไว้สำหรับการเปิดเพื่อถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนภายใน ก็จะมีรูรังผึ้งสำหรับระบายความร้อนส่วนหนึ่งให้

3 Review : Asus M32AD Desktop PC

9 Review : Asus M32AD Desktop PC

ฝาอีกด้านหนึ่งก็จะมีรอยหลุมลงไปเล็กน้อย ให้พอดูมีสไตล์ครับ พร้อมกับลายโลโก ASUS ตัวเป้งๆ และสติกเกอร์แสดงรายละเอียดทางเทคนิคเบื้องต้นของตัวเครื่องสีดำ

4 Review : Asus M32AD Desktop PC

หน้ากากพลาสติกบริเวณสีดำที่ครอบคลุมพื้นที่ของ Optical Drive และด้านล่างก็จะพบว่ามีพอร์ต USB 3.0 ทั้งหมดสองพอร์ต ตามในโบร์ชัวร์ระบุว่าสามารถทำ AI Charge (ชาร์จอุปกรณ์ ไอโฟน ไอแพด ได้เร็วกว่าพอร์ต USB ปกติ) ตลอดจนมีช่องสำหรับเสียบหูฟังและไมค์ และการ์ดรีดเดอร์ SD/xD ตามมาตรฐานพีซีสมัยนี้ครับ

5 Review : Asus M32AD Desktop PC

สติกเกอร์แสดงสังกัด (Intel + NVIDIA) ติดแบบหลบๆมุมอยู่ด้านซ้าย

7 Review : Asus M32AD Desktop PC

ด้านบนเหมือนมีจงใจทำเป็นหลุมเอาไว้ สำหรับการวางโทรศัพท์มือถือเพื่อทำการชาร์จ

8 Review : Asus M32AD Desktop PC

ไดร์ฟเป็น DVD-RW 8X ของ ASUS นั้นเอง

10 Review : Asus M32AD Desktop PC

ด้านใต้เครื่องมีลูกยางรองกันลื่นมาให้บริเวณหน้ากากพลาสติก

11 Review : Asus M32AD Desktop PC

ด้านท้ายเครื่อง ก็มีพอร์ตเชื่อมต่อที่ดูแล้วก็ดูโล่ง ๆ ไม่แน่นมากเหมือนเครื่องพีซีประกอบที่ใช้เมนบอร์ดตัวท็อป ๆ ตัวสีของเคสก็คงเป็นสีเงิน ไม่มีการพ่นสีดำหรือสีเทา ทับในส่วนที่มองด้วยตาไม่เห็น

12 Review : Asus M32AD Desktop PC

ดูใกล้ๆเข้ามาอีกก็จะพบว่าด้านหลังนี้มีพอร์ต USB2.0 มาให้อีก 3 พอร์ต สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ อย่างเมาส์คีย์บอร์ด หรือปริ้นเตอร์ ผมเองเข้าใจว่าด้านหน้า คงกะจะเอาไว้ให้ต่ออุปกรณ์พวก Storage อย่างเดียวเลยให้ USB3.0 มาด้านหน้าอย่างเดียว นอกจากนี้ เนื่องจาก M32 ระบบเสียง Sonic Master นั้นก็มีช่อง analog ให้ต่อ 6 ช่อง ซึ่งก็รองรับระบบเสียง 8 ชาแนล (7.1) ตลอดจนช่องสำหรับเสียบจอแสดงผลบนการ์ดจอ GeForce GT720 ก็มี HDMI, DVI และ DSUB มาให้ครบครัน

นอกจากนี้ เนื่องจากตัวเครื่องใช้เมนบอร์ดชิปเซ็ต H81 ซึ่งรองรับการทำงานร่วมกับกราฟฟิคอินติเกรตในตัวซีพียู ก็เลยยังมีช่อง HDMI/DSUB บนเมนบอร์ด ที่มีพลาสติกครอบไว้ กรณีที่จะไม่ใช้งานกราฟฟิคแยก GeForce นั้นเองครับ

13 Review : Asus M32AD Desktop PC

บริเวณเพาเวอร์ซัพพลาย ยังคงต้องใช้สวิช ในการเลือกระบบไฟระหว่างระบบ 230 หรือ 110 V AC อยู่ครับ ยังไม่ใช้ระบบ Active PFC แบบที่เรามักพบได้ในเพาเวอร์ซัพพลายรุ่นใหม่ ๆ ที่วางขายปลีกกันในท้องตลาด

14 Review : Asus M32AD Desktop PC

แบรคเก็ตยึดการ์ดจอ ต้องใช้ไขควงหลายแฉกในการไข

15 Review : Asus M32AD Desktop PC

ความรู้สึกเมื่อได้ลองไขน็อต เปิดฝาเคสออกมา และจับส่วนประกอบหลายๆส่วน ก็พบว่า ตัวเครื่องมีการเก็บงานเหล็กพับขึ้นรูปมาได้เรียบร้อย สวยงามดี ทั้งภายนอกและภายใน ถึงแม้จะไม่ได้มีการพ่นสีดำ หรือสีเทามาในชิ้นส่วนเหล็กภายใน ตามสมัยนิยมก็ตาม แต่รับรองได้เลยว่า สัมผัส แน่นหนา ทนทาน ไม่ผิดหวังเครื่องแบรนด์เนมแน่ๆครับ

18 Review : Asus M32AD Desktop PC

ภายในมีการรวบเก็บสายด้วย cable tie ง่ายๆ เนื่องจากตัวเคสไม่ได้มีการออกแบบให้ทำการลอดสายไฟไปด้านหลังเมนบอร์ด พัดลมซีพียูก็ดูคล้ายๆกับของ Intel ที่มากับ Retail version แต่ตัวพัดลมจะไม่เหมือนกันครับ

16 Review : Asus M32AD Desktop PC

17 Review : Asus M32AD Desktop PC

การ์ดจอ GT720 ขนาดนั้นก็ไม่ได้เต็ม bracket ดีนัก สลอตแรมมีมาให้ 2 สลอต ตามแบบฉบับของเมนบอร์ด H81 ทั่วๆไปที่เรามักพบ

19 Review : Asus M32AD Desktop PC

เพาเวอร์ซัพพลายดังที่บอกไปในตอนแรกครับว่ายังคงเป็นระบบ PFC แบบ Passive อยู่ (ต้องเลื่อนสวิชเลือกระดับแรงดันไฟบ้าน AC) และพอดูฉลากด้านในก็ระบุยี่ห้อ AcBel มี 12V Rail ทั้งหมด 2 rail และให้กำลังรวม 216 วัตต์ เมื่อรวมกำลังวัตต์ทั้งหมดที่ซัพพลายฯ สามารถจ่ายได้ก็จะอยู่ที่ 286.4W เรียกได้ว่า เหลือเฟือสำหรับกราฟฟิคการ์ดแยกรุ่นเล็ก และน่าจะพอเหลือใช้สำหรับการที่จะอัพเกรดกราฟฟิคการ์ดขึ้นไปเป็นรุ่นที่สูงกว่านี้ (เช่น GTX 750)

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»