14 King of Heatpipe Round up

/ บทความโดย: admin , 07/04/2008 22:54, 6,335 views / view in EnglishEN
«»
Share
หลังจากงาน DES Roadshow จบไป หลายท่านก็คงจะทราบกันดีว่าในวันสุดท้ายนั้น พวกเราทีมงาน Vmodtech ก็ได้ระดมกำลังกันไปตามล่าฮีทซิ้งค์แบบ Heatpipe จำนวนกว่า 14 ตัวด้วยกัน เพื่อมาทำการทดสอบแบบ Live show ให้เห็นกันกลางห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่าเลยทีเดียวครับ โดยการทดสอบสอบนั้นก็ได้เสร็จสิ้นลุล่วงไปได้ด้วยดี ก็ด้วยความร่วมมือจากร้านค้าต่างๆที่ให้พวกเราได้ยื้มฮีทซิ้งค์ในการทดสอบประชันประสิทธิภาพ และผู้จัดงาน คือทาง Gigabyte United ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ให้ทางเราวีมอดเทคได้ไปออกบู้ตกับเขาด้วยนั่นเองครับ (ทั้งๆที่การทดสอบฮีทซิ้งค์แทบจะไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ DES Roadshow เล้ย)

สำหรับฮีทซิ้งค์ทั้งหมด 14 รุ่นที่เราจะมาทำการทดสอบนั้น จะเป็นแบบที่ใช้เทคโนโลยี ฮีทไปป์ ทั้งหมดด้วยกันครับ มีรายชื่อดังนี้

- Scythe Orochi (by TKcom)

- Scythe Ninja Mini (by TKcom)

- Scythe Zipang (by member of Vmodtech)

- Arctic cooling Freezer 7 Pro (by TKcom)

- Kingkong 6 + (by Saveway tech.)

- Thermalright Ultra-120 Extreme (by Jedi)

- Thermalright HR-01 Plus (by Jedi)

- Thermalright IFX-14 (by Jedi)

- Zalman CNPS 9700 LED (by Jedi)

- Noctua NH-U12P (by Noctua Austria - Somuchmore.biz)

- Xigmatek Redscorpion S1283 (by Somuchmore.biz)

- Gigabyte Volar (by Gigabyte United)

- Gigabyte Gpower-pro2 (by Gigabyte United)

- Sunbeam Tuniq Tower 120 (by ท่าน Dazeb)

ทั้งหมดนี้ก็คงจะเป็นฮีทซิ้งค์ยี่ห้อดังๆที่หลายๆท่านรู้จักกัน นอกจากนี้ยังมีฮีทซิงค์อีกสองตัวที่เราได้เอามาโชว์ แต่กลับไม่ได้ทำการทดสอบ นั่นคือ Gigabyte GpowerPro และ 3Drocket ที่ทางกิกาไบท์นั้นให้หยิบยืมกันมา แต่ว่าด้วยความผิดพลาดของทีมงานที่หลงลืมคลิปล็อคฮีทซิงค์ แล้วพึ่งมาหาเจอตอนงานเลิกแล้ว จึงทำให้ไม่สามารถทำการทดสอบได้ จึงขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วยครับ แต่แค่14ตัวที่เห็น ก็มักจะเป็นข้อถกเถียงกันใน Forum ต่างๆที่พูดคุยกันด้วยเรื่องเกี่ยวกับการ overclock ว่าตัวนี้เย็นกว่าบ้าง ตัวนั้นดีกว่าบ้าง วันนี้ทาง Vmodtech ของเรา มีคำตอบครับ กับการทดสอบสุดหฤโหด ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันทั้งหมดครับ


การทดสอบฮีทซิ้งค์ทั้งหมด จะทำการทดสอบกันกลางห้าง ภายในบู้ต Gigabyte และด้วยซิสเต็มสำหรับทำการทดสอบที่ทาง Gigabyte ได้จัดเตรียมไว้ให้ทำการโชว์ overclock ไว้ก่อนหน้านี้ โดยจะมีรายละเอียดดังนี้ครับ




















CPU Intel Core2 Extreme QX9650 @3.66ghz (333×11) Set Vcore 1.5 in Bios
Ram Transcend PC2-9600 1024×2mb
M/B Gigabyte X38-DQ6
VGA Gigabyte ATi Radeon HD3870
Fan Thermaltake Smartcase fan II 3000rpm


สำหรับระบบที่ใช้ในการทดสอบนั้นก็เป็นไปตามรูปและเสป็คที่ได้เขียนไว้ครับ โดยซีพียู QX9650 ที่เดิมมีอุณหภูมิค่อนข้างสูงอยู่แล้ว เมื่อทำการ overclock และเพิ่มไฟในไบออสไปถึง 1.5V. ที่ต้องทำแบบนี้ก็เพราะว่าเพื่อที่จะทำให้เกิดความร้อนมากๆ ระหว่างการทดสอบ และทำให้ฮีทซิงค์แต่ละตัวแสดงศักยภาพออกมาได้เต็มที่ ทำให้เห็นถึงความแตกต่างได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นครับ แต่เนื่องจากต้องทำการทดสอบกับซิงค์เดิมด้วย การโอเวอร์คล๊อกซีพียูของเรา จึงใช้วิธีการปรับตัวคูณขึ้นอย่างเดียวเท่านั้น และปรับไปที่ความเร็วเพียง 3.66Ghzเพราะจากที่ทดลองถ้าใช้ความเร็วเกินนี้แล้วซิงค์เดิมจะเอาเริ่มไม่อยู่ครับ และที่การOverclockของเราคราวนี้ ที่ใช้ปรับตัวคูณเอาอย่างเดียวนั้น ก็เพื่อไม่ให้ต้องมีการต้องทำการเพิ่มไฟในจุดอื่นๆบนเมนบอร์ด ซึ่งอาจจะเป็นการรบกวนอุณหภูมิของซีพียูนั่นเองครับ

 








ฮีทซิ้งค์ทุกตัวที่เข้ารับการทดสอบทุกตัว จะทำการทดสอบด้วยเงื่อนไขเดียวกันทั้งหมด คือใช้ซิสเต็มที่ทำการทดสอบอันมีรายละเอียดด้านบน และฮีทซิงค์ทุกตัวจะต้องใช้พัดลม Thermaltake 3000rpm ที่เราได้จัดเตรียมเอาไว้ นอกเสียจาก ฮีทซิ้งค์ตัวนั้นๆ จะไม่สามารถถอดเปลี่ยนพัดลมได้ หรือการถอดเปลี่ยนพัดลมนั้นต้องมีการบิด หัก หรืองอ อันทำให้เสียรูปจากเดิมไป ก็จะใช้พัดลมที่ติดมากับฮีทซิ้งค์ทำการทดสอบไป ทั้งหมดนี้ จะทำการทดสอบโดยการปล่อยทิ้งไว้ให้เห็น อุณหภูมิขณะ IDLE ระยะหนึ่ง หลังจากนั้นทำการใช้โปรแกรม SP2004 เปิดพร้อมกัน 4 thread ให้ stress ซีพียูให้ทำงานเต็ม 100% เป็นเวลา5นาที ที่ความเร็ว 3.66ghz ไฟ 1.5 โวลต์ และใช้สุดยอดซิลิโคน MX2 ที่ได้รับการเอื้อเฟื้อหลอดใหม่สดๆมาใช้ตลอดการทดสอบนี้จากทางTKCom ตลอดทุกการทดสอบครับ (ทาใหม่ทุกรอบ) ขอขอบคุณร้านTKComสำหรับซิลิโคนดีๆไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

ผลการทดสอบด้วยฮีทซิงค์เดิมของ intel

 


Stock Heatsink W/ Crazy Cool


 


Stock Heatsink W/O Crazy Cool


 


*คลิกที่รูปกราฟเพื่อดูภาพเต็ม

ผลการทดสอบของซิงค์เดิมจากอินเทลก็ปรากฏเป็นกราฟของโปรแกรม SpeedFan ดังด้านรูปด้านบนครับ โดยที่กราฟอันบนแสดงถึง อุณหภูมิตั้งแต่ IDLE จนถึง Fullload ของฮีทซิงค์เดิม แบบติดตั้งแผ่น Crazycool ส่วนกราฟล่างเป็นแบบไม่ติดตั้ง Crazycool ซึ่งจากการทดสอบนั้น สันนิษฐานได้อีกหนึ่งข้อว่า แผ่น Crazycool นั้นถูกออกแบบมาสำหรับเคสแบบปกติ คือลักษณะเคสเป็นโลหะ และตัว แผ่นกระจายความร้อน Crazycool ที่ติดอยู่ด้านหลังเมนบอร์ดจะช่วยแผ่ความร้อนไปยังตัวเคสทำให้อุณหภูมิลดลง แต่ในที่นี่เราได้ทำการติดตั้งกับเคสแบบอะครีลิค จึงทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานไม่ค่อยน่าประทับใจเท่าไรครับ เพราะอะครีลิค จะอมความร้อน และถ่ายเทออกไปได้ช้า และหากท่านจะทำการใช้เมนบอร์ด Gigabyte ที่มี Crazycool นอกเคสแล้วละก็ ผมแนะนำให้ถอดแผ่น Crazycool ออกครับ เพราะมันจะกลายเป็นการช่วยเพิ่มความร้อน หากท่านวางเมนบอร์ดไว้กับโฟม หนังสือ หรือฟองน้ำ และในการทดสอบฮีทซิงค์รุ่นอื่นๆซิสเต็มชุดนี้ เราจะทำการถอด crazycool ออกทั้งหมดครับ

Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»