Review : HP Pavilion G4

Article by Northbridge On December 20, 2011 8,574 views
Review : HP Pavilion G4
 1 2 3 4 >  Last ›

dsc_6910

Review : HP Pavilion G4

...ช่วงนี้เราอาจจะได้เห็นผลิตผลของโปรเซสเซอร์ตระกูลใหม่ที่ทาง AMD เรียกว่า APU หนาหูหนาตาบนเว็บไซต์ของเรามากขึ้นสักนิดนะครับ เพราะคงอยู่ในช่วงกระแสบูม ขาขึ้นของมันนั้นเอง ซึ่งในวันนี้ผมก็มีเครือ่งโน๊ตบุ๊ก HP Pavilion G4 ที่ใช้โปรเซสเซอร์ APU จาก AMD ในรุ่น A4-3300M ซึ่ง A series นั้นจะถือได้ว่าเป็น APU ในระดับ mainstreme ที่พุ่งเป้าหมายไว้ให้ชนกับตระกูล Core i3 และ Pentium ของทางฝั่งอินเทล โดยทาง AMD นั้นก็จะชูเอาประสิทธิภาพของกราฟฟิคอินติเกรตในตัวซีพียูที่เรียกได้ว่ามีดีกรีกว่าด้วย AMD Radeon 6 series ซึ่งจะเป็นอย่างไร เรามาชมกันครับ

Processor AMD A4-3300M 1.9-2.5GHz 2mb L2cache
Chipset AMD A75M
Memory 4GB DDR3-1333MHz
Graphics Adapter Radeon HD6480
Display 14" 1366x768
Harddisk 500GB 5400RPM
Optical Drive DVD-RW
Network Atheros (Wireless N) & Huawei 3G aircard
Connection Port USB2.0x3 HDMI, VGA, RJ45
Battery UNKNOWN
Weight 870g
OS Bundled unknown

...รายละเอียดหลายๆจุด ผมก็ยังคงพบว่ามันไม่ต่างอะไรจากโน๊ตบุ๊ก 14 นิ้วระดับเมนสตรีมปกติมากนักครับ โดย G4 ในรุ่นที่ผมได้รับมาทดสอบนี้ ถือเป็น Variant ระดับล่างๆลงมาหน่อยด้วยระดับราคาของมัน เป็นโปรเซสเซอร์ AMD A4-3300 ทำงานที่ความเร็ว 1.9GHz ที่จะถูกกว่าตัวที่ใช้ Core i3 อยู่พอสมควร ซึ่งตัวนี้จะเป็นรุ่นที่ใช้กราฟฟิคออนชิป HD6480M และนอกจากนี้ HP ก็ยังมีตัวเลือกให้เลือกใช้เป็น A4 เหมือนกัน แต่เสริมกราฟฟิคออนบอร์ดมาด้วยและทำ Crossfire ได้เป็น HD6520G2 ในรุ่นที่ราคาแพงกว่าตัวนี้ผมนำมาทดสอบนี้ครับ

..

...ดีไซน์โดยรวมนั้นมาในมาดสีเทาแนวๆเทาตะกั่วโปร่งๆเล็กน้อย อย่าได้ไปเรียกสีนี้ว่าสีบรอนซ์เชียวนะครับ ฝรั่งอาจจะงงได้ เพราะว่าสีบรอนซ์ (Bronze) นั้นหมายถึงสี "ทอง" ในภาษาไทยนั้นเอง ไม่มีเหตุผลที่จะต้องไปเรียกทับศัพท์ให้เกิดการสับสนกัน ว่าบรอนซ์เงินบรอนซ์แดงให้มั่วซั่วไปหมดแบบที่ทุกวันนี้เรามักจะได้ยินกัน

บอดี้โดยรวมบอกตามตรงว่า เป็นโน๊ตบุ๊กเครื่องหนึ่งที่ผมเอามาถ่ายภาพแล้วสวยขึ้นกล้องมากอีกรุ่นหนึ่ง ตามสไตล์ HP ที่ถึงแม้จะเป็นรุ่นที่ราคาไม่สูงมากนัก แต่ก็ยังคงความงามไว้ตามแบบฉบับของค่ายนี้ ชนิดที่ผมว่า แค่หันมาสบตา ก็น่าจะพอเดาได้ว่าเนี่ย HP !

บอดี้ด้านนอกถึงแม้ว่าจะเป็นสีเทาตะกั่วทำให้ดูว่าคล้ายกับเป็นบอดี้อะลูมิเนียม แต่จริงๆแล้วก็เป็นวัสดุจำพวกพลาสติกแบบที่โน๊ตบุ๊กทั่วๆไปใช้กันนั้นแหละครับ รอยต่อตามตัวเครื่องต่างๆก็ถือว่าเก็บงานมาได้เรียบร้อยแน่นหนาดี

ดีไซน์ภายในก็เล่นสีเทาตะกั่วตัดกับสีดำ ด้วยเส้นโค้งมนเล็กน้อย ให้ความรู้สึกหรูหราได้ในระดับหนึ่ง

คีย์บอร์ดมีการเว้นระยะปุ่มให้มีความรู้สึกเหมือนว่าเป็นแบบปุ่มแยก แต่จริงๆแล้วก็ยังไม่ใช่เสียทีเดียว โดยภาพรวมแล้วถือว่าคีย์บอร์ดของ G4 นี้ใช้พื้นที่ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ระยะห่างระหว่างคีย์ไม่ให้ความรู้สึกว่าเบียดกันสักเท่าไร รวมไปถึงปุ่มพิเศษต่างๆอย่างพวก home, page up/down นั้นก็สามารถคลำใช้งานได้ง่ายกว่าโน๊ตบุ๊กหลายๆรุ่นครับ

ทัชแพดทำให้ดูเหมือนว่ากลมกลืนไปกับตัวถังของตัวเครื่องดีเลยทีเดียว การใช้งานผมพบว่าสามารถพอใช้งานได้เรื่อยๆ ไม่หงุดหงิดเหมือนเครื่องแบรนด์เอเชียราคาถูกๆมากๆ แต่ก็ไม่จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เรียกได้ว่าแม่นยำจนน่าประทับใจมากนัก

.

...ลำโพงในเครื่องนี้จาก ALTEC Lansing พร้อม SRS ให้มิติและความดัง รวมไปถึงรายละเอียดเสียงที่ดีกว่าลำโพงโน๊ตบุ๊กทั่วไปในระดับหนึ่งครับ รายละเอียดคงอธิบายได้ไม่มากนัก แต่เอาเป็นว่าถ้าไปเทียบกับตัว Beats Audio ของ HP เหมือนกัน ผมก็จะให้คะแนนของตัวเครือ่งรุ่นที่เป็นลำโพงจาก Beats สูงกว่าครับ

ด้านขวามือจะกบกับไดร์ฟ DVD-RW และพอร์ต USB 2.0 หนึ่งพอร์ต

...พอร์ต USB 2.0 ด้านนี้มีมาอีกสองพอร์ต HDMI, RJ45, VGA, Audio in/out และ SD/MMC Cardreader ก็อยู่ในด้านนี้ครับ ช่องระบายอากาศนั้นจะมีช่องเล็กๆด้านข้าง และช่องใหญ่นั้นจะอยู่ในลักษณะงุ้มลงไปบนพื้นโต๊ะ  หลายท่านคงข้องใจว่าทำไมไม่มี USB3.0 มาให้เสียที ก็ตอบได้ง่ายๆว่าตัวชิปเซ็ต A series (อย่าสับสนกับตัวโปรเซสเซอร์) สำหรับ AMD APU ตอนนี้ ยังไม่ได้มีการอินติเกรตเอา USB 3.0 Controller มาให้ในตัวครับ จึงทำให้เรายังไม่เห็น USB 3.0 ในแพลตฟอร์ม AMD APU เลย

ด้านใต้เครื่องดูแล้วไม่น่ามีอะไรซับซ้อนในการถอดอัพเกรดอุปกรณ์ที่พึงจะอัพเกรดได้อย่างเมมโมรีและฮาร์ดไดร์ฟ

Performance

- รายละเอียดเครื่อง

ชัดเจนครับว่า A3-3300 นั้นทำงานที่ความเร็ว 1.9GHz และมี L2 cache คอร์ละ 1MB รวมกันเป็น 2MB ทำงานร่วมกับชิป A75 และกราฟฟิคนั้นเป็น Radeon HD6480

Super PI 1M

จัด Super PI1m ยังไงยังไง ก็สู้ฝั่งอินเทลไม่ได้เสียทีครับสำหรับ benchmark ตัวนี้

Cinebench R10

Ciebench R11.5

แต่เมื่อมาดูผลทดสอบ Cinebench ดูเหมือนจะมีผลลัพท์ที่น่าประทับใจเลยทีเดียวสำหรับเครื่องราคานี้ ซึ่งถ้าเป็นตัวกราฟฟิค Intel HD ของตัว Core i3 เนี่ยจะทำ fps ใน OpenGL test ได้ราวๆ 7fps เท่านั้นครับ (อยากทราบผลละเอียดลองเปิดบทความเก่าๆดูครับ)

AIDA64 Benchmark

CACHE & MEMORY BENCHMARK

DISK BENCHMARK

Batterry Eater (100-5%) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน

...การทดสอบ ล็อคความเร็วซีพียูในโหมดประหยัดพลังงานให้ได้ความเร็วต่ำที่สุด 50% และ ทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry Eater ในโหมด Classic ซึ่งซีพียูและกราฟฟิคจะทำงานเต็ม 100% เวลาที่ได้ สามารถบ่งบอกได้ถึงเวลาที่สามารถนำเครื่องออกไปใช้งานในสถานการณ์จริงได้ ค่อนข้างใกล้เคียง

http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/hp-g4/b/25_11_2011_1/Report.html

141 นาที หรือ 2 ชั่วโมง 21 นาที ซึ่งจริงๆแล้วแบตยังเหลือให้วิ่งต่อได้อีก 15% ถือได้ว่าจัดการพลังงานได้เยี่ยมยอดเลยทีเดียวสำหรับ A series APU ตัวใหม่นี้

PCMark 05

PCmark 7

3Dmark06

3DMark 11 (Performance Mode)

คะแนนของ 3Dmark ทำได้น่าประทับใจเลยทีเดียวสำหรับเครื่องราคาระดับนี้

.

.

... ถือว่าออกมาเขย่าวงการเครื่องโน๊ตบุ๊กราคาถูกได้เลยทีเดียวครับสำหรับ HP Pavilion G4 ตัวนี้ ที่ผมคาดว่าราคาขายจริงไม่น่าจะเกิน 15000 บาทเท่านั้น ได้ประสิทธิภาพของกราฟฟิค Radeon HD 6 series ในราคาระดับนี้ ประกอบกับการจัดการพลังงานที่ดีของ AMD APU เรียกได้ว่าใครที่กำลังมองหาเครื่องที่ราคาไม่แพงมาก แต่ก็ยังอยากจะใช้งานทางด้านมัลติมีเดียในระดับปานกลาง เล่นเกมดูหนังได้ในระดับหนึ่ง มองหาเครื่องที่ใช้ AMD A series APU เอาไว้ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดูสมเหตุสมผลเลยทีเดียวครับ เพราะราคาเครื่องค่อนข้างถูกพอสมควร จะเสียอย่างเดียวก็ตรงที่มันคงไม่มี USB 3.0 ติดมาให้แน่ๆ ก็เท่านั้นเองครับ

.

.

ขอขอบคุณ HP Thailand

 1 2 3 4 >  Last ›