Sony Vaio Z Series VGN-Z17GN No Compromise

, / บทความโดย: admin , 06/10/2008 08:41, 2,689 views / view in EnglishEN
«»
Share


สวัสดีครับท่านผู้อ่าน วันนี้ก็กลับมาพบกันอีกแล้ววว …. กับบทความรีวิวโน๊ตบุ๊ก สำหรับวันนี้ ก็ยังคงหนีไม่พ้น แพลตฟอร์มสุดร้อนแรงจากอินเทล นั้นก็คือ Centrino2 ที่เพิ่งจะเปิดตัวไปไม่นานนี้ กับซีพียูโมบายโค้ดเนมใหม่นามว่า Penryn เท่านั้นเองครับ ซึ่งในวันนี้ ผมมาทำการทดสอบ พร้อมกับ ไปพร้อมกับพีช สาวสวยจากโรงเรียน ….. ครับผม แฮะๆ


เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทาง vmodtech เราก็ได้นำเสนอโน๊ตบุ๊กจากทาง Asus ที่ใช้แพลตฟอร์ม Centrino2 กันไปแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนั้นเป็นโน๊ตบุ๊กที่ใช้ซีพียูในรุ่น Core2 Duo P8xxx ครับ แต่ในวันนี้ Vaio Z ของเรานั้น จัดเป็นกลุ่ม top of the line ของตลาดโน๊ตบุ๊กกลุ่ม Portable เลยทีเดียวครับ เพราะมันมากับซีพียู P9500 ที่มีขนาด L2 6mb ! เช่นเดียวกับ E8600 ที่กำลังโด่งดังบนแพลตฟอร์มเดสก์ทอพของอินเทลอยู่ตอนนี้เลยทีเดียว !…นู๋พีชคอนเฟิมค่ะ !!


 

























CPU Intel Core 2 Duo “Penryn” P9500
Chipset Intel GM45
Graphics Intel Mobile GM45 (64mb Shared)/ Nvidia Geforce Mobile 9300GS (256mb)
Ram DDR3 1066 2048×2mb
HDD SATA 320gb 5400rpm
OPD DVD-/+RW/DL
Display WXGA 1600×900 TFT LCD (13.1″)


หลายคนอาจจะสงสัยครับว่าทำไมใช้ชิปเซ็ต Intel GM45 แล้วยังคงต้องมีการ์ดจอ Nvidia Geforce Mobile ติดมาอีกด้วย เดี้ยวผมจะไปคลายข้อสงสัยให้ท่านในภายหลังก็แล้วกันนะครับ ฮุๆ อันนี้หนูพีชบอก หนูไม่รู้เรื่องละ ตีปังอย่างเดียว หุหุ








ทั้งด้านหน้าและด้านหลังจะสังเกตได้ว่า ตัวถังนั้นมีลักษณะเป็นสีดำด้าน ลักษณะจะสากๆครับ เพราะว่า วัสดุที่ทางโซนี่ได้เลือกมาทำโครงสร้างด้านบน และด้านล่าง นั้นคือ “คาร์บอนไฟเบอร์” นั้นเองครับ จึงทำให้ Vaio Z ถึงแม้จะมีซีพียูที่แรง และจอขาด 13 นิ้ว แต่พอเมื่อได้สัมผัส ยก Vaio Z เครื่องนี้ขึ้นมา ก็พบได้ว่ามันมีน้ำหนักที่เบามากครับ (1.48kg)








มาดูในกาบของเจ้า Vaio Z กันบ้างครับ เมื่อเปิดฝาออกมา สิ่งที่ผมสู้สึกก็คือ ฝาเปิดง่ายดีครับ เอิ้กๆ แต่อย่างไรก็ดี ขณะที่ผมทดลองใช้มือข้างเดียว ยกฝาขึ้นมา ตัวฐานเครื่องนั้นก็ลอยตามขึ้นมาด้วยครับ … แล้วผมก็ทำตก ปุ๊ (….) จริงๆไม่ใช่ครับ ผมต้องใช้มือสองข้างในการเปิดฝาโน๊ตบุ๊กเครื่องนี้ (ตรงนี้ผมจัดว่าเป็นข้อเสียนิดๆหน่อยๆที่คนดีไซน์ชอบมองข้าม) แต่ว่า หากมองกันถึงขนาดและน้ำหนักที่เบา ผมก็คิดว่า คงจะเป็นไปได้ยากครับที่จะทำให้ฝาสามารถเปิดได้ด้วยมือข้างเดียวได้ คีย์บอร์ด ลักษณะเป็นปุ่มลอยออกมา ขนาดใหญ่เท่าๆกันทุกปุ่ม จัดว่าให้ความสะดวกสบายดีครับ ทัชแพด อยู่ในเกณฑ์ดีครับ แป้นพิมพ์ ทำจากอะลูมิเนียม อีกต่างหาก ครับ








ตำแหน่งของเว็บแคม และลำโพง วางตำแหน่งมาเหมือนปกติครับ (เว็บแคมหมุนไม่ได้) ส่วนจอแสดงผล ไม่ใช่จอกระจกครับ (ผมแฮปปี้มาก) เพราะเวลาผมเอาออกไปเล่นนอกสถานที่ ก็ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับแสงสะท้อนไปสะท้อนมาจากแหล่งกำเหนิดแสงไม่พึงประสงค์อีกครับ หุหุ








สำหรับการดีไซน์ ลายเส้น ด้านข้างนั้นออกแนว “สันเหลี่ยม” ครับผม และมีการลากเส้นให้ตัวฐาน เอนลงมาหาผู้ใช้ ซึ่งส่งผลให้เวลาที่เอามือมาวางพิมพ์งานเป็นเวลานานๆ จะช่วยลดความเมื่อยล้าได้ครับ และช่องระบายอากาศ ก็ยังคงเป็นระบายออกด้านข้าง ดังรูปครับ 








แกนพับ เป็นลักษณะทรงกระบอก และมีปุ่มเปิดปิดอยู่บริเวณด้านข้าง ดังรูปครับ (ปุ่มเปิด คล้ายๆ Asus เลยแฮะ) ส่วนของบานพับนั้น แข็งแรงทนทานดีครับ มีความฝืดในระดับหนึ่ง และไม่จำเป็นต้องมีที่ล็อคจอครับ









พอร์ตเชื่อมต่อ ด้านหน้ายังคงมีสลอต SD และ Memorystick ติดมาให้พร้อมกันครับ และมีสวิชเปิดปิดWireless Lanให้อีกด้วย ส่วนด้านข้างนั้น ก็มี USB มาให้ทั้งซ้ายและขวา IEE1394 แบบเล็ก ก็มีมาให้ด้านซ้าย แถมยังมีพอร์ตแลน RJ45 และ โมเดม 56เค แบบ RJ11 มีฝาปิดอีกต่างหากครับ เล่นเอาซะผมหาไม่เจอ และ HDMI กับ VGA out นั้นอยู่บริเวณด้านขวาครับ



และตรงจุดนี้ครับ คือสวิชสับเปลี่ยนโหมด และ ฮอตคีย์สองปุ่ม โดยสวิช Stamina/Speed นั้น จะเป็นสวิตซ์ที่ใช้สับการ์ดทำงานระหว่างการ์ดจอ Intel GM45 ออนบอร์ดกับ Nvidia 9300M GS นั้นเองครับ โดยที่ปุ่ม Stamina จะเป็นการเลือกใช้ กราฟฟิคของอินเทลบนตัวชิปเซ็ต แชร์เมมโมรี่ 64mb ซึ่งจะประหยัดพลังงานกว่าโหมด Speed ที่จะกลับไปใช้ Nvidia 9300M GS ที่ติดแรมมาด้วยถึง 256MB ครับ ส่วนช็อตคัตสองปุ่ม สามารถทำการตั้งใน Vaio Control Center ได้ครับ ว่าจะเอาไว้ให้ทำอะไร



เมมโมรี่แบบ DDR3 ดูอัลชาแนลกันสองแผงครับ ใช้ชิปจาก ELPIDA ความเร็วบัส DDR1066 CL7 ครับ สุดขีดแห่งความแรงสำหรับการพกพาจริงๆครับ











โปรแกรม CPU-Z 1.47 ที่ผมเพิ่งไปโหลดมาสดๆร้อนๆ ไม่รู้ว่าตอนนี้มีออกมาใหม่อีกรึยัง ยังคงเอ๋อๆอยู่กับ P9500 ครับ เห็นเป็น T9400 ซะอย่างนั้น แต่รายละเอียดอื่นๆก็แสดงได้ครบถ้วน ยกเว้นแรม ยังคงเห็นเป็น DDR2 และไม่สามารถแสดงความเร็วได้ครับ แต่ CL นั้นคงจะถูกต้องครับ เป็น CL7 มาตรฐาน DDR3 1066 ส่วน GPU-Z ก็สามารถแสดงรายละเอียดต่างๆได้ถูกต้องดีครับ แต่หนูพีชก็ยัง คง งง ว่ามันคืออะไร อิอิ กรรม

————————————————–

 


Bundled Software



Vaio Control Center สามารถปรับตั้งค่าทั้งที่วินโดวส์สามารถปรับได้ และค่าพิเศษที่มีเฉพาะใน Vaio เช่น S buttons เป็นต้นครับ รวมไปถึง Thermalstrategy control ที่ตั้งให้ไปอยู่ในปุ่ม S 1 หรือ 2 ได้อีกด้วยครับ โดยโปรแกรมสามารถเรียกได้จากคอนโทรลพาแนลของวินโดวส์ครับ



Status Monitor สามารถเรียกได้จากคอนโทรลพาแนลเช่นกัน



Media Plus สนับสนุนการเล่นมีเดีย และแชร์ไฟล์ผ่านวงแลนในบ้านด้วยครับ อินเตอร์เฟสสวยงาม สามารถเล่นไฟล์มีเดียได้เกือบทุกรูปแบบ(ต่อกับ LCD TV ล่ะงามเลย)



Movie Story สำหรับตัดต่อวีดีโอ ง่ายๆครับ



ยังครับ ยังไม่พอ ยังมี Adobe Premiere ให้ตัดต่อวีดีโอกันอย่างมืออาชีพเลยทีเดียวครับ ครบเครื่องจริงๆ


 


 

————————————————–

บททดสอบ…


สำหรับการทดสอบโน๊ตบุ๊กสไตล์วีมอดเทคของเรานั้นก็ยังคงเป็นไปในแบบเดิมที่ผมได้ทำไปกับ Asus F8 นะครับ แต่จะมีเพิ่มมาอีกพาร์ตหนึ่ง ดังนี้ครับ


1.) Daily Use & Mobility ทำการทดสอบความอึดของแบตเตอร์รี่ด้วยลักษณะการใช้งานอย่างที่โน๊ตบุ๊กควรจะเป็น


2.) Performance ทำการทดสอบประสิทธิภาพการประมวลผลด้วยโปรแกรม Benchmark ยอดนิยมของขาโอฯ ทั้งหลายครับ รวมไปถึง Game Test หนึ่งเกมครับสำหรับวันนี้ (สำหรับในบทความชุดนี้ ก็ยังคงขอกั้ก Benchmark บางตัวไว้ก่อนนะครับ เพราะเดี้ยวจะมีบทความที่ทำการทดสอบซีพียู P9500 อีกบทความหนึ่งให้ท่านผู้อ่านได้ชมกันครับ)


3.) Thermal Control Test ทดสอบ Burn In ซีพียูด้วยโปรแกรม Orthos และจับความร้อนซีพียู ด้วยโรปรแกม Speed Fan (ทำการทดสอบในโหมด Thermal control ที่แตกต่างกันของ Vaio)

————————————————–

 


Let’s roll .. Part 1.


Daily Use & Mobility


 



เราทำการเปิดเครื่องมาด้วยแบตเตอร์รี่ชาร์จเต็ม 100% ถึงกับต้องลมจับครับ เพราะว่าเกจแบตเตอร์รี่ของ Windows Vista นั้นโชว์ว่าสามารถใช้เครื่องไปได้อีก 4 ชั่วโมง กับอีก 54 นาที ! ครับ การทดสอบ มีรายละเอียดดังนี้นะครับ (โปรดอ่านให้ถี่ถ้วน ก่อนที่จะดูกราฟด้วยครับท่านผู้อ่าน อิอิ)


Test Methology


1.1) WIFI internet Serf ชาร์จแบตเตอร์รี่จนเต็ม และนำเครื่องไปใช้งาน WIFI โดยใช้อินเตอร์เน็ท (IE7) สลับกับโปรแกรมจิปปาถะที่ใช้งานในชีวิตประจำวันทั้งหลาย โดยตั้ง Power Plan ไว้ที่ Maximum battery ซึ่งพิจารณาแล้วว่า ไวโอ้ได้ตั้งแพลนนี้มาดูลงตัวที่สุด แบ๊กไลท์ไม่มืดจนทำให้ผมปวดตาระหว่างเล่น MSN กะสาวๆ ทำการเปิดไดร์ฟ DVD(ที่ต้องบอกเพราะเจ้าไวโอ้เนี่ย ปิด ไดร์ฟ DVD ได้ด้วย) และ Storage Drive จำพวก SD/MEMSTICK รวมไปถึงมีการเปิดเพลงฟังเป็นระยะๆ ด้วยครับครับ ตั้ง Thermal Control แบบ Silent (เดี้ยวว่ากันทีหลังเรื่อง Thermal Control) รวมไปถึง เลือกใช้การ์ดจอ ออนบอร์ด Intel Graphic (Stamina Mode)


 


1.2) Continous Media Playback คราวนี้เราทำการทดสอบด้วยการเล่นหนัง DVD จากแผ่นดีวีดี โดยโปรแกรม Win DVD for VAIO ครับ โดยยังคงใช้ Power Plan แบบ VAIO Maximum battery และ Silent Thermal Control เช่นเดียวกับ ข้อแรกครับ และกราฟฟิคออนบอร์ด Intel Graphic (Stamina Mode)


1.3) Continous Gameplay พาร์ตที่โหดที่สุดของการทดสอบแบตเตอร์รี่ ทำการทดสอบ 3Dmark06 Loop ไปเรื่อยๆ จนกว่าเครือ่งจะตัดการทำงาน โดยใช้ Power Plan แบบ VAIO Maximum Battery, Thermal Control แบบ Performance และเลือกใช้กราฟฟิคที่ SPEED mode คือ ใช้กราฟฟิค Nvidia Geforce 9300M GS นั้นเองครับ


ทั้งสามการทดสอบ ทดสอบจนกว่า เครื่องจะตัดเข้าสู่ Hibernate โดยอัตโนมัติครับ



นี่คือโน๊ตบุ๊กที่มีซีพียู Intel P9500 ครับ L2 6mb ! ครับ ที่สามารถประหยัดไฟได้ขนาดนี้ ผมเองคาดเดาว่า เพราะขนาดของแบตที่ใหญ่โตมโหฬาร ของไวโอ้ Z และ Thermal Controlรวมไปถึงการที่มีโหมดสับเปลี่ยนการ์ดจอไปยังตัวที่ประหยัดไฟกว่านั้นเองครับ



ตอกย้ำความประหยัดพลังงานครับ จากรูป หนูพีช กำลังนั่งจิบน้ำชาร้อนที่ผมซื้อให้ และก็ไม่ยอมวางซักที เพราะว่าเจ้า Vaio Z นั้น สามารถเล่นเน็ทได้นานเกินครับ








นอกจากจะนั่งเล่น WIFI ในร้านกาแฟระหว่างรอคุณแม่มารับไปช็อปปิ้งต่อที่เซ็นทรัลเวิร์ลฯแล้ว ยังจะนั่งดูหนัง DVD ที่ผมพกไปสองเรื่องได้อีก โดยไม่เกรงใจคนในร้านครับ เพราะว่าโน๊ตบุ๊กที่ผมหิ้วไปด้วยนั้น โคตระ ประหยัดไฟครับ ดูหนังได้ตั้งสามชั่วโมง เอิ้กๆ (งานนี้ได้ใจนะเนี่ย กรั่กๆๆ)

————————————————–

Part 2. Performance


สำหรับพาร์ตนี้จะเป็นการทดสอบด้วย Benchmark ต่างๆเพื่อวัดความแรงของเครื่องโดยภาพรวมนะครับ โดยในการทดสอบที่ต้องใช้ประสิทธิภาพของการ์ดจอด้วย ผมจะทำการทดสอบเทียบกันให้เห็นเลยนะครับ


 


PCmark05 Nvidia 9300M GSGraphics



PCmark05 Intel GMA Graphics



นี่คือประสิทธิภาพของ Core2 L2 cache 6mb ประกบกับ DDR3 1066mhz ครับ เป็นไงครับ แรงมั้ยครับ … ขอบคุณครับ เหอๆ


 


3Dmark03 Nvidia 9300M GS Graphic



3Dmark03 Intel GMA Graphic



ผลการทดสอบ เป็นที่น่าแปลกใจครับ ว่ากราฟฟิคของอินเทลออนบอร์ด แชร์แรม 64 เมก จะสามารถปั่นคะแนน 3Dmark ออกมาได้มากกว่า Geforce 9300 ที่ทั้งกินไฟมากกว่าและมีแรมในตัวมากถึง 256mb ครับ ทั้งนี้ทั้งนั้น มันมีเหตุผลด้วยประการทั้งปวง ซึ่งเมื่อจบส่วนของการทดสอบ ผมจะอธิบายให้ฟังกันครับ… ตอนนี้ก็ไปชมผลการทดสอบเรื่อยๆก่อนก็แล้วกันครับ

————————————————–

3Dmark05 Nvidia 9300M GS Graphic



3Dmark05 Intel GMA Graphic




สำหรับ 3dmark05 ยังคงเป็นไปในแนวทางเดียวกันครับ คือ Intel ยังคงมีคะแนนนำ

————————————————–

3Dmark06 Nvidia 9300M GS Graphic



3Dmark06 Intel GMA Graphic



และ 3Dmark06 ก็ยังคงเป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ Intel มีคะแนนนำครับ

————————————————–

Company Of heroes @ 800×600 All High Setting


เนื่องจาก การทดสอบที่ความละเอียด 1600*900 นั้น กระตุกจนน่าใจหาย ผมเลยทดลองทำการลดลงมาที่ 800*600 ดูครับ


Nvidia Graphic



Intel Graphic



และ Company Of heroes ที่ nvidia เป็นผู้สนับสนุนเองนั้น อินเทล ก็ยังคงเป็นผู้นำอีก เช่นเคยครับ !!

————————————————–

ที่มาที่ไป ผมจะเฉลยให้ครับ ว่าเขามีเหตุผลอะไรที่ต้องใส่การ์ด ที่ทั้งกินไฟมากกว่า แต่เล่นเกมแล้ว ก็ไม่ได้ทำให้เร็วไปกว่ากราฟฟิคออนบอร์ด GM45 เสียเลย ลองพิจารณาหน้า GPU-Z สองหน้านี้ดูครับ









 


ดูเผินๆเนี่ยนะครับ ก็เหมือน Nvidia จะมีภาษีดีกว่าครับ แต่ด้วย Buswidth เพียงแค่ 64 bit และ Pixel Fillrate โดยทฤษฎีของ 9300 มันน้อยกว่ากราฟฟิค Intel GMA บน GM45 อยู่มากโขครับ แล้วทำไม ทำไมอีกล่ะ … เหตุผลมันก็คือ เพราะว่าเจ้า Vaio Z นั้น หากจะใช้กราฟฟิคออนบอร์ดจากอินเทลในการต่อออกจอขนาดใหญ่ๆ จำพวก LCD TV ผ่าน HDMI แล้ว มันจะต้องใช้งาน V Mem จำนวนมหาศาล ครับ ในขณะที่ GM45 สามารถแชร์แรมจากระบบได้เพียงแค่ 64MB เท่านั้น (และเทคโนโลยี DVMT ดึงแรมอีกบางส่วนมาใช้ในงานเรนเดอร์ 3D) ส่วน 9300GS นั้น มีเมมโมรี่ในตัวเองมากถึง 256mb เลยทีเดียวครับ และด้วยเทคโนโลยีบางอย่างในตัว Geforce 9 series อย่างเช่นการรองรับ DX10 หรือ Purevideo ก็จะส่งผลดี ต่อการถอดรหัสไฟล์หนัง HD จากแผ่น Blueray (ถ้าจะใส่ไดร์ฟเพิ่ม) เองอีกด้วยครับ ยังไม่จบครับ เรื่องของความสัมพันธ์ของ Video Memory กับขนาด Resolution ของหน้าจอที่ผมว่าเนี่ย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บทความของลุงเชนเรา คลิกที่นี่ เลยครับ หุหุ


ดังนั้นแล้ว เราน่าจะสรุปได้ครับ ว่า Vaio Z นั้น คงจะไม่เหมาะที่จะเอาไปเล่นเกมแบบโหดๆอย่างแน่นอนครับ เพราะจากที่ผมพิจารณาประสิทธิภาพส่วนใหญ่ มันแรงก็จริงครับ แต่มันจัดเข้าไปเป็นโน๊ตบุ๊กกลุ่มคนทำงานมากกว่าที่จะเอาไว้เล่นเกมครับ


 

————————————————–

Part 3. Thermal Control Test. 


สำหรับในพาร์ตนี้ สืบเนื่องจากไวโอ้มีคัสตอมฟังขั่นที่สามารถปรับ Thermal Strategy ได้ เราจึงขอลองทำการทดสอบ Thermal Strategy นะครับ


สำหรับ Thermal Strategy ของไวโอ้นั้น เมื่อทำการกดปุ่ม hot key แล้ว จะมีทั้งหมดสามโหมดด้วยกันครับ คือ


1.) Performance พัดลมจะทำงานสุดแรง เมื่อฟูลโหลด และซีพียู จะวิ่งขึ้นไปแตะที่ความเร็ว 2.5ghz ได้ง่ายกว่า(จากที่สังเกตุจากขณะที่นั่งเล่นเน็ทอยู่)


2.) Balanced คล้ายๆ Performance ครับ แต่ซีพียูจะไม่ค่อยไปแตะที่ 2.5ghz บ่อยนัก


3.) Silent ซีพียูจะวิ่งอยู่ที่ ตัวคูณ 6 คือ 1.5ghz อยู่ตลอดครับ และจะไม่ยอมวิ่งขึ้นไปที่ 2.5GHZ แม้จะมีโหลดเต็มทั้งสองคอร์แล้วก็ตาม


เราจะทำการทดสอบในโหมด Silent และ Performance เท่านั้นนะครับ โดยทดสอบด้วย Orthos ดูความร้อนของมัน (ในส่วนของ Balance การทดสอบถ้าออกมาก็จะเป็นไปในแนวทางเดียวกับ Performance จึงขอข้ามครับ)


Silent Mode



หลังจากรัน Orthos เป็นเวลา 5 นาที ไม่พบเลยครับว่าซีพียูจะไปวิ่งที่ 2.5ghz และ Voltage ที่จ่ายให้ซีพียู ก็วิ่งขึ้นๆลงๆ ส่งผลให้กราฟเป็นดังรูปครับ



คราวนี้จะเห็นได้ชัดเจนครับ ว่ากราฟทะยานขึ้นไปถึงเกือบ 80องศา อย่างชัดเจนและง่ายดาย แต่อย่างที่คนเล่นเจ้าOrthosนี่ทุกคนพอจะทราบนะครับ ว่าอุณหภูมิที่เห็นไม่มีทางเกิดขึ้นในการใช้งานจริงแน่นอน ต้องเอาออกอย่างน้อย30องศาครับ ถึงจะเป็นอุณหภูมิที่เกิดขึ้นจริงๆขณะFull Load


สรุปผล (เฉลี่ย)
















Mode IDLE Full load
Silent Mode 42 C 57 C
Performance Mode 42 C 79 C


 

บทสรุป


Sony Vaio Z เครื่องนี้ จัดได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊กผู้ดีขั้นเทพครับ พิจารณาจากเสป็ค เลือกใช้ซีพียูรุ่นท๊อปในอนุกรม Mobile ของอินเทล L2 6mb เต็มเหนี่ยว แถมยังเป็น DDR3 1066mhz อีกต่างหาก งานนี้ไม่เรียกเทพ ผมหาคำนิยามไม่ได้ครับ ติดที่การ์ดจอ ยังคงต้องการที่จะคงไว้ซึ่งความประหยัดพลังงานและความคล่องตัว สไตล์โน๊ตบุ๊ก Portable กลุ่มประหยัดพลังงาน (เดี้ยวนี้ไม่เห็น ซีพียูรุ่น Ultra low voltage แล้วนิ) เช่นกันครับ ซึ่งประสิทธิภาพการบริโภคไฟก็ทำให้ผมซึ้งไปทีเดียวเลยครับ นอกจากนี้ จอที่ไม่ใช่จอแบบ จอกระจกผมจัดให้เป็นข้อดี สำหรับโน๊ตบุ๊กกลุ่มนี้ครับ ที่ดูจุดประสงค์การออกแบบ จะเน้นไปในด้านประโยชน์ใช้สอยแบบเชิงชีวิตนักธุรกิจนอกสถานที่ มากกว่า จะนั่ง Entertain กันอยู่ในออฟฟิศ หรือที่บ้านครับ


ส่วนเรื่องของรูปร่าง งานประกอบ ถือว่าเนี๊ยบ สไตล์โน๊ตบุ๊กราคาแพง บอดี้คาร์บอนไฟเบอร์ น้ำหนักเบามากครับ ถึงขนาด หนูพีช เมื่อยกขึ้นครั้งแรก ยังอุทานกับผมว่า “อุ้ย เบาอ้ะ” เลยทีเดียวครับ จอ ดูบางๆไปหน่อย แต่ตริงๆแล้วแข็งแรงทนทานครับ ส่วนแป้นพิมพ์ อะลูมิเนียม ก็ทนทาน เป็นรอยขีดข่วนยากหายห่วงครับ จะติดในเรื่องของความร้อนที่รู้สึกว่าจะมีลมอุ่นๆออกมามากไปหน่อยในความคิดผมครับ แต่นั้นเป็นเรื่องเล็กครับ อิอิ


ข้อเสียก็คือ Geforce 9300GS ไม่แรงเท่าที่ควรครับ ตรงนี้โซนี่น่าจะเลือกชิปรุ่นอื่นมาใส่ ให้มันแรงกว่า ตัว Intel หน่อยก็ยังดี แต่ก็อย่างที่ผมได้อธิบายไปแล้วครับ ว่ามันก็มีข้อดีหลายอย่างที่จำเป็นต้องมี เพื่อความครบครันในการใช้งานด้าน Home Entertainment ด้วยครับ ส่วนเรื่องขนาดจอเพียง 13 นิ้ว นั้น เล็กไป แต่ถือว่าสมเหตุสมผลครับ เพราะว่าโน๊ตบุ๊กในกลุ่มนี้ยังต้องการความคล่องตัวในการใช้งานนอกสถานที่อีกด้วย



หนูพีช saidพีชชอบค่ะ  เบาดี สวยด้วย ถือไปไหนมาไหนง่ายดี ปุ่มก็กดง่าย  นั่งเล่นเนต ดูเวบก็ลื่น แต่เสียอย่างเดียว คือหน้าจอเล็กไปหน่อย พีซอยากได้หน้าจอซัก19นิ้วแต่น้ำหนักเท่าเดิมจังค่ะ เมื่อไหร่มีบอกนะคะ” อิอิ กรำครับ


 


วันนี้ ก็ขอจบการทดสอบแต่เพียงเท่านี้นะครับ สวัสดีครับ


 


ขอขอบคุณ:


Sony Thai Co., Ltd. โทร. 0-2715-6100, (1800) 231-991



Special Thanks: เด็กหญิงพิชยา แบบจำเป็นในงานนี้ “ขอบคุณมากคร้าบ”


 


วิจาร์ณบทความนี้ คลิกที่นี่

«ก่อนหน้า 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»