Review : Lenovo Ideapad V460

, / บทความโดย: Northbridge , 14/11/2010 00:01, 5,046 views / view in EnglishEN
«»
Share

1289661367DSC 6860 Review : Lenovo Ideapad V460

Lenovo Ideapad V460

สวัสดี กันอีกครั้งหนึ่ง วันนี้ก็ถือได้ว่าเป็นการนำเสนอ Review ของ Lenovo อีกรุ่นหนึ่งจากตระกูล Ideapad ซึ่งสำหรับวันนี้ ก็จะเป็นในรุ่น V460 ที่ยังคงเป็นโนตบุกขนาดจอ 14 นิ้ว อเนกประสงค์ที่เกิดมาเพื่อผู้ใช้กลุ่ม Small Business ระดับ Entry level และผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการคอมพิวเตอร์เพื่อตอบสนองงานพื้นฐานอีกเช่นเคยครับ โดยในรุ่น V460 นี้ จะต่างจาก B460 ที่ผมได้รีวิวไปเมื่อวานก็ตรงประการแรก V460 นั้นจะเรียกได้ว่าถูกวางไว้บนไลน์อัพที่สูงกว่า B460 คือมีคุณสมบัติ และฟีเจอร์สำคัญๆ มากกว่า B460 ทั้งเรื่องของระบบความปลอดภัย ฮาร์ดดิสก์กันกระแทก (APS) รวมไปถึงมี CPU และกราฟฟิคที่ประสิทธิภาพสูงกว่า B460 ด้วยนั้นเองครับ

Processor Intel Core i5 520M
Chipset Intel HM55
Memory 4GB DDR3-1066MHz
Graphics Adapter NVIDIA Geforce G310M + Intel GMA (Switchable)
Display 14″ 1366*768
Harddisk 500gb 7200rpm SATA-II
Optical Drive DVD-RW
Network Broadcom IEEE802.11 BGN
Connection Port cardreader SD/MMC/MS, USBx3, VGA, HDMI, RJ45, Express-card
Battery 48Wh
Weight 2.19
Bundled OS Windows 7 home premium

evin Review : Lenovo Ideapad V460

ดูจากสเป็คแล้ว ก็ถือได้ว่าเป็นโนตบุกขนาดจอ 14 นิ้วที่ตอบสนองการใช้งานพื้นฐาน จนไปถึงการใช้งานในระดับ Content Creation หรืองานที่ต้องการทรัพยากรณ์ระบบมากๆหน่อย ก็ใช้งานได้สบายๆครับด้วยซีพียู Core i5 และกราฟฟิคการ์ด Geforce G310 แต่ที่สำคัญไปกว่านั้น สำหรับโนตบุกระดับเริ่มต้นแบบนี้ ก็ยังมี Windows แท้ ติดตั้งมาให้อีกด้วย ทั้งหมดนี้ก็จะเป็นจุดเด่น ที่ผมหยิบยกมาพูดกัน ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ก็ลองมาชมกันต่อในบทความเลยดีกว่าครับ

1 Review : Lenovo Ideapad V460

บอดี้ก็ยังคงเป็นเส้นสายเรียบๆง่ายๆ แบบเดียวกับ B460 ใน V460 นั้นจะเป็นบอดี้ที่ทำมาจากอะลูมิเนียมปัดเงาเล็กน้อย ดูเรียบหรูดีครับ

2 Review : Lenovo Ideapad V460

ความบางก็อยู่ในระดับหนึ่ง แต่ความแน่นหนา เรียกได้ว่าไม่เป็นรองใครแน่นอน

3 Review : Lenovo Ideapad V460

เปิดฝาออกมา ก็ยังคงเป็นสีดำๆเช่นเคย กับเส้นสาย และเหลี่ยมสันที่คุ้นเคย

4 Review : Lenovo Ideapad V460

คีย์บอร์ดและทัชแพดนั้นก็เป็นไปในแนวทางของโนตบุกกลุ่มราคาประหยัดของทาง lenovo ที่เป็นแบบนี้มาตั้งแต่สมัย Y450 จนมาถึง B460 และ V460 ในบทความนี้ครับ โดยที่ตัวคีย์บอร์ดนั้นจะให้ความรู้สึกปุ่มที่ตอบสนองได้ค่อนข้างไว และน้ำหนักเบา และมีความแข็งแรงในระดับหนึ่ง

5 Review : Lenovo Ideapad V460

Touchpad นั้นถ้าผมจะบอกว่า อยากจะยกประโยคมาจากรุ่น B460 เลย ก็คงจะไม่ผิดใช่มั้ยครับ เพราะมันให้ความรู้สึกที่แทบจะเหือนกันทุกประการ ต่างกันก็ตรงที่ใน V460 นั้นปุ่มจะเป็นปุ่มสีเงินๆดังภาพนัั้นเอง กล่าวคือ ตัวปุ่มนั้นจะมีลักษณะที่หยุ่นๆมือเล็กน้อย และความว่องไวของทัชแพด รวมไปถึงความแม่นยำ ก็จะอยู่ในระดับกลางๆ คนที่ไม่เคยใช้ทัชแพดมาก่อน ก็จะต้องปรับตัวนิดหนึ่งครับ

6 Review : Lenovo Ideapad V460

คงไม่ต้องอธิบายอีกครับ มันคือที่แสกนลายนิ้วมือ (Finger print)

————————————————–

7 Review : Lenovo Ideapad V460

พอร์ตเชื่อมต่อด้านซ้ายมือก็จะมีตั้งแต่ Analog VGA out ไปจนถึง HDMI , LAN(RJ45), USB 2.0 อีกสองพอร์ต และแจ๊กสำหรับหูฟังและไมโครโฟน

8 Review : Lenovo Ideapad V460

ทางด้านขวามือ ก็จะมี USB มาให้อีกหนึ่งพอร์ต และช่องสำหรับ Express Card

9 Review : Lenovo Ideapad V460

ด้านหน้าเครื่องจะมีสวิชเปิดปิดระบบไวเรส และ Cardreader SD/MMC

10 Review : Lenovo Ideapad V460

ด้านใต้เครื่อง มีลักษณะฝาปิดที่สามารถเปิดออกมาได้แผ่นเดียว

11 Review : Lenovo Ideapad V460

แบตเตอร์รี่ขนาด 48Wh

12 Review : Lenovo Ideapad V460

เมื่อเปิดฝาออกมา ก็จะสามารถทำการเปลี่ยน HDD การ์ดไวเรส รวมไปถึงเมมโมรีได้ด้วย นอกจากนี้ในส่วนของฮาร์ดดิสก์นั้น ตัวเครื่องมีการติดตั้ง G sensor เมื่อเซ็นเซอร์ตรวจพบว่าตัวเครื่องอยู่ในสภาวะ Free Falling หัวอ่านฮาร์ดดิสก์ ก็จะถูกพับเก็บไปอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย ภายในเวลา 500ms ที่เหมือนกับฟีเจอร์ที่มีอยู่ใน Thinkpad เป๊ะๆเลยครับ !

14 Review : Lenovo Ideapad V460

น้ำหนักเครื่องเปล่ารวมแบต 2.19 กิโลกรัม

13 Review : Lenovo Ideapad V460

2.53 กิโลกรัม รวม AC Adaptor ก็ถือได้ว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจสำหรับเครื่องขนาด 14 นิ้ว เสป็คปานกลางๆแบบนี้

————————————————–

15 Review : Lenovo Ideapad V460

Special Features & Software

ในขณะที่โนตบุกเพื่องานธุรกิจเต็มตัวอย่าง Thinkpad จาก Lenovo นั้น ก็จะมีชุดซอฟท์แวร์ Thinkvantage ใน Ideapad V460 เครื่องนี้นั้น ก็ไม่น้อยหน้าครับ ด้วยความที่เป็นโนตบุกเพื่องานธุรกิจจริงๆ ก็ยังคงมีซอฟท์แวร์และฟีเจอร์ที่จำเป็นและมีประโยชน์กับผู้ใช้มากมาย ติดมาให้ได้ใช้งานกัน เราลองมาดูกันเลยดีกว่า.

battery full 300x270 Review : Lenovo Ideapad V460

ส่วนนี้จะเป็น Energy Management ที่สามารถเลือก Power scheme หรือจะสั่งให้แบตเตอร์รี่ตัดการชาร์จที่ความจุ 85% เพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอร์รี่ได้ด้วยเช่นกันครับ ซึ่งฟีเจอร์ที่ว่ามาทั้งหมดนั้น ก็จะคล้ายๆกับที่มีอยู่ใน Think Vantage ของ Thinkpad เลยทีเดียว

lenovo security suite 720x500 Review : Lenovo Ideapad V460

ทางด้านของความปลอดภัยนั้น ก็มี Lenovo Security Suite สามารถสั่งรันได้จาก softkey บริเวณใกล้ๆลำโพง ซึ่งเป็นซอฟท์แวร์ที่สามารถจัดการในเรื่องของการแบกอัพข้อมูล ระบบสแกนลายนิ้วมือ และระบบป้องกันการนำเอาแฟลชไดร์ฟไม่พึงประสงค์มาเสียบกับพอร์ต USB ของเราได้อีกด้วย

nvidia Review : Lenovo Ideapad V460

ใน Lenovo V460 นั้นจะมีกราฟฟิคชิปให้เลือกใช้ทั้งหมดสองตัวด้วยกัน คือ Intel GMA HD ที่ฝังอยู่ในซีพียู และ Nvidia Geforce G310 ที่เป็นชิปแยก โดยสามารถสับเปลี่ยนได้่จากไอคอนตรง System tray ดังภาพด้านบน โดย Save Power จะหมายถึงกราฟฟิคออนชิปของ Intel และ Increased Performance จะหมายถึงกราฟฟิคแยกของ Nvidia ครับ

————————————————–

Performance

- รายละเอียดจาก CPUZ

cpuz Review : Lenovo Ideapad V460

...สำหรับ ตัวซีพียูนั้นก็เป็นซีพียูในรุ่น Core i5 520 ที่น่าจะหมดห่วงได้เรื่องของประสิทธิภาพ จากที่เคยทดสอบมาถือได้ว่า อยู่ในระดับดี จุดเด่นของเครื่อง V460 ตัวนี้ก็คือกราฟฟิค Nvidia Geforce 310M ที่สามารถสลับใช้งานกับ Intel GMA HD บนตัวซีพียู Core i5 ได้นั้นเองครับ ทั้งนี้การที่มันสามารถสลับการ์ดจอไปมาระหว่าง nvidia กับ intel ออนชิป นั้นก็ส่งผลให้สามารถใช้งานเครื่องกับแบตเตอร์รี่ได้ยาวนานยิ่งขึ้น เมื่อสลับไปใช้กราฟฟิคออนชิปนั้นเอง

สำหรับในการทดสอบตลอดช่วงในบทความนี้ ก็จะสลับไปเลือกใช้กราฟฟิคของ Nvidia ทั้งหมดนะครับ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด

- Super PI 1m

pi1m Review : Lenovo Ideapad V460

คะแนนระดับ 16 วินาทีแบบนี้ ไม่ต้องคิดมากเลยครับ เอามาใช้งานออฟฟิศ หรือแม้แต่จะเอามาตัดต่อวีดีโอ ก็ยังใช้งานได้สบายๆ

- Cinebench R10

cb10 Review : Lenovo Ideapad V460

คะแนน Multi  CPU Render ที่ทำได้นั้น ก็ถือได้ว่าไม่ธรรมดาสำหรับโนตบุกระดับ mainstreme รวมไปถึงคะแนน Open GL ที่พอจะมีให้ใช้งานกราฟฟิคกันได้บ้าง

- Cinebench R11.5

cb11 Review : Lenovo Ideapad V460

ตรงนี้ปกติแล้วถ้าเป็นกราฟฟิคออนบอร์ดหรือออนชิป OpenGL คะแนนจะออกมาอยู่ที่ 1-2Fps เท่านั้นเอง ส่วนคะแนนซีพียูนั้น เกิน 2 คะแนนขึ้นมา ก็ถือว่าใช้งานได้ยอดเยี่ยมครับ

Batterry Eater (100-5) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน

การ ทดสอบผมทำการตั้งความเร็วซีพียูให้ตัวคูณต่ำที่สุด ขณะ On batterry ซึ่งก็จะเหมือนๆกับที่ผมทำให้กับโนตบุกทุกเครื่องที่ทดสอบแบตเตอร์รี่ ก็คือมีการจำกัดความเร็วให้อยู่ในโหมดตัวคูณต่ำสุด และยกเลิกโหมด Standby และโหมด ปิดจอภาพขณะไม่ใช้งานเพื่อทดสอบ รวมไปถึงใช้กราฟฟิค Intel บนตัวซีพียูในการทดสอบ

Discharge Review : Lenovo Ideapad V460

http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/lenovov460/b/9_11_2010_1/Report.html

108 นาที หรือ 1 ชั่วโมง 48 นาที ซึ่งการใช้งานจริงๆ ก็อาจจะได้มากกว่านี้ เพราะการทดสอบนี้เป็นการทดสอบแบบ Full load ตลอดการทดสอบจนเครื่องดับไปเอง

————————————————–

Sisoft Sandra

ev01 Review : Lenovo Ideapad V460

ev02 Review : Lenovo Ideapad V460

ev03 Review : Lenovo Ideapad V460

ev04 Review : Lenovo Ideapad V460

————————————————–

PCmark 05

pcm05 Review : Lenovo Ideapad V460

สำหรับ PCmark05 ก็จะเป็นโปรแกรมที่วัดประสิทธิภาพของเครื่อง ในแง่ของการใช้งานในหลายๆด้าน โดยจะเน้นไปทางงานตัดต่อวีดีโอ และ Multi tasking ซึ่งคะแนนเกือบๆแตะ 7000 คะแนนนี้ก็ถือได้ว่าค่อนไปทางสูงแล้วครับสำหรับโนตบุก

3Dmark06

06 Review : Lenovo Ideapad V460

คะแนน 3Dmark06 ก็ทำออกมาในระดับที่ค่อนข้างดีสำหรับโนตบุกราคานี้

.

.

Lenovo Ideapad V460 ก็เรียกได้ว่าเป็นโนตบุกอเนกประสงค์ราคาประหยัด จอ 14 นิ้ว ที่ไม่ประหยัดประสิทธิภาพอีกเครื่องหนึ่ง ที่ผมมองว่าน่าสนใจมากๆ ทั้งสำหรับกลุ่มผู้ใช้ในส่วนของภาคธุรกิจ และภาคผู้ใช้บ้านๆทั่วไป ก็เนื่องมาจากว่า ตัวเครื่องนั้นมีบอดี้ที่ดูแล้วสวยงาม และดูแข็งแรงกว่าโนตบุกราคาประหยัดทั่วๆไป ฟีเจอร์ทางด้านความปลอดภัยมากมาย ตั้งแต่เรื่องของระบบ APS ป้องกันการเสียหายของ HDD รวมไปถึง Finger print และระบบจัดการพลังงานแบบฉบับของ Lenovo

ทางด้านประสิทธิภาพนั้น จริงๆแล้ว V460 ด้วยตัวของมันเอง ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่องานบันเทิงส่วนบุคคล หากแต่มันถูกออกแบบมาให้เป็นโนตบุกราคาประหยัดสำหรับองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก ควบคู่ไปกับผู้ใช้ทั่วๆไป แต่ก็น่าดีใจที่ Lenovo นั้นให้ซีพียูที่ทรงพลังอย่าง Core i5 520 พร้อมกับกราฟฟิค G310 ที่สามารถสลับไปใช้งานกราฟฟิคของอินเทลเพื่อการประหยัดพลังงานได้ ส่งผลให้คะแนน 3Dmark06 นั้นดูแล้วน่าสนใจขึ้นมาไม่น้อย ถ้ามองภาพลักษณ์ของมันว่าเป็นโน็ตบุกสำหรับงานธุรกิจในราคาระดับเริ่มต้นแบบนี้นะครับ

ด้วยราคาที่ตั้งไว้อยู่ที่ราว 25900 บาท (โดยประมาณ) ผมก็ขอลงความเห็นครับว่า V460 เป็นโนตบุกอเนกประสงค์ขนาดจอ 14 นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดจอที่ผมมักจะแนะนำสำหรับคนที่ตัดสินใจไม่ได้ว่า ตกลงแล้วจะเอาโนตบุกพกง่ายๆ หรือจะเอาจอใหญ่ๆไว้ใช้งานสบายๆ ว่าเป็นรุ่นหนึ่งที่น่าสนใจมาก ทั้งฟีเจอร์และรายละเอียดปลีกย่อย (APS, Fingerprint) รวมไปถึงการที่มันมี OS Windows 7 Home Premium แถมมาให้กับตัวเครื่องอีกด้วยนั้นเองครับ !

.

.


ขอขอบคุณ Lenovo Thailand

«ก่อนหน้า 1 2 3 4 5 6 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»