Asus Eee PC 901

, / บทความโดย: admin , 08/11/2008 20:18, 1,358 views / view in EnglishEN
«»
Share

สวัสดีครับ วันนี้ผมก็กลับมา(อีกแล้ว) กับบทความ Hardware Review คราวนี้ผมก็มาพร้อมกับ Notebook เช่นเคยครับ แต่เป็น Subnotebook สมัยใหม่ที่เราเรียกมันว่า Netbook นั้นเอง คราวนี้เป็น Netbook มาจากทาง Asustek ครับ ในชื่อที่ทุกคนคุ้ยเคยกันคือ Eee PC ซึ่ง Eee PC นี่ ถือได้ว่าเป็นจ้าวแรกๆที่ได้ริเริ่มทำ Netbook ออกมาขายในตลาดเลยทีเดียวครับ


และในวันนี้ ผมก็ได้รับ Eee PC ในรุ่น 901 ซึ่งเป็นรุ่นพัฒนาต่อยอดจากรุ่น 7XX ซึ่งเป็นรุ่นที่สามารถใส่ซิมได้ และมีฮาร์ดดิสก์แบบ Solid 20GB ครับ


ดีไซน์โดยรวมของ Eee901 เป็นไปในแนวทางของรุ่นอื่นๆของตระกูล Eee ครับ คือเรียบง่าย จริงๆแล้วคำว่า Asus สีน้ำเงินๆนั้น ในตัวขายจริงผมเข้าใจว่าจะไม่มีสติกเกอร์แปะมาให้แบบนี้นะครับ จากที่เห็นในรุ่นก่อนๆมา จะมีแต่คำว่า Eee เล็กๆมุมบนเครื่องอย่างเดียว คงจะเพราะ เครื่องนี้เป็นเครื่องทดสอบของทาง Asustek เขาน่ะครับ แต่จะสังเกตุว่าในรุ่น 901 นี้ จะมีขนาดของบริเวณก้นที่ใหญ่เป็นพิเศษ เนื่องจากแบตเตอร์รี่ขนาดมหึมาถึง 6600มิลลิแอมป์นั้นเองครับ




























CPU Intel Atom N270 HT 1.6Ghz
Chipset Intel 945
Graphics Onboard Intel 945
Ram DDR2 1024mb
HDD SSD Asus-Phison 4 + 16GB
OPD N/A
Display 8.9″ 1024×600
Wireless IEEE 802.11B/G & SIM card for GPRS


ผมเข้าใจว่า 901 ที่ผมได้รับมา เป็น Linux Version ครับ เพราะมีฮาร์ดดิสก์มาให้ 20GB เพราะที่ผมสืบเสาะข้อมูลมาพบว่าในรุ่น Windows XP นี่จะให้ฮาร์ดดิสก์มาเพียง 16 GB เท่านั้นครับ








แง้มฝาออกมาดู ก็จะพบกับคีย์บอร์ดสีขาว สวยงาม เลย์เอท์คีย์บอร์ด ก็อัดกันแน่นสไตล์ Netbook ครับ โดยเฉพาะในบริเวณปุ่ม ,./ ก็จะเห็นว่าอัดกันจนแน่นเป็นพิเศษ จอขนาด 8.9 นิ้วที่ดูไม่ใหญ่ แต่สามารถใช้งานทั่วไปได้ แต่ถ้าใช้นานๆ ก็คงจะมีอารมณ์อึดอัดอยู่บ้างครับ








พอร์ตเชื่อมต่อด้านข้าง ก็ดูเหมือน Netbook ธรรมดาทั่วๆไปครับ มี Lan มาให้ มี USB มาให้ Audio In/out และ VGA port มาให้ตามมาตรฐานครับ








ฝาพับ ผมคิดว่าทำได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียวครับ จากที่ลองๆดู ถึงแม้จะเป็นเครื่องที่มีขนาดเล็ก แต่ก็ไม่รู้สึกว่าป๋องแป๋ง(จนเกินไป) แต่ความรู้สึกว่ามันป๋องแป๋งก็ต้องมีบ้างครับ เพราะนี่เป็นเครือ่งราคาถูก ขนาดเล็ก แต่ไม่ได้เลวร้ายจนแบบว่า จับปุ๊บเหมือนจะหักปั้บ ไม่มีความรู้สึกนั้นแน่นอนครับ อิอิ ส่วนทัชแพด ไม่รูว่าเพราะผมใช้ไม่เป็นหรือเปล่า ผมพบว่า มัน Scroll Mouse ไม่ได้ครับ หุหุ (ปกติโน๊ตบุ๊ก ทัชแพดบริเวณข้างขวาจะใช้ Scroll เม้าส์แบบปุ่มกลางบนเมาส์แบบปกติได้)








รูปซ้าย เทียบขนาดกับเลนซ์ผมครับ หุหุ เล็กสะใจดีจริงๆครับ … ส่วนไส้ใน เปิดออกมา พบว่ามันโล่งโจ้งดีครับ มีการ์ด Wireless เสียบอยู่ และ Harddisk แบบ Solid (ด้านซ้ายมือ) จาก Phison และ เมมโมรีแบบ DDR2 1024mb ครับ (อ้อ มีมาให้สลอตเดียวนะครับ หุหุ)








แบตเตอร์รี่ขนาด 6600 มิลลิแอมป์ เคลมมาว่า ใช้งานได้นานสุด 5 ชั่วโมง และถ้าถอดแบตออกมา ก็จะเห็นช่องใน Simcard เป็นลักษณะเฉพาะของรุ่น 901 ครับ


————————————————–

Ontest.


ทุกๆการทดสอบ ผมจะใช้โหมด Super Performance mode ที่ตัวเครื่องจะทำการ Overclock ไปที่บัส 140 โดยอัตโนมัตินะครับ ส่งผลให้ความเร็วซีพียูเวลามี Load เต็ม 100% จะไปทำงานที่ 1.68Ghz แทนที่จะเป็น 1.6 ตามเสป็ค


Raw Performance


ทดสอบ Benchmark ยอดนิยม Super PI, WinRAR benchmark, Fritz Chess Benchmark



Super PI1mb กินเวลาไปนานถึง 2 นาทีกับอีก 19 วิ ใช้เวลาประมาณนี้ เหมือนเป็นเรื่องปกติของคอมพิวเตอร์ยุค Pentium 4 รุ่นแรกๆ พวก 1.6 1.8 ghz เลยครับ



คิดว่า 32mb คงจะไม่ต้องบรรยายต่อครับ หุหุ



ไม่ขี้เหร่หรอกนะครับ อิอิ


 


 


 

————————————————–

Synthetic Benchmark.


Sisoftware Sandra 2009


 






ความแรงไสตล์ Pentium 4 รุ่นแรก เช่นเคยครับ หุหุ


HDtach



ความสุดยอดของ SSD นั้น อยู่ที่ Access Time ครับ เพราะเนื่องจาก ความที่มันเป็นเหมือนชิป Rom ชิปหนึ่ง ดังนั้น มันจะไม่เสียเวลา ในการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม ข้ามไปข้ามมานั้นเอง (หวังว่าคงจะนึกภาพออกนะครับ) ในขณะที่ HDD แบบจานหมุนที่พวกเราใช้กันอยู่ Access Time จะมีมากกว่าเพราะมันต้องใช้กลไกในการหมุนจานและหัวอ่านไปที่ Sector ที่ต้องการเพื่อทำการเข้าถึงข้อมูล แต่เวลาใช้งานจริงๆ เวลาโอนไฟล์ใหญ่ๆนี่ก็รู้สึกนะครับ ว่ามันช้าๆอยู่บ้าง เพราะ Burst Rate ที่น้อยกว่า HDD แบบจานหมุนอยู่นิดหน่อย แต่ไม่มากจนรู้สึกเดือดร้อนครับ นอกจากนี้ SSD ยังมีความปลอดภัยในแง่ของความทนทาน มากกว่า HDD แบบจานหมุนปกติด้วยครับ เพราะว่าเป็นระบบที่ปราศจากกลไก จึงทำให้กระทบกระเทือนได้มากกว่าฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุน และประหยัดไฟกว่าครับ

————————————————–

Everest Ultimate Edition


โปรแกรม Synthetic Benchmark ตัวนี้ สามารถบอกได้ละเอียด และดูง่ายกว่า Sisoft นิดหน่อยครับ แต่ไม่สามารถทดสอบหัวข้อจำพวก HDD หรือดู ความสามารถในการคำณวนของซีพียูเป็น mFLOPS ได้


 













ดูจากระดับคะแนน ในโปรแกรมนี้ ก็เป็นไปตามคาดครับ อิอิ สไตล์ Pentium 4 รุ่นเก่าๆ อีกแล้ววว

————————————————–

 


PCmark 05 วัดประสิทธิภาพจำพวกการเข้ารหัสวีดีโอ บีบอัดไฟล์ หรือการใช้งานในชีวิตประจำวัน



เหมือนเป็นเรื่องปกติของ Netbook ที่ใช้ Atom ครับ จะทดสอบ PCmark ได้ไม่ครบทุกหน้า จะไปติดตรง Graphics Test ครับ จึงทำให้คะแนนออกมาเท่าที่เห็นในภาพ


3Dmark Series


วัดประสิทธิภาพในการเล่นเกมกราฟฟิคโหดๆ…


3Dmark03


 



3Dmark ก็ไม่สามารถทดสอบ Feature Test ได้เช่นกันครับ (เหมือนการ์ดจอไม่สนับสนุน) แต่ว่าอย่างไรก็ดี คะแนนยังคงออกมาครับ


3Dmark05



 


3Dmark06



เห็นกันจะจะ ในตัว 06 ครับ ที่คะแนน HDR/SM3.0 ไม่ออก เพราะว่าตัวกราฟฟิค ในชิป 945GSE นั้นไม่รองรับนั้นเองครับ

ก็จบกันไปอีกหนึ่งครั้งครับ สำหรับ Netbook เครื่องที่สองที่ Vmodtech เราได้นำเสนอ หวังว่าคงจะทำให้ท่านที่กำลังจะตัดสินใจซื้อ Netbook ได้มีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจมากขึ้นนะครับ


สำหรับ Eee 901 กับการสนน ราคาที่ 13900.- ไม่แถมวินโดวส์ พร้อมฮาร์ดดิสก์ Solid 20GB ใส่ซิมการ์ดได้. ราคาในระดับนี้ บางคนอาจมองว่า เพิ่มเงินอีกนิด อาจจะไปซื้อยี่ห้ออื่นที่ใช้ HDD แบบจานหมุนขนาดที่ใหญ่กว่านี้ได้ แต่ถ้าหากมองว่า ซื้อเครื่องมาใช้งานแบบที่ Netbook ควรจะเป็น คือใช้เล่นเน็ท ทำงาน นอกสถานที่ และใช้ประโยชน์ของ HDD แบบ Solid คือ ไม่กลัวการกระแทก…แบตเตอร์รี่ 6600มิลลิแอม ใช้งานได้นานกว่าเกือบ 5 ชั่วโมง (จริงๆแล้ว วินโดวส์โชว์6ชั่วโมงด้วยซ้ำครับ) แน่นอนครับ ผมกล้าพูดได้ว่า Eee 901 เป็น Netbook อีกเครื่อง ที่น่าสนใจเลยทีเดียวครับ


สำหรับวันนี้ ก็ขอลาไปก่อน สวัสดีครับ


 


ขอขอบคุณ Asustek Thailand


 


ร่วมวิจารณ์บทความนี้ คลิกที่นี่

«ก่อนหน้า 1 2 3 4 5 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»