Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

/ บทความโดย: Northbridge , 30/05/2012 23:00, 12,487 views / view in EnglishEN
«»
Share

0 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

ผมคิดว่านานมากแล้วที่เราไม่ได้ยินชื่อหรือได้เห็นอะไรในนามของแบรนด์ “Walkman” จากโซนี่ ครั้งล่าสุดที่เราได้รีวิวสินค้าในหมวด “Walkman” นั้นก็คงจะเป็นเจ้า Walkman X series ที่เป็นวอล์คแมนจอทัชสกรีนรุ่นแรกๆของทางโซนี่ ตอนนั้นผมจำได้ว่ามันเป็นจอ OLED มุมมองภาพกว้างมากๆ แต่โอเอสเป็นของโซนี่เองซึ่งทำให้การใช้งานนั้นค่อนข้างจำกัดไว้แต่เพียงการเล่นเพลงเป็นเสียส่วนใหญ่ มาในวันนี้โซนี่ได้เปิดตัว Walkman Z series ซึ่งก็ถือเป็นอีกหนึ่งใน Walkman ระดับไฮเอนด์ จอทัชสกรีน ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Android 2.3 และซีพียูทรงพลังอย่าง Tegra 2 ความเร็วถึง 1GHz จาก NVIDIA และหน้าจอทัชสกรีนแบบ capacitive ใหญ่ถึง 4.3 นิ้ว แบบ TFT ใช้ LED เป็นไฟ backlid ครับ

2 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

หลังจากที่แกะหีบห่อกล่องที่ค่อนข้างเรียบง่ายของเจ้า Walkman Z มาแล้วก็จะพบกับหูฟังแบบ in ear หนึ่งชุด พร้อมกับ earbuds ให้เลือกใช้งานกันสามขนาดตามมาตรฐานหูฟังประเภทนี้ ตัวเครื่องนั้นถึงแม้ว่าหน้าจอจะมีขนาดใหญ่ถึง 4.3 นิ้ว และมีความละเอียดถึง 800×480 พิกเซล แต่ภาพรวมของตัวเครื่องนั้นมองเผินๆและสัมผัสไปเผินๆ ก็ให้อารมณ์เหมือนกำลังถือโทรศัพท์มือถืออยู่เหมือนกัน ถึงแม้ว่า Walkman Z series นี้จะไม่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้ก็ตาม การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ทนั้นจะทำได้ผ่านจากทาง WiFi เท่านั้นครับ

1 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

มาดูที่ตัวเครื่องกันชัดๆ ด้านหน้านี่ มองยังไงก็เหมือนโทรศัพท์แอนดรอยจริงๆ แต่จริงๆแล้วมันไม่สามารถใช้งานอะไรที่เกี่ยวกับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เลย หน้าจอขนาด 4.3 นิ้วนั้นทำให้ตัวเครื่องดูหรูหรา และเหมาะสำหรับการนำไปใช้เป็นอุปกรณ์มัลติมีเดียพกพาอย่างแท้จริงครับ ในขณะที่โทรศัพท์ทั่วๆไปหลายรุ่นอาจจะมีหน้าจอในระดับ 2-3 นิ้วกว่าๆ อย่างหนึ่งที่ผมคิดว่าปฏิเสธที่จะนำไปคิดไม่ได้ก็คือ Z series น่าจะเป็นคู่แข่งตัวตายตัวแทนของโซนี่ที่จะไปฟาดฟันกับ Apple Ipod ซึ่งผมคิดว่าโซนี่น่าจะมาถูกทางถ้าหากจะไปฟัดกับทางฝั่ง iPod Touch ด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยและซีพียูที่ทรงพลัง รวมไปถึงดีไซน์ที่ดูแล้วมีเอกลักษณ์เฉพาะเป็นของตัวเอง (ไม่เหมือนกับของจากเกาหลีหรือไต้หวันหลายๆค่ายที่ชอบทำเลียนแบบ Apple)

3 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

เมื่อพลิกกลับด้านมาด้านหลัง ก็จะพบว่าดีไซน์ของมันนั้นมาในมาดของเครื่องเล่นเพลงหรือมัลติมีเดียอื่นๆ มากครับ การจับถือด้วยมือสองมือนั้นทำได้อย่างถนัด และดีไซน์นั้นก็ทำให้ชวนนึกถึงเครื่องจำพวก PSP หรือเครื่องเล่นเกมพกพาอื่นๆเสียจริงๆ น่าเสียดายที่ Walkman Z series นั้นถึงแม้จะใช้ซีพียู Tegra 2 เหมือนกับ Sony Tablet S1 แต่ก็ไม่ได้เป็น PlayStation-Certified เหมือนกับ Tablet S1

4 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

ซึ่งวัสดุโดยภาพรวมนั้นจะเป็นพื้นผิวสไตล์เมทัลลิก สีม่วงๆอมน้ำเงิน และมีการทำเป็นลักษณะที่ผมเองก็อธิบายไม่ถูก แต่อย่างที่บอกไปในตอนแรกครับว่ามันทำให้ grip ได้ถนัดมือและเหมาะสำหรับการเล่นเกมเป็นอย่างมาก ส่วนช่องสองช่องเล็กๆเหนือโลโก้ W. นั้นคือช่องสำหรับลำโพง loud speaker ซึ่งก็ให้น้ำเสียงที่ดีพอใช้งานได้ (ดีกว่าโทรศัพท์มือถือหลายรุ่น) เลยทีเดียวครับ

5 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

การเชื่อมต่อและการควบคุมต่างๆ ก็ยังคงให้ความรู้สึกเป็นเครื่องเล่น Walkman อยู่พอสมควร ปุ่ม Volume นั้นอยู่ในตำแหน่งที่ถ้าหากถือแนวตั้งจะกดได้ถนัดมือ ปุ่ม Walkman นั้นมีไว้เพื่อเข้าสู่ W.Control ของ Walkman เองซึ่งเราจะไปลงรายละเอียดกันในช่วงหลัง ไปจนถึงพอร์ตที่ดูคล้ายๆกับ Micro-USB จริงๆแล้วมันคือ Micro-HDMI ที่เอาไว้สำหรับต่อภาพออกหน้าจอทีวีสมัยใหม่ ทำให้มีสัญญาณออกทั้งภาพและเสียง ซึ่งแน่นอนว่าด้วยขุมพลังของซีพียู Tegra 2 นั้น Walkman Z series สามารถเล่นไฟล์วีดีโอ 1080P ทั้งในเครื่องและต่อออกผ่าน HDMI ได้อย่างลื่นไหลแน่นอนครับ

6 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

ส่วนการเชื่อมต่อดาต้ากับเครื่องพีซีนั้นจะใช้พอร์ตเฉพาะของ Walkman เอง ซึ่งจะมีสาย USB แถมมาให้ในกล่อง ช่องหูฟังนั้นเป็นแจ๊คขนาด 3.5mm ซึ่งผมเองก็แอบสงสัยเหมือนกันว่าฟีเจอร์ Noise Cancellation เหมือนสมัย Walkman X series หรือ S series ในหลายๆรุ่น มันหายไปไหน ? ส่วนเมมโมรีนั้นตัวที่ผมได้รับมาเป็นโมเดล 16GB ซึ่งผมคิดว่าเพียงพอสำหรับการใช้งานเป็นเครื่องเล่นเพลง และไม่มีช่องสำหรับเพิ่มหน่วยความจำ ซึ่งตรงนี้อาจจะลำบากนิดหนึ่งสำหรับคนที่คิดจะซื้อตัวล่างสุด (8 GB) เพราะมันน่าจะไม่พอใช้งานแน่ๆ

7 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

ด้านบนเครื่องมีปุ่มเปิดเครื่อง ทำหน้าที่เหมือนแอนดรอยโฟนทั่วๆไปคือใช้เปิดปิดเครื่อง กับเรียก flight mode ขึ้นมา

————————————————–

8 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

มาถึงรีวิวในส่วนของการใช้งาน เริ่มจากตัวจอที่เป็นจอขนาด 4.3นิ้ว TFT LCD และมี backlid แบบ LED เรียกได้ว่าให้ความสว่างและความคมชัดในระดับที่เรียกว่าดีครับ มุมมองของจอภาพนั้นพอใช้งานได้ในระดับที่คนสองคนจะมาดูหน้าจอพร้อมๆกัน (ถ้าสักสามคนจะเริ่มเห็นจุดบอด) ส่วนตัวแล้วผมยังคิดถึงหน้าจอแบบ OLED ในสมัยของ Walkman X series อยู่มากกว่า แต่เข้าใจว่า OLED มีต้นทุนที่สูงกว่ามาก และความคมชัดก็ไม่ได้หนีไปจาก TFT LCD ในตัวนี้มากนักครับ

9 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

อินเตอร์เฟสโดยรวมนั้นยังคงความเป็น android 2.3 ไว้ค่อนข้างเหนียวแน่น จะมีที่แปลกๆตาไปก็คือบริเวณส่วนของปุ่มควบคุมหลักบนหน้าจอ (ไม่ใช่ซอฟท์คีย์ทั้งสามตัวด้านล่างนะครับ) ที่จะมีชอร์ตคัทให้เลือกเข้า app สำหรับเล่นเพลงเฉพาะของ Walkman เอง

10 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

หรือนอกจากนี้หากท่านยังคงอยากจะใช้ความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ Walkman แบบสมัยก่อน ก็สามารถเข้าไปที่ Original app ก็จะได้หน้าตาของอินเตอร์เฟสง่ายๆแบบนี้ให้ได้ใช้งานกัน

11 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

13 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

App เล่นเพลงของ Walkman นั้นมีความพิเศษกว่า app ตัวอื่นๆที่ไว้เล่นเพลงบนแอนดรอยในหลายๆจุดครับ ตั้งแต่ระบบ Library ที่ใช้งานได้ง่าย สามารถเลือกแยกประเภทเพลงได้ดี การจัดเรียง Cover Art ที่สวยงาม รวมไปถึงฟีเจอร์ที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนๆอย่าง SenseMe Channel ที่โปรแกรมจะทำการวิเคราะห์เพลงแต่ละเพลงแล้วจัดเอาไว้ให้เป็นหมวดหมู่ ตามอารมณ์และจังหวะของเพลง

19 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

เรื่องภาษาไทยยังคงมีปัญหาอยู่บ้างกับไฟล์ที่ไม่ได้ตั้งชื่อด้วย Unicode

12 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

ตัว App ขณะเล่นเพลง ถึงแม้ว่าเพลงจะไม่มีไฟล์รูปหน้าปก แต่ก็มีการจัดเรียงตัวอักษรถ้อยคำต่างๆที่เกี่ยวกับอัลบัมนั้นๆได้อย่างลงตัว ดูแล้วไม่ใช่การออกแบบชุ่ยๆแน่นอนครับ

14 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

การเล่นเพลงนอกจากจะทำผ่านทางหน้าจอหลักด้วยการเข้า app Music Player แล้ว ยังสามารถทำได้ผ่านทางปุ่ม W Control ที่จะเป็นการ Popup หน้าจอควบคุมการเล่นเพลงขนาดเล็กมา ในขณะที่เราล็อคตัวเครื่องอยู่ (ไม่ต้องสไลด์ปลดล็อค ใช้งานได้เลย)

15 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

หรือว่าจะตั้งค่าให้ W control เป็นแบบสไลด์เพื่อเปลี่ยนเพลง ก็ได้เช่นกัน

16 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

มันมีเหตุผลหลายอย่างครับ ที่เมื่อหากคุณใช้ Walkman เครื่องนี้แล้ว คุณไม่ควรที่จะไปใช้โปรแกรมเล่นเพลงอะไรอย่างอื่นอีกนอกจากของทาง Sony เอง อย่างหนึ่้งก็คือเรื่องของการตั้งค่า โซนี่ได้ติดเอาฟีเจอร์ทางด้านเสียงมาให้หลายตัวทั้ง DSEE (เพิ่มคุณภาพเสียงย่าน treble สำหรับไฟล์คุณภาพต่ำ) Clear Stereo (ป้องกันการเกิด Cross talk ระหว่างชาแนลซ้ายกับขวาของหูฟัง) ส่วน xLOUD และ Clear Phase นั้นจะเป็นฟีเจอร์สำหรับลำโพง loud speaker ซึ่งผมลองเปิดๆปิดๆดูแล้วก็ไม่รู้ว่าผมหูไม่ถึง หรือมันไม่ค่อยจะมีความต่างจริงๆกันแน่ ?

17 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

นอกจากนี้ก็ยังมีฟีเจอร์ VPT Surround ที่สามารถปรับตั้งค่าจำลองสภาพแวดล้อมการฟังได้หลากหลาย ตัวที่ผมชอบเลือกใช้มากที่สุดคือ Studio เนื่องจากผมรู้สึกว่าฟังแล้วมันทำให้เสียงคนร้องนั้นแผดออกมาชัดเจนกระแทกหูสะใจมากขึ้นครับ แต่จริงๆแล้วหากต้องการมิติของเสียงให้เหมือนกับนั่งฟังสเตอริโอชั้นดีอยู่ที่บ้าน หรือกำลังดูดนตรีสดอยู่ตรงหน้า แนะนำให้ลองแบบ Live ดูครับ จะให้มิติเสียงที่ดีมากๆ โดยที่คุณภาพไม่ได้ลดลงไปเลยแม้แต่น้อย โดยรวมๆแล้ว VPT สามารถทำหน้าที่ของมันได้ดีครับ ที่ต้องพูดก็เพราะผมเคยเจอเครื่องเล่นบางอย่าง ที่เปิดโหมดเซอราวพวกนี้แล้วฟังเสียงแล้วมันออกแนวน่ารำคาญมากกว่าจะสร้างความสำราญให้กับผม

18 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

นอกจากนั้นก็ยังมี Equalizer มาหให้ปรับเล่นกัน สามารถปรับได้ 5 ย่านความถี่ และมีแบบสำเร็จรูปมาให้เลือกอยู่ 4 แบบ

20 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

สรุปแล้ว App เพลงของเจ้า Walkman เนี่ย ใช้ๆไปเถอะครับ รับรองว่าจะติดใจในความลื่นไหลและสวยงาม รวมไปถึงลูกเล่นมากมาย

21 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

นอกจาก app Walkman แล้วก็ยังมีแอพอีกตัวหนึ่งที่มีประโยชน์กับชีวิตก็คือแอพสำหรับทดสอบการเชื่อมต่อ WiFi ครับ ทำให้การเชื่อมต่อหรือตั้งค่าต่างๆไม่จำเป็นจะต้องเข้าไปลึกถึงส่วนของ Setting ของระบบปฏิบัติการ

22 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

และแน่นอน โซนี่ใจกว้างพอที่จะให้ Walkman ของพวกเขาฟัง FM ได้ด้วย แต่ต้องเสียบหูฟังนะครับถึงจะฟังได้ เพราะตัวหูฟังมันจะเป็นสายอากาศไปในตัว

————————————————–

27 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

มาถึงในส่วของการใช้งานในฐานะที่ Walkman Z series ของเรานั้นเป็น Android Device ทั่วๆไปครับ โดยรวมแล้วผมถือว่าอินเตอร์เฟสต่างๆนั้นสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างลื่นไหล ตอบสนองต่อการทัชได้ในขั้นดีมาก ! การตอบสนองดังกล่าวไม่ใช่เฉพาะแอพเล่นเพลงของ Walkman เอง แต่รวมถึงหน้าจอของ Android ด้วยครับ ในภาพนั้นจะเห็นว่า Widget ต่างๆสามารถปรับตั้งค่าได้ตามใจชอบเหมือนกับแอนดรอยทั่วๆไป

หากสังเกตดีดีก็จะพบว่า Widget สำหรับจัดการเปิดปิดระบบต่างๆในเครือ่งก็จะมีตั้งแต่ Wireless Lan, Bluetooth, GPS, Data และอันสุดท้ายจะเป็นปุ่มสำหรับปรับความสว่างของ backlight ที่การกด 1 ครั้งคือการเปลี่ยนระดับความสว่าง สามารถเปลี่ยนได้ 3 ระดับด้วยกัน

การใช้งานนั้นสามารถใช้บริการดาวโหลดแอพอย่าง Play Store ของ Google และ Sync กับแอกเคาท์ของ Google ได้ตามปกติเลยครับ นอกจากนี้ยังสามารถใช้บริการ NVIDIA Tegra Zone ในฐานะที่ Z series เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ซีพียู Tegra 2 ได้อีกด้วย

28 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

ผมทดลองเปิดหน้าเว็บของเรา ก็พบว่าซีพียู Tegra 2 นั้นทำหน้าที่ของมันได้ดีตามที่เราได้เคยสัมผัสกันมาหลายครั้งแล้ว ทั้งในงาน showcase ต่างๆและอุปกรณ์หลายๆตัวที่ใช้ซีพียูตัวนี้

29 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

การ browse หน้าเว็บโดยรวมแล้วทำได้อย่างลื่นไหลครับถึงแม้จะมีสคริปต์ ajax ต่างๆมากๆมาย หรือแม้กระทั่ง Adobe Flash ก็สามารถแสดงผลได้ (แต่ไม่ครบทุกตัว) ซึ่งนอกจาก flash แล้วก็ยังมีอีกเทรนด์หนึ่งก็คือ HTML5 ก็รองรับแล้วเช่นกัน

30 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

31 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

ส่วนแอพโซเชียลเนทเวิร์คต่างๆนั้นก็สามารถใช้งานได้ตามปกติ และลื่นไหลดีมากๆเหมือนกับอินเตอร์เฟสส่วนอื่นๆ เบื้องหลังความลื่นไหลคงจะต้องยกความดีให้กับซีพียู Tegra 2 ที่ถึงแม้ว่าจะเปิดตัวมานานและทุกวันนี้มี Tegra 3 ออกมาแล้ว แต่เมื่อเทียบกับซีพียูหลายๆรุ่นที่อยู่ใน Android Device ทุกวันนี้ มันก็ยังจัดได้ว่าเป็นซีพียูที่มีความเร็วอยู่มากครับ

24 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

แน่นอนว่านอกจาก Google Play Store แล้ว Walkman Z series ยังสามารถเข้าไปใช้บริการของ NVIDIA Tegra Zone ได้อีกด้วย ในภาพนั้นเป็นเกม Fruit Ninja THD (Tegra Optimized HD version) เล่นในจอขนาด 4.3 นิ้ว ก็ทำให้ผมฟันคอมโบได้เร็วดีกว่าพวกเครื่อง tablet ใหญ่ๆพอสมควรเลยครับ

25 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

26 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

เกมเด็ดๆอีกเกมอย่าง GTA 3 ที่มีรายละเอียดเนื้อเรื่องเหมือนๆกับที่หลายๆท่านเคยเล่นใน PC ก็ถูกพอร์ตลงมาบน Tegra Devices เรียบร้อยนานมากแล้ว ก่อนนี้ผมเคยเล่นแต่บน Tegra 3 แต่พอมาอยู่ในเครื่อง Walkman ที่เป็น Tegra 2 เครื่องนี้ก็พบว่าความลื่นไหล แทบจะไม่ต่างกันเลยครับ โดยรวมๆแล้วก็ถือว่าถึงแม้ Tegra 2 จะเป็นซีพียูที่น่าจะเรียกได้ว่ามีอายุแล้ว แต่ก็ยังถือได้ว่าทรงประสิทธิภาพอยู่มากเลยทีเดียว

32 Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

ทดลองดูวีดีโอ HD ความละเอียด 720P บนหน้าจอก็พบว่าลื่นไหลดีไม่มีสะดุดครับ ซึ่งจริงๆแล้ว Tegra 2 นั้นทาง NVIDIA ก็เคลมว่าสามารถเล่นวีดีโอละเอียดได้ถึง 1080P ทำให้พอร์ต HDMI ที่ติดมากับเครื่อง ดูมีคุณค่าขึ้นมาถนัดตาเลยทีเดียว

.

.

ผมเองก็รีวิวในส่วนของลูกเล่นต่างๆและความสามารถในเชิงที่มันเป็น Android device ไปเสียจนลืมว่า คนที่จะซื้อ Z series คงต้องเป็นกลุ่มที่รักการฟังเพลง หรือเผลอๆอาจจะเป็น Audiophile เสียด้วยซ้ำ ส่วนตัวแล้วผมไม่สามารถอธิบายอะไรเกี่ยวกับเสียงได้อย่างชัดเจนมาก จึงจะขอกล่าวแต่เพียงคร่าวๆ เสียงเท่าที่ฟังนั้นก็พบว่าจากที่เคยใช้งาน ipod touch มาแบบผ่านๆ เสียงใน Walkman Z นี้จะมีลักษณะที่คมและโฟกัสมากกว่าเพื่อน ชุดหูฟังที่แถมติดมากับตัวเครื่องนั้นทำหน้าที่ของมันได้ดี มีเบสออกมาให้ได้ฟังกันแบบหอมปากหอมคอ ซึ่งผมชอบเสียงเบสที่ไม่มากเกินไปแบบนี้อยู่แล้ว โดยรวมๆแล้วก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ฟังแล้วรู้สึกว่าเป็นพรีเมียมจริงๆครับ ไม่กิ๊กก๊อกแน่นอน โซนี่เรียกส่วน amplifier ของเขาว่า S-Master MX หูฟังที่แถมมาให้นั้นการสวมใส่ หากเลือกชุดยาง (buds) ให้เหมาะสมกับขนาดรูหูแล้วล่ะก็จะพบว่ามันสามารถสวมใส่ได้อย่างสบาย ไม่อึดอัด และสามารถทำให้เสียงที่ปล่อยเข้ารูหูเรานั้นดูมีโฟกัสที่ดีมากเลยทีเดียว

แบตเตอร์รี่ เท่าที่เปิดใช้งานดู พบว่าอึดกว่าสมาร์ทโฟนทั่วไปอยู่ในระดับหนึ่ง ในกรณีที่เปิดๆปิดๆ WiFi นะครับ อันนี้คือการใช้งานบราวซ์เว็บทั่วๆไป ประกอบกับฟังเพลง แบตอยู่ได้ราวๆ 12 ชั่วโมงก็จะเริ่มเตือนใกล้หมด แต่ถ้าหากเล่นเกมหนักๆอย่างตอนที่ผมได้เครื่องมา พบว่าตัวเองติด GTA 3 ในเครื่องนี้มาก ราวๆสองสามชั่วโมง ก็พบว่าแบตเตอร์รี่ก็จะเริ่มอ่อนแรงลงมากแล้วล่ะครับ

เท่าที่ทดลองเปิดเว็บ store ของทางโซนี่อเมริกา ราคาขายของเขาจะอยู่ที่ราวๆ 280 ดอลล่าสหรัฐ ซึ่งตีเป็นเงินไทยน่าจะราวๆ 8 พันกว่าบาท กับขนาด 16GB ซึ่งหลายๆคนจะมองว่ามันแพงไปสักนิดหนึ่ง สำหรับเครื่องเล่นเพลงหนึ่งเครื่อง แต่ถ้าหากมองกันด้วยแก่นสารจริงๆแล้ว Walkman Z series ให้อะไรได้มากกว่าความเป็น Walkman แน่นอนด้วยความที่เป็นแพลตฟอร์ม Android และมีซีพียูที่ทรงพลัง ดังที่ผมได้สาธิตให้ดูในรีวิวนี้ ประกอบกับหน้าจอขนาดมหึมา ผมคิดว่าน่าจะเหมาะกับคนที่ยังไม่มีสมาร์ทโฟนใช้ แล้วยังคงยืนยันอยากที่จะใช้ฟีเจอร์โฟนต่อไป แล้วอยากได้อุปกรณ์ขนาดพกพาไว้เล่นเกมหรือใช้งานแบบที่คนใช้ smartphone เขาใช้กัน

นอกจากเรื่องราคา ผมอยากเสียดายที่มันไม่มีกล้องถ่ายรูปครับ ถึงจะเข้าใจว่ามันไม่ใช่อุปกรณ์ที่น่าจะมีกล้องถ่ายรูปติดมา แต่ถ้ามีติดมาได้นี่รับรองได้ว่า มันจะเป็น multimedia player ที่ครบเครื่องทำหน้าที่แทนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนสมัยนี้ได้อย่างเต็มตัวเลยจริงๆ นอกจากนี้ก็ยังคงเป็นเรื่องของระบบปฏิบัติการ ที่ยังคงยึดอยู่กับ Android 2.3 ที่ถือว่าเริ่มจะล้าสมัยไปเสียแล้ว แต่โดยภาพรวมแล้วก็ยังตอบสนองการใช้งาน และมีความลื่นไหลอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากเลยทีเดียว

.

vmod award performance good Review : Sony Walkman Z series (Z1050)vmod award innovation good Review : Sony Walkman Z series (Z1050)

.

ขอขอบคุณ Sony Thai

«ก่อนหน้า 1 2 3 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»