Thermalright : T-RAD²

/ บทความโดย: admin , 16/11/2008 21:20, 853 views / view in EnglishEN
«»
Share





    สวัสดี สวัสดีกันไว้ เราเป็นคนไทยเราต้องสวัสดี…อิอิ ทักทายเพื่อนๆสมาชิกvmodtechทุกท่าน ครั้งนี้ผมมีอุปกรณ์ระบายความความร้อนให้กับวีจีเอตัวเก่งของท่านที่มาในยี่ห้อ Thermalright รุ่น T-RAD² มาทดสอบรีวิวให้ชมกันถึงประสิทธิภาพการระบายความร้อน รวมทั้งหน้าตารูปโฉมว่าโดนรึไม่โดนใจ อันนี้ก็แล้วแต่รสนิยมนะครับบังคับกันไม่ได้ แต่ยังไงก็ติดตามชมกันดูก่อนนะครับ

 










Features

  • Light and Slim designed heatsink; 25mm in total height with large cooling surface area.
  • Options to install two 92mm fans or one 120mm quiet fan.
  • Supports multiple nVidia and ATI video cards in SLI and Cross Fire mode.
  • Six nickel-plated heatpipes to reduce oxidation effect, maintaining top performance for long term usage.
  • Features an all copper base and soldering technology that has each heatsink fin soldered to the heatpipes for a definite contact in producing high efficiency rate of heat transfer.
  • Vast compatibility with nNvidia 9 Series and ATI 3000 Series video cards.

  •  


        จากตารางฟีเจอร์ต่างๆด้านบนตามคำโฆษณาบ่งบอกสรรพคุณว่ามันดีไซน์มาให้มีน้ำหนักเบารูปร่างที่เพรียวบาง แต่ยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพการระบายความร้อนที่ดี สามารถใส่พัดลมได้สองรูปแบบคือ 92mmสองตัว หรือ120mm เพียงตัวเดียว รองรับการติดตั้งทั้งแบบ SLiและCrossfire ฮีทไปป์จำนวน6ท่อชุปนิเกิลเพื่อป้องกันการทำปฏิกริยาอ๊อกซิเดชั่นเพื่อการให้คงประสิทธิภาพดังเดิมในระยะเวลาใช้งานที่ยาวนานและง่ายต่อการบำรุงรักษา วัสดุหลักที่ใช้เป็นทองแดงฟินของซิงก์เชื่อมด้วยเทคโนโลยี่พิเศษเพื่อช่วยให้การส่งผ่านความร้อนทำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้งานกับการ์ด ได้ในรุ่นไหนบ้างดูได้ที่นี่ครับ ATi/nVidia Complatible list อิอิกำแปลมั่วเลย..ไปดูขนาดไซส์และรูปร่างมันกันดีกว่าครับ ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงคำโฆษณา จนกว่าจะได้ลองสัมผัสและพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพด้วยการใช้งานจริงซะก่อน








    TECHNICAL SPEC

  • Dimension:228(L) x 104(W) x 24.3(H)mm

  • Weight:360g

  • Recommended Fan:All 92 x 92 x 25 fans / All 120 x 120 x 25 fans
  • Heat pipes:Six heat pipes / Nickel Plated
  • Base material:Copper Base




























  • หน้าตาแพคเกจก็ยังคงเป็นเอกลักษณ์ของ Thermalright เช่นเดิมคือกล่องกระดาษรีไซเคิล รักษ์โลกและลดต้นทุนของสินค้าลงได้อีกนิดหน่อย(มั้ง) ภายในกล่องบุด้วยวัสดุสังเคราะห์กันการกระแทกขณะขนส่งป้องกันตัวสินค้าไม่ให้บุบสลายก่อนถึงมือผู้ใช้อย่างเราๆท่านๆ ภาพอาจดูเหลืองๆ อย่าขัดใจเลยนะครับผมชอบแบบนี้ทดสอบและถ่ายรูปภายใต้ไฟอ่านหนังสือสลัวๆ มันได้อารมณ์!!!





    มาชมทรวดทรงและรูปร่างหน้าตาของเจ้าT-RAD² กันซักหน่อย ผมเดาๆเอาว่าThermalright ตั้งใจทำมันออกมาให้คล้ายๆหม้อน้ำสองตอน คิดเหมือนผมมั๊ยครับ..อิอิ ใส่ฮีทไปป์นำความร้อนส่งผ่านสู่ตะแกรงมา6เส้น โดยท่อ5เส้นวิ่งขนานเป็นแนวเดียวกันไปด้านหนึ่ง แต่เหลือไปป์อีกเส้นที่มีพฤติกรรมทำเหมือนไม่มีใครคบแยกเดินไปคนละข้างกับไปป์อีก5เส้นก่อนหน้านี้เลย จริงๆคงไม่มีอะไรครับเป็นไปตามลักษณะที่ถูกบังคับตามกายภาพของมันนั่นเอง…งานเนี๊ยบทีเดียวครับสำหรับซิงก์ตัวนี้





    ดูภาพตามกันไปนะครับ ไขว้กันนัวเนียเลยสำหรับท่อนำความร้อนก็คงต้องบอกว่ามันมีดีไซน์..55 ส่วนหน้าสัมผัสแปะสติกเกอร์มาบอกเราว่าก่อนจะทำอะไรหนูอย่าลืมแกะลืมถอดออกนะ เดี๋ยวจะสัมผัสไม่แนบแน่น..อ๊ะคิดอะไรอยู่เนี่ย ที่ว่าไม่แนบแน่นก็คือหน้าสัมผัสฐานซิงก์จะมีแทรกระหว่างกลางได้แค่สิ่งเดียวก็คือซิลิโคนนำความร้อนทั่วไปนั้นเอง อย่าเอาพลาสติกไปขวางไว้ เดี๋ยวมันไม่เย็นแล้วจะมาบ่นกันไม่ได้นะ..อิอิ




    หน้าสัมผัสก็ไม่ได้เงาแว๊บอีกเช่นเคยแทบจะเป็นเอกลักษณ์ของThermalrightไปแล้ว จากที่ใช้ของแบรนด์นี้มาหลายรุ่นทำให้คิดได้ว่าไม่ต้องเงาก็เย็นได้เออ ส่วนพวกซิงก์ระบายความร้อนเม็ดแรม อุปกรณ์น๊อตโบลท์ต่างๆก็มีเท่าที่เห็นวางเป็นระเบียบดีมั๊ยครับ อิอิ  แถมคู่มือในการประกอบใช้งานซึ่งก็ดูแล้วเข้าใจง่ายดีครับ แต่เด็กอนุบาลประกอบไม่ได้แน่นอนเด็กวัยนี้ชอบรื้อซะมากกว่า


    ————————————————–







        พระรองเพื่อนพระเอกของเราวันนี้เป็นการ์ดสุดร้อนแรง PWC ATi Radeon HD4870 ซึ่งใครใช้อยู่ก็คงรู้ถึงความแรง+ความร้อนขณะใช้งานของมันกันนะครับ เป็นรุ่น reference จากทางโรงงานATiเลยเพียงแต่มาแปะสติกเกอร์แบรนด์ใครแบรนด์มันเท่านั้นเอง มาด้วยหน้าตายับเยินเล็กน้อย แบบนี้ต้องจับแต่งตัวซะหน่อยแล้ว ผ่านศึกมานานหน้าตาเริ่มขี้เหร่ขึ้นเรื่อยๆ..อิอิ


































    วัดขนาดความหนาก่อนติดตั้งกันซักหน่อย


    ติดตั้งไม่ได้ยากอะไรสำหรับ T-RAD² ตัวนี้ เปิดคู่มือการติดตั้งดูผ่านๆก็ประกอบได้แล้ว คว่ำซิงก์โดยหงายหน้าที่จะสัมผัสกับGPUขึ้น ทาซิลิโคนบนชิปเสร็จแล้วก้คว่ำการ์ดลงใส่ขันน๊อตยึดเป็นอันจบ แทบจะใช้มือหมุนได้ทั้งหมดเลยยกเว้นการถอดซิงก์เดิมแล้วก็ขันนอตยึดพัดลมใหม่เท่านั้นเอง ถือว่าสะดวกพอสมควรเลยครับ ในครั้งนี้เราทดสอบด้วยการใช้ซิลิโคนขาวธรรมดาที่แถมมากับตัวซิงก์เลยนะครับ เย็นแบบไม่ลงทุนเพิ่มอีกแล้ว ก็ลงทุนมามากแล้วนี่..ฮ่าๆ


    ติดตั้งพัดลมขนาด 9ซม.ลงไปได้สองตัวแบบพอดีๆ เลือกที่แบบปรับรอบได้จะดียิ่งขึ้น เวลาที่ต้องการความเงียบก็ปรับให้เบาลง เวลาอยากอัดเล่นโชว์พลังตามเวบบอร์ดก็ปรับสุดๆประมาณว่าหูแตกไม่ว่าวันนี้ข้าขอมันส์หน่อย…อิอิ เพื่อให้ยืดหยุ่นในการใช้งาน เลือกเล่นได้ตามอารมณ์นั่นเองครับ


    ผู้ทดสอบ: สวยมั๊ยครับ ล่ำมั๊ยครับ หล่อมั๊ยครับ…………………?


    เบียร์คิง: gruไม่รู้ครับว่าสวยเป็นยังไง แต่ที่รู้gruชอบแก่ๆ หงอกๆ …กำ อิอิ


     วัดความหนาเมื่อติดตั้งพัดลมกับตัวซิงก์เรียบร้อย 2 นิ้วพอดีเลย หนาเอาเรื่องใส่การ์ดสองตัวกับเมนบอร์ดรุ่นไหนกันได้บ้างคงต้องไปดูที่ลิงก์  SLi / CF Motherboard Compatibility List 


    ถ้าไม่ชอบใส่พัดลมสองตัวสามารถติดตั้งพัดลมเป็นขนาด12ซม.1ตัวได้ด้วยนะครับ แต่ผมว่ามันดูยังไงไม่รู้บอกไม่ถูก อันนี้แล้วแต่ชอบแล้วกันนะครับแล้วแต่


    ให้น๊อตยาวมาสองตัว+คลิปล็อคพัดลมมาสองชิ้นเพื่อเอาไว้สำหรับยึดขณะใส่พัดลมขนาด12ซม.ตัวเดียว คล้องยึดที่พัดลมก่อนจากนั้นกดลอคเข้าไปกับท่อฮีทไปป์ตามภาพเลยครับ

    ————————————————–

     









        มาถึงในช่วงการทดสอบ ก็ไม่มีอะไรมากครับทดสอบโดยใช้โปรแกรม Furmark Test ใน mode Stability Test เห็นว่ามันร้อนดีสามารถทำให้การ์ดของเราร้อนได้ในระดับใกล้เคียงหรือสูงกว่าการเล่นเกมส์(devil may cry4)เลยสำหรับโปรแกรมตัวนี้ ซึ่งผมลองทดสอบกับพวก3dmarkแล้วมันไม่ร้อนซักเท่าไหร่ ก็เลยเป็นเหตุผลที่เลือกเจ้าโปรแกรมตัวนี้มาใช้ทดสอบในครั้งนี้ การทดสอบมี4รูปแบบคือ ซิงก์เดิมติดการ์ดมาโดยปรับรอบพัดลมautoและปรับให้รอบพัดลมทำงานที่100% เสียงดังนรกแตกเลยครับขณะทำงานที่100%เนี่ย ส่วนที่เปลี่ยนเป็น Thermalright T-RAD² ก็ทดสอบสองความเร็วรอบพัดลม คือให้พัดลมทำงาน2400รอบ เสียงรบกวนน้อยมากกับ4000รอบ อันนี้เสียงก็ดังเอาเรื่องเลยเหมือนกันแต่เย็นลงได้อีก ทดสอบกันนอกเคสในอุณหูมิห้องประมาณ27-28องศาเซลเซียสเหมือนห้องจะเย็นแต่มันร้อนครับ ช่วงนี้คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ค่อยทำงานเลย เพราะสภาพอากาศภายนอกเย็นลงในช่วงต้นฤดูหนาวนั่นเอง ไปๆมาๆจะนอกเรื่องแล้วมาต่อกันดีกว่าว่าเจ้า T-RAD² มันเจ๋งมั๊ย





























    Systems…
     CPU   Intel E8400
     MAINBOARD       DFI DK P45 T2RS PLUS
     MEMORY   Crucial Ballistix 16fd5 2×1GB
     VGA   Powercolor Radeon HD4870
     VGA COOLER   Thermalright T-RAD²
     HDD   WD 320AAKS Buffer16MB
     PSU   Silverstone ZEUS 850W.
     CPU COOLER   Regular Water Coolling                                  

     





















    HD4870 790/950 Stock Cooler/Duty fan cycle = AUTO


    HD4870 790/950 Thermalright T-RAD² /Duty fan cycle = 2464 rpm.


    HD4870 790/950 Stock Cooler/Duty fan cycle= 100%


    HD4870 790/950 Thermalright T-RAD² /Duty fan cycle = 4000 rpm.

    ————————————————–

     











    TEST RESULTS &CONCLUSION


     


    จบลงไปแล้วกับการทดสอบประสิทธิภาพของ Thermalright T-RAD² จากผลที่ได้ก็บอกได้ชัดเจนถึงความสามารถของมันว่าอยู่ในขั้นที่ดีเลย ยิ่งมาทดสอบเทียบกับซิงก์เดิมติดการ์ดก็คงต้องบอกว่าคนละเรื่อง ในเรื่องดีไซน์การออกแบบก็ทำได้ดีจะติดอยู่บ้างก็คงเป็นเรื่องเมื่อใส่พัดลมแล้วขนาดความหนาของมันรวมแล้ว2นิ้วฟุตกินพื้นที่เพิ่มจากซิงก์เดิมอีก1เซนติเมตรได้ แต่แลกกับการระบายความร้อนที่ดีตามมาก็ถือว่าไม่เสียหายครับ ในการทดสอบนี้ไม่ได้ใส่ในเคสแล้วทดสอบ เมื่อใส่ไปแล้วก็คงมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นอีกโดยประมาณซัก8-10องศา ยังไงถ้าเล่นในเคสก็จัดทิศทางลมดีๆแล้วกันครับ เรื่องราคาค่าตัวแวะไปดูหน้าเวบของ JEDI Accessory Overclock มาอยู่ที่1,790.- แลกกับความเย็นที่ได้มาคุ้มรึเปล่าอันนี้ต้องถามใจท่านเองแล้วครับ ผมได้แต่ทดสอบและนำเสนอให้เห็นถึงประสิทธิภาพของมัน แต่การตัดสินใจเป็นของท่านผู้บริโภคเช่นเคยครับ  สุดท้ายเกือบลืมไปสมาชิกวีมอดเทคแสดงตัวได้ราคาพิเศษจากทางร้าน JEDI อีกเช่นเคยครับ..สวัสดีครับ

    ขอขอบคุณ


    JEDI Accessory Overclock 


     


    ร่วมวิจารณ์บทความ: Click ที่นี่

    «ก่อนหน้า 1 2 3 4 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

    Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
    «»