BIOSTAR TP35D2-A7 P35 CHIPSET

/ บทความโดย: admin , 20/08/2007 02:26, 2,618 views / view in EnglishEN
«»
Share

OVERCLOCK!!!


ส่วนตรงนี้คงเป็นส่วนที่สำคัญหรือไฮไลท์ของเมนบอร์ดตัวนี้เลยก็ว่าได้คับ อาจจะเป็นส่วนที่หลายคนตั้งใจติดตามชมถึงความคุ้มค่าว่าเมนบอร์ดตัวนี้จะทำได้ดีแค่ไหน ก่อนอื่นจะขอย้ำถึงเรื่อง System ที่ใช้ในการทดสอบในครั้งนี้ก่อนซีพียูที่ใช้คือโมเดล E6320 และส่วนความเร็ว FSB ที่ใช้ในการทดสอบสำหรับ overclock คือ 515 MHz ความเร็วของซีพียูจะอยู่ที่ 3.6GHz ซึ่งเป็นความเร็วที่สามารถผ่านการทดสอบได้ทุกโปรแกรมและคิดว่าซีพียูตัวนี้น่าจะตันอยู่ที่ FSB ประมาณ 515MHz นั้เอง และการทดสอบครั้งนี้อย่างที่ได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้แล้วว่าจะใช้แรมของ Kingston KVR533 Micron GMH ที่เป็นแรมยอดฮิตในตลาดบ้านเราในตอนนี้นั้นเอง ความเร็วแรมที่ใช้ในการทดสอบก็จะอยู่ที่ 515MHz หรือ DDR1030 ,CL 5-5-5-15 ครับ ส่วนการ์ดจอที่ใช้ในการทดสอบคือ nVidia Geforce 8800 gts 320MB ,550/1800 ครับ




การตั้งค่าแรงดันไฟใน bios นั้นผมจะใช้แรงดันไฟสำหรับซีพียูอยู่ที่ระดับ 1.55v และแรงดันแรมจะใช้ที่ 2.2v นอกนั้นผมจะใช้ auto หมดครับ ดูแล้วมันชั่งง่ายดายซะจริงๆเลย สำหรับการปรับในส่วนต่างๆ ของการ overclock นั้น หลายๆ คนคงจะมีคำถามว่ามันงอแงบ้างไหม ผมตอบได้เลยครับว่าไม่มีการงอแงแต่อย่างใด และในการได้ลองเล่นกับเจ้าเมนบอร์ดตัวนี้ผมยังไม่เคยเจอปัญหาอย่าง bios reset ค่าเดิมหลังจากที่เรา shutdown หรือ restart แต่อย่างใด เป็นอะไรที่ง่ายครับ สำหรับการ overclock ด้วยเมนบอร์ดตัวนี้


ส่วนปัญหาที่พบนั้นก็จะเป็นในส่วนของการปรับอัตราความเร็วของแรม ซึ่งผมไม่สามารถเลือกปรับอัตรอื่นนอกจาก 533/1:1 ได้เลย เป็นที่น่าแปลกใจเป็นอย่างมาก ซึ่งต้องหาแรมที่มีความเร็วอื่นๆ ทดสอบกันต่อไปว่าจะแก้ไขในส่วนนี้ได้หรือป่าว


และสำหรับการทดสอบในครั้งนี้ผมได้ทำการ overclock จาก bios เท่านั้น ไม่ได้มีการใช้ software ใดๆ ในการช่วยปรับความเร็วในส่วนของ Windows เลย ส่วน Software ที่สามารถปรับความเร็วในส่วนของ Windows ได้ก็มีทั้ง Clockgen และ SetFSB โดยใช้ PLL ของ ICS เบอร์ 9LPRS509HGLF ครับ



 


SetFSB




และในส่วนของการระบายความร้อน Northbridge นั้น ผมได้ทำการทา Silicone ระบายความร้อนซะใหม่ ซึ่งของเดิมที่ให้มานั้นมันเหมือน หมากฝรั่งสีชมพู ซึ่งผมไม่ชอบเอาซะเลย _ _”


 


 


CPU-Z on FSB 515MHz



3.6GHz FSB Speed 515MHz สำหรับเมนบอร์ด Biostar ตัวนี้ แต่ยังคงมีปัญหาในเรื่องที่โปรแกรม CPU-Z นั้น ไม่สามารถบอกความเร็วของแรมได้


 


 


PCMARK 05 on FSB 515MHz



 


 


SUPER PI 1MB on FSB 515MHz



ความเร็วในการคำนวณด้วยโปรแกรม Super Pi 1MB นั้นก็ออกมาในเกณฑ์ปกติของซีพียูระดับ 3.6GHz ซึ่งไม่ค่อยจะแตกต่างกับ P965 ซักเท่าไหร่คับ


 


 


CINEBENCH 9.5 on FSB 515MHz



ผลการเทสของ CINEBENCH ก็ออกมาที่คะแนน 1,122 CB-CPU < Multi-Process > และ 603 CB-CPU < Single-Process > ,ส่วนเวลาที่ใช้ก็คือ 19 วินาที และ 37 วินาที ตามลำดับครับ


 


 


FRITZ+CHESS BENCHMARK on FSB 515MHz



Fritz+Chess Benchmark ก็ขอมีเอี่ยวกับเค้าซะหน่อย


 


 


3DMARK 2001 on FSB 515MHz



62,168 คะแนน ต่างกันเกือบครึ่งกับตอนที่ยังไม่ overclock ,Benchmark ตัวนี้มีผลกับความเร็วของซีพียูเป็นอย่างมาก ไม่ได้อิงกับประสิทธิภาพของ Dispaly Card เพียงอย่างเดียว


 


 


3DMARK 2003 on FSB 515MHz



34,295 คะแนนสำหรับ 3DMark Score และ 2291 คะแนนของ CPU Score


 


 


3DMARK 2005 On FSB 515MHz



17,796 คะแนนสำหรับ 3DMark Score และ 13,530 คะแนนของ CPU Score


 


 


3DMARK 2006 on FSB 515MHz



9,977 3DMark Score และ 3,233 CPU Score ครับ


 


 


AQUAMARK on FSB 515MHz



Aquamark นั้น คะแนนรวมอยู่ที่ 201,720 ครับ แรงได้ใจจริงๆ เลยกับ Chipset P35 เนี่ย


 


 


OTHOS on FSB 515MHz



การทดสอบความเสถียรของระบบนั้นผมได้ใช้โปรแกรมอย่าง OTHOS ทดสอบแบบ Priority ระดับ 9 และใช้เวลาในการทดสอบไป 1 ชม. ครับ 


 


 


Conclusion


สำหรับเรื่องราวของบททดสอบเมนบอร์ด Biostar รุ่น TP35D2-A7 ในวันนี้ ผลของความน่าสนใจจะออกมาถูกใจทุกท่านรึป่าว ก็ขึ้นอยู่กับใจของแต่ละท่านนะครับ บางท่านเห็นแล้วก็ชอบ บางท่านเห็นแล้วอาจจะมองว่าเฉยๆ มันยังไม่แตกต่างกับ Chipset เก่าอย่าง P965 ซักเท่าไหร่ แต่สิ่งที่ผมพยายามจะสื่อถึงเมนบอร์ดตัวนี้คือ ความคุ้มค่าในตัวของมัน เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการความคุ้มค่า แต่เพียบพร้อมไปด้วยประสิทธิภาพที่ดีระดับหนึ่ง ซึ่งค่าตัวของมันที่ออกมาวางขายกันนั้น ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 3,600 บาท เท่านั้นเอง ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่ถูกที่สุดของ P35 ในตลาดบ้านเรา ณ. เวลานี้เลยครับ อีกจุดหนึ่งที่อยากจะเสนอคือความพร้อมในส่วนของ Fuction สำหรับ overclock นั้น เมนบอร์ด Biostar TP35D2-A7 เองก้อมีเพียงพอในจุดๆ หนึ่ง ไม่น้อยไปและมีเยอะจนปวดหัว ซึ่งน่าจะเหมาะสมสำหรับท่านที่ต้องการ overclock แบบง่ายๆ ไม่ลำบากอะไรมากมายให้ปวดหัวกัน สำหรับท่านที่ต้องการชมoverclock แบบ Extreme ด้วยเมนบอร์ดตัวนี้นั้น ผมเองจะส่งเจ้าเมนบอร์ดตัวนี้ไปให้ท่าน Venom-Crusher ได้ทดสอบกันต่อไปครับ


ส่วนปัญหาที่พบกับเมนบอร์ด TP35D2-A7 ตัวนี้ ที่พบก็จะมีในส่วนของการปรับอัตราส่วนความเร็วของแรมซึ่งไม่สามารถปรับความเร็วที่นอกเหนือจาก 1:1 ได้เลย เมื่อใช้กับแรมแบบ DDR533 อีกส่วนหนึ่งที่อยากจะติคือในส่วนของ Program Hardware Monitor นั้น ผมคิดว่ามันน้อยเกินไปและไม่ค่อยละเอียดเรียบง่ายเกินไป ข้อนี้อาจเป็นข้อสำคัญกับท่านที่ชอบใช้งานในส่วนของ Hardware Monitor ครับ แต่สำหรับท่านใดที่ชอบสินค้าที่ถูก แต่แลกมาด้วยประสิทธิภาพที่น่าพอใจ บอกได้คำเดียวเลยคับว่าเมนบอร์ดตัวนี้…. คุ้มครับ


เอาเป็นว่าครั้งนี้เป็นการทำบทความ it ครั้งแรกในชีวิตของผมเอง ถ้าผิดพลาดกระการใดนั้น ก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ หรือท่านใดที่มีปัญหาหรืออยากจะคุยกันในส่วนของเมนบอร์ดตัวนี้ก็ติดต่อมาได้นะครับที่ [email protected] ส่วน ณ. เวลานี้ขอลาไปก่อนครับ


สวัสดีครับ

ขอขอบคุณ P’ BUS ที่เอื้อเฟื้อซีพียูสำหรับการทดสอบครั้งนี้ครับ


ร่วมวิจารณ์บทความนี้ คลิกที่นี่