Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

, / บทความโดย: Northbridge , 15/06/2011 00:07, 5,060 views / view in EnglishEN
«»
Share

1308065672DSC 0778 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

Lenovo Thinkpad Edge E420s

โลกของโน๊ตบุ๊กที่แข่งขันกันในการขายแบบ retail หรือขายกันเป็นเครื่อง ไม่ได้หยุดหรือจบอยู่ที่แค่โน๊ตบุ๊กระดับ consumer ที่ขายกันให้เกร่อตามหน้าร้านเท่านั้น โน๊ตบุ๊กสำหรับ SMB ที่มีราคาไม่แพงมาก มีฟีเจอร์แบบที่องค์กรธุรกิจขนาดย่อมไปจนถึงขนาดกลางต้องการ ก็กำลังมีการแข่งขันที่สูงเช่นกัน ที่ตอนนี้ตามหน้าร้าน ท่านก็อาจจะได้เห็นนอกจาก “Thinkpad Edge” จาก Lenovo ในบทความนี้แล้ว ก็จะยังมี probook ของ HP หรือไม่ว่าจะเป็น Vostro ของ dell และอีกมากมายหลายค่าย

ซึ่ง Thinkpad นั้นก็ถือได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊กระดับโปร สำหรับธุรกิจ และองค์กร ที่มีชื่อเสียงและความเป็นมาที่ยาวนาน ตั้งแต่กับบริษัท IBM มาจนถึงเป็น Lenovo ที่เป็นทั้งผู้่ผลิตและทำตลาดในทุกวันนี้ ผมเองเคยได้รีวิวเครื่อง Thinkpad Edge มาแล้วถึงสองเครื่องด้วยกัน เรื่องความเป็นมาคิดว่าคงไม่ต้องเล่ากันอีก ลองย้อนไปดูบทความเก่าๆเราได้ครับ วันนี้่เรามาดูกันดีกว่า ว่า Thinkpad Edge E420s ที่เป็นจอ 14 ที่มีการปรับปรุงดีไซน์จาก Edge 14″ เดิม เนี่ย จะมีอะไรพัฒนาปรับปรุงไปบ้าง มาชมกันครับ

Processor Intel Core i5 2410
Chipset Intel QM67
Memory 4GB DDR3-1333MHZ
Graphics Adapter Intel HD
Display 14.0″ 1366×768 (Glare)
Harddisk 320GB 7200RPM SATAII
Optical Drive DVD-RW Slot in
Network Intel WiFi link 1000BGN (Wireless N)
Connection Port cardreader, USB2.0 x3, VGA,HDMI,eSATA, RJ45, Aircard(3G)
Battery 48.8Wh
Weight 1.86kg
OS Bundled Windows 7 Professional

evin Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

..Thinkpad Edge E420s ในแง่ของรายละเอียดเชิงเทคนิค และเทคโนโลยีต่างๆ เรียกได้ว่ามีการปรับปรุงจาก Thinkpad Edge รุ่นแรกๆที่ผมได้รับมาพอสมควร ตั้งแต่ซีพียู Core 2nd generation ที่จริงๆแล้วสเป็คที่เห็นนี้คือสเป็คที่ retailer บ้านเรานำเข้ามาขาย แต่ถ้าเป็นต่างประเทศ E420s นั้นจะสนับสนุนการติดตั้งซีพียูสูงสุดถึง Core i7 เลยครับ กราฟฟิคชิปก็ใช้เป็นของ Intel เอง มั่นใจได้เรื่องประหยัดพลังงานและความเสถียร รายละเอียดอื่นๆนั้นก็จะเห็นได้ว่าความที่เป็นโน๊ตบุ๊กระดับโปรจริงๆ การ์ดไวเรสที่ติดมาก็เป็นของ Intel เสียด้วย !

1 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

บอดี้ผิวด้าน ลักษณะคล้ายๆกำมะหยี่ ซึ่งจะมีเฉพาะใน Thinkpad Edge ใหม่นี้เท่านั้น ในซีรียส์เก่าๆจะเป็นดำด้าน ธรรมดาๆ ทำให้ดีไซน์ของ Thinkpad Edge ใหม่นี้ให้ความรู้สึกร่วมสมัย (Contemporary) มากขึ้นกว่าใน Edge ตัวแรก ที่ผมคิดว่ามันออกจะเป็นโมเดิร์นมากกว่า

2 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

E420s เรียกได้ว่าเป็นเครื่องขนาด 14 นิ้วรุ่นหนึ่งที่ผมมีความเห็นว่า บางและเบามากๆเลยทีเดียว เมื่อประกอบเข้ากับดีไซน์ที่เรียบง่ายของ Thinkpad Edge

3 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

ตัวเครื่อง Edge ใหม่นี้ก็จะมีการตกแต่งแซมด้วยลายแนวๆโครเมียมบริเวณขอบเครื่อง ต่างจาก Edge ตัวแรกที่จะเป็นสีแมทัลลิค

4 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

บานพับจอให้น้ำหนักที่ดีและมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับตระกูล Thinkpad ใช้นิ้วนิ้วเดียว ยกบานพับขึ้นมาใช้งานได้ แต่เมื่อเจอลมแรงๆ ก็ไม่มีอาการสั่นให้เห็น รวมไปถึงกางได้ถึง 180องศา เอกลักษณ์ส่วนใหญ่ของโน๊ตบุ๊กระดับโปรแทบจะทุกยี่ห้อ

5 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

ดีไซน์ภายในยังมาในแนวเดียวกับภายนอก สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ บริเวณ screen ของจอนั้นจะเป็นลักษณะ glare (จอกระจก) ทั้งบาน ทำให้ดูแล้วเจ้า Edge E420s นั้นดูอ่อนเยาว์ลงไปมากกว่ารุ่นพี่ของมันเลยทีเดียว

6 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

บริเวณภายในเครื่องนั้นก็ยังคงดีไซน์คล้ายๆกับ Edge ก่อนหน้านี้ไว้ไม่เปลี่ยน ทั้งคีย์บอร์ดกันน้ำ ที่ให้น้ำหนักหนักแน่นตามสไตล์ Thinkpad ออริจินัล แต่การออกแบบลักษณะปุ่มใหม่ ทำให้ดูดีและสามารถกดสัมผัสปุ่มได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เลย์เอาท์ของคีย์ก็หมดห่วงได้ครับเพราะขนาด 14 นิ้วแบบนี้ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่สำหรับผม ติดอย่างเดียวคือปุ่ม fn ทำไม lenevo เอามันกลับมาไว้ที่ขอบอีกแล้ว จำได้ว่าใน Edge 11 ก็เอาไปไว้ที่ที่ถูกที่ควรไปแล้วนะ ;)

8 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

ทัชแพดขนาดใหญ่ที่เหมือนจะเป็นอีกเอกลักษณ์หนึ่งของ Thinkpad Edge พร้อมกับก้านควบคุมสีแดง ทัชแพดนั้นเป็นแบบ มัลติทัช ความแม่นยำผมถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ใครเคยใช้ทัชแพดของ macbook ก็นั้นแหละครับ อารมณ์คล้ายๆกัน กว้างๆใหญ่ๆ ละเอียดๆ ไม่น่าหงุดหงิด แต่ต้องสาวกันไกลหน่อย เพราะว่าขนาดทัชแพดมันกว้าง แล้วก็เซ็ตความเร็วมาค่อนข้างต่ำ

ส่วนปุ่มกด จริงๆแล้วมันมีสองโซนครับ โซนแรกคือบริเวณขอบเครื่องด้านล่าง กดแล้วจะเป็นบริเวณรวมกับทัชแพดไปเลย อีกส่วนหนึ่งคือบริเวณสีแดงๆ อันนั้นจะมีไว้สำหรับคนที่ถนัดใช้ก้านควบคุม จะสามารถวางนิ้วลงไปใช้งานได้พอดี ส่วนปุ่มกลาง จะมีเอาไว้ scroll เมาส์ด้วยก้านควบคุม


.

————————————————–

dsc 0792 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

ถึงแม้ว่าเท่าที่ใครต่อใครก็พอจะทราบครับว่า Thinkpad ไม่เคยทำคีย์บอร์ดมีไฟแบกไลท์ส่อง หรือคีย์บอร์ดเรืองแสง แต่ใน Thinkpad Edge E420s นี้ก็ได้มีการแก้ปัญหาการใช้งานในที่มืด ด้วยการใช้ไฟส่องขนาดเล็ก ตามที่ผมได้วงไว้แดงๆในรูป ดูแล้วก็เรียบร้อยกลมกลืนไปกับเครื่อง แถมยังดูมีประโยชน์มากกว่าคีย์บอร์ดเรืองแสง จะเอาไว้ส่องดูตัวหนังสืออะไรก็ได้ ไม่ต้องพึ่งไฟแบกไลท์จากจอมากนัก กดเปิดปิดไฟได้ด้วยปุ่ม fn+space ง่ายๆครับ

7 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

ใน E420s มี Fingerprint scanner มาให้ ส่วนโลโก้ Thinkpad ตรงสีแดงๆ (หัวตัว i) ก็จะทำหน้าที่เป็นไฟเพาเวอร์ไปในตัวอีกเดียว

9 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

พอร์ตเชื่อมต่อด้านซ้ายมือก็ง่ายๆไม่มีอะไรครับนอกจากไดร์ฟ DVD แบบ slot in พร้อมกับ Cardreader

10 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

ส่วนด้านขวามือจะมี USB มาให้สองพอร์ต และ HDMI อีกพอร์ตหนึ่ง ซึ่ง USB พอร์ตเหลืองนั้นคือพอร์ตที่จะมีไฟเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา สามารถใช้ชาร์จไฟมือถือเวลาปิดเครื่องได้

11 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

พอร์ตที่ไม่ค่อยได้ใช้งานอย่าง RJ45 eSATA (combo) และ VGA ก็ถูกย้ายมาไว้ด้านหลัง รวมไปถึง ช่องข้างๆพอร์ต RJ45 นั้นก็จะคือช่องสำหรับ simcard สนับสนุนการใช้งานเครือข่าย 3G เป็นที่เรียบร้อยครับ

12 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

น้ำหนักเครื่องทั้งหมด ผมชั่งได้ 1.96 กิโลกรัม

13 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

รวมสายก็อยู่ที่ 2.289 กิโลกรัม ถือได้ว่าเบามากๆเลยทีเดียว

————————————————–

Software and Other Features

ในคราวนี้ที่ จำเป็นที่จะต้องแยกหน้านี้มาให้โดยเฉพาะสำหรับน้อง Thinkpad Edge ก็คงจะเพราะว่า เครือ่งรุ่นนี้นั้นมีลูกเล่นและซอฟท์แวร์ที่ติดมาให้ แบบที่ใช้ประโยชน์ได้จริง มามากเหลือเกินครับ เรามาดูกันดีกว่า…

tray Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

เริ่มจาก เดสก์ทอพ เราจะเห็นบริเวณ System Tray มีไอคอนแปลกๆอยู่ครับ นั้นเป็นเพราะตัวแสดงสถานะของโปรแกรมจัดการ Wireless และ โปรแกรมจัดการพลังงานของ Thinkpad นั้นเอง

wireless Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

ตัวจัดการ Wireless ใช้งานง่าย และแยกประเภทการเชื่อมต่อให้สามารถเรียกใช้ได้ในหน้าต่างเดียวกัน

Power manager

batt1 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

batt2 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

batt3 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

ระบบ Power Plan ของตัวจัดการพลังงานนั้นก็สามารถปรับค่าได้สะดวก และละเอียดมากๆครับ รวมไปถึงสามารถดูสถานะของแบตเตอร์รี่ได้ด้วยว่าเสื่อมไปแล้วมากน้อยแค่ไหน

HDD Protection

hddprotect Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

และ ที่ดูเหมือนจะขาดไม่ได้สำหรับโน๊ตบุ๊กสมัยนี้ก็คือระบบ HDD Protection ครับ ที่จะทำงานร่วมกับ Accelero meter ภายใน คอยตรวจจับการเคลื่อนไหวของเครื่อง หากเกิดแรงสะเทือนที่มากเกิน hdd ก็จะถูกหยุดทำงานชั่วขณะนั้นเอง

————————————————–

Performance

- รายละเอียดเครื่อง

cpuz Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

Super PI 1m

pi1m Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s


WinRAR

rar Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

ความเร็วก็เหมือนตัดแปะจากของเก่าเลย เพราะ core i5 2410 ก็จะได้ราวๆนี้กันทุกรุ่นครับ

- Cinebench R10

cb10 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

คะแนนของ Cinebench R10 คะแนนก็ออกมาเหมือนซ้ำๆบทความรีวิวเก่าๆเลยทีเดียว มาตรฐานๆครับ

Ciebench R11.5

cb115 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

————————————————–

AIDA64 Benchmark

ev01 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

ev02 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

ev03 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

————————————————–

PCmark 05

pcm05 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

PCmark คะแนนออกมา ก็ยังถือว่าใช้การได้

3Dmark06

06 Review : Lenovo Thinkpad Edge E420s

ดีไซน์เรียบๆแบบนี้ แต่คะแนน 3Dmark ก็ยังพอมีให้เห็นได้ชื่นใจ ไม่ได้น้อยเกินไป

.

.


Lenovo Thinkpad Edge E420s ก็ถือว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของโน๊ตบุ๊กในตระกูล Thinkpad ที่ได้มีการขัดเกลาดีไซน์ให้ดูเป็นมิตรกับผู้ใช้ระดับคอนซูเมอร์ทั่วไปมากขึ้น ราคาที่ถูกลง รวมถึงยังคงประโยชน์ใช้สอย และความเสถียรในแบบฉบับของ Thinkpad ซึ่งจะเป็นแบบที่ผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มองค์กร ตั้งแต่ SMB ไปจนถึงกลุ่มธุรกิจขนาดกลางจะต้องการกัน

ใน E420s ตัวนี้ก็ถือได้ว่ามีการปรับปรุงในแง่ของดีไซน์ จาก Edge 14″ ตัวแรกอยู่เยอะมากเลยทีเดียวครับ ทั้งกรอบนอกที่มีการเล่นลูกเล่นของพื้นผิวใหม่ ไฟส่องคีย์บอร์ด การวางตำแหน่งเชื่อมต่อ รวมไปถึงน้ำหนักที่ยังคงเบาเพียง 1.9 โล สบายๆแบบนี้ ภายในเรื่องของเชิงเทคนิค ก็มีการใช้ซีพียูทันยุคทันสมัยอย่าง Core second generation ก็เรียกได้ว่า เป็นโน๊ตบุ๊กระดับโปร ที่อยู่ในคราบของดีไซน์ที่ดูเป็นเด็กลงมามากหน่อย และราคาที่ไม่แรงจนเกินไป เพียงราวๆ 35xxx บาท ครับ

.

.

ขอขอบคุณ Lenovo





fgsdfgsdD

«ก่อนหน้า 1 2 3 4 5 6 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»