Review : Dell XPS L502X

, / บทความโดย: Northbridge , 09/04/2011 00:00, 4,951 views / view in EnglishEN
«»
Share

1302277560DSC 0297s Review : Dell XPS L502X

DELL XPS L502X

สวัสดีกันอีกครั้งในคอลัมน์มุมโนีตบุ๊กของเรานะครับ สำหรับวันนี้ทำให้ผมรู้สึกกลับมาคิดถึงโน๊ตบุ๊กแบรนด์คุณภาพ แบรนด์หนึ่ง แบรนด์นี้นี่แหละครับ กับ DELL ซึ่งในวันนี้ทาง DELL ได้ให้เครื่องรุ่น XPS L502x มาให้ทางเราทำการทดสอบ ซึ่งก็เป็นเวลาระยะห่างนานพอสมควรครับที่เราไม่ได้เห็นความคืบหน้าจากโน๊ตบุ๊กจากค่ายใหญ่ค่ายนี้กันเลย ซึ่งจริงๆแล้วตามปกติทั่วไป DELL นั้นจะเน้นขายแต่กลุ่มลูกค้าองค์กรเป็นหลัก คือซื้อแบบ By order โทรสั่งๆ แต่ในบางรุ่น ณ ปัจจุบันนี้ โมเดลที่เป็น common model หรือตลาดๆ จริงๆ ก็ได้มีมาวางขายกันแบบขายปลีกหน้าร้านกันแล้ว แล้วก็มีเยอะเสียด้วยครับ โดย XPS นั้นก็เรียกได้ว่าน่าจะเป็นโมเดลสำหรับคอนซูเมอร์ตัวไปอีกตัวนึง ที่เน้นในเรื่องของการใช้งาน เล่นเกม หรือตอบสนองความต้องการทางด้านความบันเทิง มาชมกันเลยครับ

Processor Intel Core i7-2630QM
Chipset Intel HM67
Memory 8GB DDR3-1333MHZ
Graphics Adapter NVIDIA GeForce GT540M
Display 15.6″ (1920×1080)
Harddisk 750gb 7200rpm SATA-II
Optical Drive Blu-Ray (เขียนดีวีดีได้)
Network IEEE 802.11N
Connection Port cardreader, USB3.0 x2, USBcombo(eSATA), VGA, RJ45, HDMI
Battery 90Wh
Weight 3.00Kg
OS Bundled Windows 7 Home premium

..ผมรู้จัก XPS ครั้งแรกตอนนั้นเป็นยุค Pentium M จับคู่กับการ์ดจอ 6800GT ตอนนั้นเป็นอะไรที่แรงสุดกู่แล้วครับ ใครหลายคนอาจจะไม่รู้ว่า Pentium M นี่แหละ มันสุดยอดแห่งความแรงยิ่งกว่า Pentium 4 อีกครับ ! ย้อนกลับไปไกล ตอนนี้เรามาดูพัฒนาการของตระกูล XPS ครับ ณ วันนี้ XPS มีโมเดลให้เลือกมากมายหลากหลายขนาด ตามความต้องการ และไม่จำเป็นจะต้องเป็นเครื่องที่มีความสุดกู่ในทุกด้านเสมอไป แต่”ลงตัว” ในสไตล์ของ DELL ลงตัวแบบคุณภาพสไตล์ DELL สเป็คในเครื่องนี้นั้นจริงๆแล้วก็มีทางเลือกของซีพียู Core i7 แบบ Quadcore ที่หลากหลาย รวมไปถึงกราฟฟิคที่มีให้เลือกตั้งแต่ GeForce GT525 หรือจะเป็น 540 ซึ่งเป็นออฟชั่นที่อจจะเปลี่ยนแปรไปได้ตามที่วางขาย หรือตามออร์เดอร์ ตามสไตล์ DELL อยู่แล้วครับ ตัวกราฟฟิคนั้นรองรับเทคโนโลยี 3D Vision ที่ผมเคยได้สาธิตไปแล้วในบทความรีวิวก่อนนี้(โซนี่) พร้อมกับตัวเครื่องนี้ก็รองรับการใช้งานกับแว่นสามมิติแบบไร้สายด้วยเช่นกัน ซึ่งในคราวนี้ DELL ไม่ได้ติดมาให้ผม

1 Review : Dell XPS L502X

บอดี้นั้นดูเผินๆแล้วคนที่ไม่ได้บ้าไอทีเข้าเส้น อาจจะมองว่ามันเรียบๆธรรมดา ไม่มีพิษสงอะไรมากนัก แต่ถ้าใครที่มองแล้วรู้ว่ามันคือ XPS ก็น่าจะเก็ตเลยล่ะครับ ว่าพิษสงภายในนั้นมันรุนแรงรวดเร็วมากแค่ไหน ซึ่งจริงๆแล้วถ้าให้พูดกันตรงๆก็คือดีไซน์ยังไม่ค่อยโดนเท่าไหร่ วัสดุที่ใช้นั้นค่อนข้างดี คล้ายพลาสติก แต่จริงๆแล้วมันคืออะลูมินัมที่ถูกเก็บงานตอนสุดท้ายมาแบบ brushed ทำให้ผิวมันสากๆ ซึ่งจะทำให้ดูแลรักษาง่าย

2 Review : Dell XPS L502X

รอยต่อ และการประกอบนั้นทำออกมาได้เรียบร้อยมาก จับแล้วให้ความรู้สึกมั่นใจพอสมควร แต่น้ำหนักเครื่องก็ค่อนข้างมาก และดีไซน์นั้นก็ยังดูแล้วเหมือนไม่ค่อยจบสักเท่าไหร่ เช่นตรงที่แบตเตอร์รี่นั้นจะปูดออกมาตรงด้านท้ายเครื่อง ทำให้ตัวเครื่องมันออกจะเอนไปหาทางผู้ใช้เล็กน้อย ซึ่งถึงแม้จะเป็นผลดีในแง่สรีระศาสตร์ เวลาใช้งาน แต่ว่าเวลาพกพา ก็ค่อนข้างเกะกะพอสมควรเหมือนกันครับ

3 Review : Dell XPS L502X

กางฝาออกมา ภายในวัสดุนั้นผมคิดว่าดูหรูหรากว่าภายนอกมากๆ ดูแล้วเป็นอะลูมินัมจริงๆ จอภาพขนาด 15.6 นิ้วความละเอียด 1920×1080 ทำให้ตัวเครื่องดูมีพื้นที่เหลือเฟือ ไม่ดูอึดอัดมากเท่าไหร่

4 Review : Dell XPS L502X

..คีย์บอร์ดไม่มี numpad มาให้ ซึ่งก็เป็นข้อดีทำให้การวางปุ่มนั้นออกแนวผ่อนคลายๆสบายๆ ไม่อัดกันมาก ปุ่มเป็นปุ่มแบบชิคเคล็ต ให้น้ำหนักการกดที่เบาสบายๆ แต่ก็มั่นคงตามสไตล์ DELL ถัดขึ้นไปเป็น console ควบคุมต่างๆ ก็จะมีปุ่ม quick launch มาให้ปุ่มนึง สามารถตั้งค่าได้เอง และปุ่มเข้าหน้า setting ต่างๆที่ DELL ได้จัดการดัดแปลงอะไรเล็กๆน้อยๆในวินโดวส์ 7 ไว้เรียบร้อยแล้ว

7 Review : Dell XPS L502X

สิ่งที่ผมไม่เคยรู้สึกผิดหวังในเครื่อง DELL ราคากลางๆไปจนถึงราคาแพง ก็คือทัชแพดครับ แม่นยำ ว่องไวดีมากๆ ถึงแม้ตัวเครื่องจะมีขนาดใหญ่ ขนาดหน้าจอที่ละเอียดมากพอสมควร แต่ทัชแพดเหมือนกับว่าถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้สะดวก ไม่ต้องถึงกับสาวกันเป็นรอบสองรอบเพื่อที่จะเลื่อนเคอร์เซอร์จากกลางจอไปยัง start menu

6 Review : Dell XPS L502X

ลำโพงจาก JBL แบบ 2.1CH ให้น้ำหนักและมิติเสียงที่ผมค่อนข้างชอบเลยครับในเครื่องนี้ ถือว่าใช้ได้

5 Review : Dell XPS L502X

…สติกเกอร์แสดงสรรพคุณ สมศักดิ์ศรีมากๆ

————————————————–

8 Review : Dell XPS L502X

ด้านซ้ายมือ โลโก้ลายน้ำของเวบเราดันบังไปเสียแล้ว ก็คือพอร์ต USB 3.0 เพียงพอร์ตเดียวครับ

9 Review : Dell XPS L502X

ขวามือจะมีไดร์ฟ BluRay ที่สามารถเขียนแผ่นดีวีดีธรรมดาได้ (Combo) ช่องสำหรับเอาดิโอ ออกสอง เข้าหนึ่ง ขาออกจะมีช่องพิเศษสำหรับ sub woofer มาให้ด้วย ถัดไปอีกเป็นพอร์ต eSATA ที่รวมเอา USB2.0 เข้าไปใช้งานได้ด้วยกันในช่องเดียวกัน

10 Review : Dell XPS L502X

ซึ่งพอร์ตเชื่อมต่อที่ผมคิดว่ามันเป็นพอร์ตที่ไม่ต้องถอดเสียบกันบ่อยๆอย่าง Lan และ HDMI1.4 ที่รองรับการต่อ output ของสัญญาณภาพแบบ Blu-Ray 3D ระดับ 1080P ก็ถูกเอามาวางไว้ด้านหลังนี้ครับ

11 Review : Dell XPS L502X

พอร์ตอีกด้านหนึ่ง (ด้านหลังเช่นกัน) ก็จะมี USB3.0 มาให้อีกช่องนึงครับ ซึ่งผมคิดว่า USB มันมีมาให้ น้อยไปนิดหนึ่งนะ สำหรับเครื่องตัวนี้

12 Review : Dell XPS L502X

ด้านใต้เครื่อง เป็นฝาฝาเดียวสามารถถอดออกมาสลับเปลี่ยน เมมโมรี ฮาร์ดไดร์ฟ และเน็ทเวิร์คการ์ดได้

13 Review : Dell XPS L502X

แบตเตอร์รี่ขนาดมหึมา ถึง 90Wh

14 Review : Dell XPS L502X

น้ำหนัก 3.028 กิโลกรัม รวมแบต

15 Review : Dell XPS L502X

3.65 กิโลกรัม รวมสายชาร์จ ก็ถือได้ว่าไม่หนักไม่เบาไปกว่าแรงสำหรับเครื่องไซส์นี้

————————————————–

Performance

- รายละเอียดเครื่อง

cpuz Review : Dell XPS L502X

ขยับมาเป็น Core i7 Quadcore พร้อมทั้งกราฟฟิค NVIDIA GT540 ที่จริงๆแล้ว รองรับเทคโนโลยี NVIDIA Optimus ที่สามารถสลับใช้งานระหว่างกราฟฟิคออนบอร์ดกับตัว GeForce ได้ แต่ว่าปัญหาในเครื่องที่ผมได้รับมาคือไดร์เวอร์มันไม่ค่อยจะสมบูรณ์เท่าไหร่ โปรแกรมทดสอบของผมทั้งหมด ไม่สามารถเรียกพลังของ GeForce GT540 ออกมาใช้งานได้เลย แต่อย่างไรก็ดี เราลองมาชมประสิทธิภาพคร่าวๆของระบบ i7 Quadcore + HDD 7200RPM ในโน๊ตบุ๊กเรียกน้ำย่อยกันก่อนก็แล้วกันนะครับ

WinRAR

rar Review : Dell XPS L502X


- Cinebench R10

cb10 Review : Dell XPS L502X

ถึงแม้ว่าตัวกราฟฟิคGeForce จะทำงานไม่ได้ในการทดสอบ แต่คะแนน OpenGL ก็เรียกได้ว่า ไม่ขี้เหร่เลยครับ เกือบแตะ 5000 แต้มไปแล้ว เรียกได้ว่าเท่าๆกับกราฟฟิคแบบ discrete graphics ระดับเริ่มต้น ในยุคก่อนๆกันเลยทีเดียว

Ciebench R11.5

cb11 Review : Dell XPS L502X

Batterry Eater (30-5%) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน

การทดสอบ ล็อคความเร็วซีพียูในโหมดประหยัดพลังงานให้ได้ความเร็วต่ำที่สุด และ ทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry Eater ในโหมด Classic ซึ่งซีพียูและกราฟฟิคจะทำงานเต็ม 100% เวลาที่ได้ สามารถบ่งบอกได้ถึงเวลาที่สามารถนำเครื่องออกไปใช้งานในสถานการณ์จริงได้ ค่อนข้างใกล้เคียง

Discharge Review : Dell XPS L502X

http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/dellxpsl502/b/4_4_2011_2/Report.html

จากผลการทดสอบ สามสิบเปอร์เซ็นแบตหมด วัดได้เวลา 44 นาที ผมคาดการคร่าวๆจากอัตตราการเปลี่ยนแปลง ก็น่าจะใช้งานได้ราวๆสองชัวโมงดีนั้นแหละครับ ซึ่งก็ถือว่าทำได้ไม่เลวเลยสำหรับโน๊ตบุ๊กจอขนาด 15 นิ้วผนวกกับซีพียู i7 แบบนี้

————————————————–

AIDA64 Benchmark

ev01 Review : Dell XPS L502X

ev02 Review : Dell XPS L502X

ev03 Review : Dell XPS L502X

————————————————–

PCmark 05

pcm05 Review : Dell XPS L502X

คะแนนระดับนี้ สามารถใช้ทำงาน Content creation รวมไปถึงใช้งานทั่วๆไปได้สบายหายห่วง เหมือนๆกับเดสก์ทอพพีซียุคใหม่ได้แน่นอน

3Dmark06

06 Review : Dell XPS L502X

การทดสอบ 3Dmark ก็ยังทำคะแนนออกมาได้อย่างไม่น่าเชื่อว่านี่เป็น Intel HD Graphics เรียกได้ว่า ณ ปัจจุบันนี้ กราฟฟิคแบบอินติเกรตของอินเทลนั้น พัฒนาไปไกลพอสมควรแล้วเหมือนกันครับ

.

.

DELL XPS L502X นั้นก็น่าจะเรียกได้ว่า เป็นโน๊ตบุ๊กเพื่องานบันเทิงในระดับกลางๆค่อนไปทางสูง ที่อัดเอาเทคโนโลยีล่าสุดมาเพียบพร้อม ตั้งแต่ USB 3.0 ไดร์ฟแบบ Blu Ray ซีพียู Quadcore ล่าสุด รวมไปถึงเทคโนโลยี 3D Vision พร้อมตัวปล่อยสัญญาณสำหรับแว่นตาสามมิติในตัว

เนื้องาน การประกอบ ความเรียบร้อยของตัวเครื่อง ผมว่าน่าจะหายห่วงได้ตามสไตล์ DELL อยู่แล้ว ซึ่งมันก็เป็นจริงในเครื่องนี้ครับ ถึงแม้ดีไซน์อาจจะดูเฉยๆธรรมดาๆไม่ค่อยน่าสนใจ แต่ตัวเครื่องนั้นก็ดูแข็งแรงทนทาน วัสดุที่ใช้นั้นเรียกได้ว่าไม่มีความรู้สึกราคาถูกแน่นอน

ใครที่กำลังมองหาโน๊ตบุ๊กไว้ใช้งานในบ้าน ต่อออกจอ 3D TV สบายๆ เสียงรบกวนต่ำๆ หรือจะเอาไว้ใช้งานเล่นเกมสามมิติเบาๆนอกบ้านกับเพื่อนๆ lanparty กันสนุกๆ ก็ยังได้ครับ สำหรับวันนี้ก็คงต้องลาไปก่อน สวัสดี


ขอขอบคุณ DELL

fgsdfgsdD

«ก่อนหน้า 1 2 3 4 5 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»