14 King of Heatpipe Round up

/ บทความโดย: admin , 07/04/2008 22:54, 6,335 views / view in EnglishEN
«»
Share
หลังจากงาน DES Roadshow จบไป หลายท่านก็คงจะทราบกันดีว่าในวันสุดท้ายนั้น พวกเราทีมงาน Vmodtech ก็ได้ระดมกำลังกันไปตามล่าฮีทซิ้งค์แบบ Heatpipe จำนวนกว่า 14 ตัวด้วยกัน เพื่อมาทำการทดสอบแบบ Live show ให้เห็นกันกลางห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่าเลยทีเดียวครับ โดยการทดสอบสอบนั้นก็ได้เสร็จสิ้นลุล่วงไปได้ด้วยดี ก็ด้วยความร่วมมือจากร้านค้าต่างๆที่ให้พวกเราได้ยื้มฮีทซิ้งค์ในการทดสอบประชันประสิทธิภาพ และผู้จัดงาน คือทาง Gigabyte United ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ให้ทางเราวีมอดเทคได้ไปออกบู้ตกับเขาด้วยนั่นเองครับ (ทั้งๆที่การทดสอบฮีทซิ้งค์แทบจะไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ DES Roadshow เล้ย)

สำหรับฮีทซิ้งค์ทั้งหมด 14 รุ่นที่เราจะมาทำการทดสอบนั้น จะเป็นแบบที่ใช้เทคโนโลยี ฮีทไปป์ ทั้งหมดด้วยกันครับ มีรายชื่อดังนี้

- Scythe Orochi (by TKcom)

- Scythe Ninja Mini (by TKcom)

- Scythe Zipang (by member of Vmodtech)

- Arctic cooling Freezer 7 Pro (by TKcom)

- Kingkong 6 + (by Saveway tech.)

- Thermalright Ultra-120 Extreme (by Jedi)

- Thermalright HR-01 Plus (by Jedi)

- Thermalright IFX-14 (by Jedi)

- Zalman CNPS 9700 LED (by Jedi)

- Noctua NH-U12P (by Noctua Austria - Somuchmore.biz)

- Xigmatek Redscorpion S1283 (by Somuchmore.biz)

- Gigabyte Volar (by Gigabyte United)

- Gigabyte Gpower-pro2 (by Gigabyte United)

- Sunbeam Tuniq Tower 120 (by ท่าน Dazeb)

ทั้งหมดนี้ก็คงจะเป็นฮีทซิ้งค์ยี่ห้อดังๆที่หลายๆท่านรู้จักกัน นอกจากนี้ยังมีฮีทซิงค์อีกสองตัวที่เราได้เอามาโชว์ แต่กลับไม่ได้ทำการทดสอบ นั่นคือ Gigabyte GpowerPro และ 3Drocket ที่ทางกิกาไบท์นั้นให้หยิบยืมกันมา แต่ว่าด้วยความผิดพลาดของทีมงานที่หลงลืมคลิปล็อคฮีทซิงค์ แล้วพึ่งมาหาเจอตอนงานเลิกแล้ว จึงทำให้ไม่สามารถทำการทดสอบได้ จึงขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วยครับ แต่แค่14ตัวที่เห็น ก็มักจะเป็นข้อถกเถียงกันใน Forum ต่างๆที่พูดคุยกันด้วยเรื่องเกี่ยวกับการ overclock ว่าตัวนี้เย็นกว่าบ้าง ตัวนั้นดีกว่าบ้าง วันนี้ทาง Vmodtech ของเรา มีคำตอบครับ กับการทดสอบสุดหฤโหด ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันทั้งหมดครับ


การทดสอบฮีทซิ้งค์ทั้งหมด จะทำการทดสอบกันกลางห้าง ภายในบู้ต Gigabyte และด้วยซิสเต็มสำหรับทำการทดสอบที่ทาง Gigabyte ได้จัดเตรียมไว้ให้ทำการโชว์ overclock ไว้ก่อนหน้านี้ โดยจะมีรายละเอียดดังนี้ครับ




















CPU Intel Core2 Extreme QX9650 @3.66ghz (333×11) Set Vcore 1.5 in Bios
Ram Transcend PC2-9600 1024×2mb
M/B Gigabyte X38-DQ6
VGA Gigabyte ATi Radeon HD3870
Fan Thermaltake Smartcase fan II 3000rpm


สำหรับระบบที่ใช้ในการทดสอบนั้นก็เป็นไปตามรูปและเสป็คที่ได้เขียนไว้ครับ โดยซีพียู QX9650 ที่เดิมมีอุณหภูมิค่อนข้างสูงอยู่แล้ว เมื่อทำการ overclock และเพิ่มไฟในไบออสไปถึง 1.5V. ที่ต้องทำแบบนี้ก็เพราะว่าเพื่อที่จะทำให้เกิดความร้อนมากๆ ระหว่างการทดสอบ และทำให้ฮีทซิงค์แต่ละตัวแสดงศักยภาพออกมาได้เต็มที่ ทำให้เห็นถึงความแตกต่างได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นครับ แต่เนื่องจากต้องทำการทดสอบกับซิงค์เดิมด้วย การโอเวอร์คล๊อกซีพียูของเรา จึงใช้วิธีการปรับตัวคูณขึ้นอย่างเดียวเท่านั้น และปรับไปที่ความเร็วเพียง 3.66Ghzเพราะจากที่ทดลองถ้าใช้ความเร็วเกินนี้แล้วซิงค์เดิมจะเอาเริ่มไม่อยู่ครับ และที่การOverclockของเราคราวนี้ ที่ใช้ปรับตัวคูณเอาอย่างเดียวนั้น ก็เพื่อไม่ให้ต้องมีการต้องทำการเพิ่มไฟในจุดอื่นๆบนเมนบอร์ด ซึ่งอาจจะเป็นการรบกวนอุณหภูมิของซีพียูนั่นเองครับ

 








ฮีทซิ้งค์ทุกตัวที่เข้ารับการทดสอบทุกตัว จะทำการทดสอบด้วยเงื่อนไขเดียวกันทั้งหมด คือใช้ซิสเต็มที่ทำการทดสอบอันมีรายละเอียดด้านบน และฮีทซิงค์ทุกตัวจะต้องใช้พัดลม Thermaltake 3000rpm ที่เราได้จัดเตรียมเอาไว้ นอกเสียจาก ฮีทซิ้งค์ตัวนั้นๆ จะไม่สามารถถอดเปลี่ยนพัดลมได้ หรือการถอดเปลี่ยนพัดลมนั้นต้องมีการบิด หัก หรืองอ อันทำให้เสียรูปจากเดิมไป ก็จะใช้พัดลมที่ติดมากับฮีทซิ้งค์ทำการทดสอบไป ทั้งหมดนี้ จะทำการทดสอบโดยการปล่อยทิ้งไว้ให้เห็น อุณหภูมิขณะ IDLE ระยะหนึ่ง หลังจากนั้นทำการใช้โปรแกรม SP2004 เปิดพร้อมกัน 4 thread ให้ stress ซีพียูให้ทำงานเต็ม 100% เป็นเวลา5นาที ที่ความเร็ว 3.66ghz ไฟ 1.5 โวลต์ และใช้สุดยอดซิลิโคน MX2 ที่ได้รับการเอื้อเฟื้อหลอดใหม่สดๆมาใช้ตลอดการทดสอบนี้จากทางTKCom ตลอดทุกการทดสอบครับ (ทาใหม่ทุกรอบ) ขอขอบคุณร้านTKComสำหรับซิลิโคนดีๆไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

ผลการทดสอบด้วยฮีทซิงค์เดิมของ intel

 


Stock Heatsink W/ Crazy Cool


 


Stock Heatsink W/O Crazy Cool


 


*คลิกที่รูปกราฟเพื่อดูภาพเต็ม

ผลการทดสอบของซิงค์เดิมจากอินเทลก็ปรากฏเป็นกราฟของโปรแกรม SpeedFan ดังด้านรูปด้านบนครับ โดยที่กราฟอันบนแสดงถึง อุณหภูมิตั้งแต่ IDLE จนถึง Fullload ของฮีทซิงค์เดิม แบบติดตั้งแผ่น Crazycool ส่วนกราฟล่างเป็นแบบไม่ติดตั้ง Crazycool ซึ่งจากการทดสอบนั้น สันนิษฐานได้อีกหนึ่งข้อว่า แผ่น Crazycool นั้นถูกออกแบบมาสำหรับเคสแบบปกติ คือลักษณะเคสเป็นโลหะ และตัว แผ่นกระจายความร้อน Crazycool ที่ติดอยู่ด้านหลังเมนบอร์ดจะช่วยแผ่ความร้อนไปยังตัวเคสทำให้อุณหภูมิลดลง แต่ในที่นี่เราได้ทำการติดตั้งกับเคสแบบอะครีลิค จึงทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานไม่ค่อยน่าประทับใจเท่าไรครับ เพราะอะครีลิค จะอมความร้อน และถ่ายเทออกไปได้ช้า และหากท่านจะทำการใช้เมนบอร์ด Gigabyte ที่มี Crazycool นอกเคสแล้วละก็ ผมแนะนำให้ถอดแผ่น Crazycool ออกครับ เพราะมันจะกลายเป็นการช่วยเพิ่มความร้อน หากท่านวางเมนบอร์ดไว้กับโฟม หนังสือ หรือฟองน้ำ และในการทดสอบฮีทซิงค์รุ่นอื่นๆซิสเต็มชุดนี้ เราจะทำการถอด crazycool ออกทั้งหมดครับ
————————————————–


 


Scythe Zipang



หลังจากที่ได้ทำการทดสอบฮีทซิ้งค์ Stock ทั้งในแบบใช้ Crazycool บนเมนบอร์ดกิกาไบท์ช่วย และแบบถอด Crazycool ออกแล้ว เราก็มาเริ่มต้นกันด้วย Zipang จาก Scythe กันครับ (การเรียงลำดับการเทสต์ฮีทไปป์ทั้งหมดในบทความนี้ จัดเรียงตามลำดับเหตุการณ์จริงเลยนะครับ ว่าเทสต์ตัวไหนก่อนตัวไหนหลัง) โดยฮีทซิ้งค์ก็จะถูกบรรจุอยู่ในกล่องกระดาษสวยงามดังภาพครับ Zipang มาพร้อมกับพัดลม 13.9cm และฮีทไปป์ทั้งหมด6 ท่อ ขดกันสองทางครับ



การติดตั้งฮีทซิ้งค์หลังจากนี้ เราจะทำการถอด Crazycool ออกหมดในระหว่างการทดสอบนะครับ และใช้พัดลม Thermaltake Smartcase II ในการทดสอบครับ การติดตั้งนั้นไม่ง่ายไม่ยากมากนัก จะมีคลิปล็อคแบบฮีทซิ้งค์เดิมของอินเทล แถมมาให้ในกล่องเลย และนอกจากนี้Zipang ยังรองรับทั้ง Intel socket 775 รวมไปถึง 478 ในส่วน AMD ก็จะรองรับทั้งซอกเก็ต AM2 รวมไปถึง 939/754 อีกด้วยครับ เรียกได้ว่าไม่มีการทอดทิ้งเพื่อนเก่ากันเลยทีเดียว ซึ่งนี่ถือว่าเป็นข้อดีของฮีทซิ้งค์ตัวนี้อย่างหนึ่งนะครับ


สำหรับผลการทดสอบ ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่พอรับได้ครับสำหรับ Zipang ที่มีฮีทไปป์ถึง 6 ท่อด้วยกัน ฮีทซิงค์ตัวนี้จะมีข้อดีตรงที่ไม่จำเป็นต้องใช้พัดลมแรงมากๆ ก็สามารถใช้งานได้อย่างปกติครับ นอกจากนี้ยังติดตั้งง่ายในซอกเก็ต 775 ไม่จำเป็นต้องถอดเมนบอร์ดออกจากเคส ก็ใช้นิ้วกดลงไปได้เลยเหมือนซิ้งค์เดิมยังไงอย่างงั้น และยังรองรับซอกเก็ตเก่าๆอย่าง 754/939 หรือ 478 อีกด้วยครับ
————————————————–

Kingkong 6+



สำหรับฮีทซิงค์ตัวนี้นั้น มีขนาดค่อนข้างเล็กกว่าฮีทซิ้งค์ตัวอื่นๆที่เราได้ทำการทดสอบกันครับ โดยที่ที่วัสดุที่ใช้นั้นเป็นทองแดงทั้งตัวฟิน และตัวฐาน มีขายอยู่นานแล้วในบ้านเรา นำเข้าโดยร้าน Saveway นั้นเองครับ


ทั้งนี้ ทางทีมงาน Vmodtech ได้ไปเชิญทีมงานวิศวกรทั้งสองท่านจากร้าน saveway มาสาธิตการติดตั้งเจ้าฮีทซิ้งค์ตัวนี้อย่างถูกต้องให้ดูกันเลยครับ เพราะหนึ่งเราก็ไม่เคยสัมผัสกับฮีทซิงค์ตัวนี้เลย ตอนติดตั้งอาจทำให้มีข้อผิดพลาดได้ และสองเพื่อที่การทดสอบจะได้เป็นธรรม และจะได้ไม่มีข้อครหาใดๆว่า ทางเราติดตั้งฮีทซิ้งค์ได้ไม่ถูกต้องตามวิธีการติดตั้ง ซึ่งต้องขอขอบคุณทางร้านเป็นอย่างสูงเลยครับที่ได้ให้เกียรติมาติดตั้งฮีทซิงค์ให้ในครั้งนี้


ภาพเหตุการณ์ขณะที่วิศวกรจากทางร้านทั้งสองท่านต่างยืนจ้องมองขอนแก่นหล่อทำการทดสอบฮีทซิ้งค์ของทางร้านด้วยความสนใจครับ

 



นอกจากนี้ เรายังได้ทำการทดสอบร่วมกับพัดลม 3500 รอบที่ทางร้านแนะนำมาว่า จะให้ประสิทธิภาพสูงสุดกับฮีทซิ้งค์ตัวนี้ด้วยครับ แต่จากการที่ได้เฝ้าสังเกต พบว่ามีเสียงรบกวนค่อนข้างมากกว่าพัดลม 3000rpm ของ thermaltake พอสมควรเลยทีเดียวครับ (สงสัยเป็นเทคโนโลยีใหม่ รอบต่ำแต่เสียงรบกวนค่อนข้างสูง ซึ่งผมก็ไม่เคยเห็นครับ หุหุ)

 


Kingkong 6+ W/Thermaltake Smartcase fan II 3000rpm.


 


Kingkong 6+ W/DeltaFan 120mm. 3500rpm.


จากผลการทดสอบแล้วค่อนข้างน่าตกใจครับ ที่เป็นแบบนี้ส่วนตัวแล้วผมคิดว่า ฮีทซิงค์ตัวนี้มีขนาดค่อนข้างเล็ก และเป็นลักษณะทองแดงทั้งลูก จึงทำให้การคายความร้อนออกจากตัวทำได้ไม่ค่อยดีนักกับพัดลมรอบต่ำๆที่มี air flow ต่ำๆ แต่พอเจอกับพัดลมที่มีAirflowเยอะๆ เจ้าคิงคองตัวนี้ก็ทำผลงานได้ดีพอสมควรเหมือนกัน ถ้าหากมองว่า ฮีทซิงค์ขนาดเล็ก ติดตั้งไม่ยากไม่ง่ายนัก ตัวนี้ และด้วยราคาที่ค่อนข้างถูกกว่าชาวบ้านเขา นับว่าไม่เลวครับ
————————————————–

Thermalright Ultra 120 Extreme


และแล้วก็มาถึงครับ สำหรับฮีทซิ้งค์ที่ได้รับการกล่าวขานมากที่สุด Ultra120 Extreme ที่หลายๆคนบอกว่าเย็นๆๆ แต่ก็ยังเป็นข้อครหาอยู่ว่า มันเย็นกว่าชาวบ้านเขาอย่างที่หลายๆคนชอบเชียร์ จริงหรือไม่ ไปชมกันครับ


ฮีทซิ้งค์จาก Thermalright ยังคงเอกลักษณ์ของตัวเองอยู่อย่างเหนียวแน่นครับ คือบรรจุในกล่องกระดาษขึ้นรูปธรรมดาๆ ไม่มีลายใดๆทั้งสิ้น มีเพียงชื่อรุ่นและยี่ห้อ เขียนอยู่หน้ากล่อง และของแถมก็น้อยมากๆครับ ดังในรูปจะมีเพียงแค่ขาล็อคสำหรับ Socket 775 และ AM2 เท่านั้นครับ ส่วนที่ยึดพัดลมก็จะเป็นลวดสำหรับเกี่ยวเข้ากับพัดลม 120mm เพียงแค่ชุดเดียว แบบมาตรฐานที่มักจะแถมมากับฮีทซิ้งค์ที่ไม่มีพัดลมแถมให้แบบนี้

 


การติดตั้งไม่ง่ายไม่ยากครับ แต่ต้องมีการถอดเมนบอร์ดออกจากเคสเสียก่อนที่จะทำการติดตั้ง เพราะว่าตัวนี้ต้องทำการติดตั้ง backplate ก่อนที่จะร้อยน็อตลงกับเมนบอร์ดเสียก่อนครับ


จากผลการทดสอบ นี่เป็นฮีทซิงค์เพียงไม่กี่ตัวครับที่สามารถทำอุณหภูมิฟูลโหลดให้ต่ำกว่า 70องศาได้ ในขณะที่เราเทสในวันนี้นะครับ ถือได้ว่าสุดยอดครับในเรื่องของความเย็น แต่ข้อเสียก็มีอยู่บางอย่างครับ คือไม่มีพัดลมแถมมาให้ การติดตั้งก็ไม่ง่ายไม่ยาก แต่จัดว่ายุ่งยาก และในเรื่องของแพคเกจยังไม่ค่อยโดนใจเท่าไหร่ ที่เกี่ยวพัดลมก็ให้มาแค่ชุดเดียว ถ้าจะติดพัดลมประกบ2ตัวก็คงต้องโมเอาCable Tideรัดเพิ่มเอาเองอีกตัว ซิลิโคนที่แถมมาให้ จากที่เคยลองๆมาประสิทธิภาพก็ไม่ค่อยโดนใจเท่าไหร่ ประกอบกับราคาค่อนข้างโหดครับ ราคา 22xx บาทเลยทีเดียว แถมยังไม่มีพัดลมติดมาให้อีก แต่ถ้าหากมองจากประสิทธิภาพระดับสุดยอด และเนื้องานเนี้ยบๆตามสไตล์ thermalright แล้ว คอระบบระบายความร้อนธาตุลมที่รักแต่ความเย็นระดับสุดยอดล้วนๆ ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวงครับ
————————————————–

Thermalright IFX-14



สำหรับฮีทซิ้งค์อีกตัวหนึ่งจากทาง Thermalright ที่เราได้ทำการทดสอบต่อเนื่องกันไปเลยครับ เพราะว่าตัวนี้ก็ได้รับการกล่าวขานกันมากเช่นกัน ถึงแม้จะมีจำนวนฮีทไปป์เพียงแค่ 4 ท่อแต่ด้วยขนาดที่ใหญ่ และลักษณะการวางฟินทำให้ติดตั้งพัดลมได้สูงสุดถึง 3 ตัว ทำให้หลายๆคนสนใจในฮีทซิงค์ตัวนี้ครับ (แต่ขาลอคพัดลมที่แถมมาให้ มีพียง2ชุดนะครับ)


แต่อย่างไรก็ดี ในการทดสอบครั้งนี้เราก็ยังคงใช้พัดลม TT 3000rpm ในการทดสอบเช่นเคยนะครับ เพื่อให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันกับฮีทซิงค์ที่เข้าร่วมการทดสอบตัวอื่นๆ


จากผลการทดสอบดูแล้วค่อนข้างน่าผิดหวังครับสำหรับวันนี้กับ IFX-14 แต่ว่าหากมองโดยภาพรวม เนื้องานการประกอบ และความยิ่งใหญ่อลังการ สามารถติดตั้งพัดลมได้มากถึง 3 ตัว ก็นับว่าเยี่ยมมากแล้วครับสำหรับฮีทซิงค์ 4 ท่อ แบบนี้ และที่ผลการทดสอบออกมาเป็นแบบนี้ ก็คงจะเป็นเพราะเราได้ใช้พัดลมเพียงแค่ตัวเดียวในการทดสอบก็เป็นได้ครับ เจ้าIFX-14จึงยังไม่สามารถแสดงศักยภาพออกมาได้เต็มที่ และขนาดของพัดลมก็ดันเล็กกว่าฮีทซิงค์ตัวนี้อีก(จริงๆฮีทซิงค์ตัวนี้ ถูกออกแบบมาให้ติดตั้งกับพัดลมขนาด14CM.ได้ด้วย)ทำให้ส่วนที่โดนลมไม่พอเพียงหรือไม่โดนลมเลย(Dead Zone)มีหลายจุดพอสมควรซึ่งอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ข้อจำกัดในการทดสอบของเราคราวนี้ที่ใช้พัดลม12เซน เพียงตัวเดียวเท่านั้นในการทดสอบ ทำให้เจ้าIFX-14ตัวนี้ ไม่สามารถแสดงศักยภาพในตัวมันเองออกมาอย่างเต็มที่ในการทดสอบคราวนี้

 ซึ่งถ้าหากไม่สนใจ เรื่องของเสียงรบกวนมากนัก (เมื่อติดตั้งพัดลมหลายๆตัว) และชอบในดีไซน์และความเนี้ยบ ของ Thermalright IFX-14 ก็สามารถทำให้คุณประทับใจได้เหมือนกันครับ และในการทดสอบครั้งนี้ เนื่องจากชุด IFX-14 ที่เราได้รับมาทดสอบนั้นไม่มีฮีทไปป์ระบายความร้อนที่ไว้สำหรับติดตั้งด้านหลังเมนบอร์ด(ใต้ซอกเก็ต) คาดว่าคงจะตกหล่นระหว่างทาง หรือคงจะเป็นชุดสำหรับทดสอบ เลยไม่ได้มีมาให้ ดังนั้นมันจึงยังไม่ได้แสดงประสิทธิภาพที่แท้จริงของฮีทซิงค์ชุดนี้ครับ แต่จากประสบการณ์ทั้งของผมผู้บรรยาย(northbridge)และท่าน Venom-Crusher เมื่อทำการติด Heatpipe หลังบอร์ดที่แถมมากับชุด IFX-14 จะทำให้อุณหภูมิซีพียูลดลงไปราว 1-2องศาเลยทีเดียวครับ
————————————————–

Zalman CNPS-9700-LED



สำหรับ ฮีทซิงค์ตัวนี้ ก็ถือว่าเป็นฮีทซิงค์ตัวนึงที่ได้ออกมาทำตลาดในบ้านเรามาเป็นเวลานานมากแล้วครับ สำหรับ Zalman นั้น ตัวนี้แทบจะเรียกได้ว่าเป็นฮีทซิงค์ตัวชูโรงของเขาเลยทีเดียว รองรับซอกเก็ต 775 และ AM2 การติดตั้งนั้นก็ไม่ง่ายไม่ยาก และต้องมีการถอดเมนบอร์ดออกมาด้วยครับ และเนื่องจากไม่สามารถทำการถอดเปลี่ยนพัดลมได้ เราจึงต้องใช้พัดลมเดิมทำการทดสอบดังที่เห็นในรูปครับ

นี่ก็เป็นฮีทซิงค์อีกตัวที่ทำงานเงียบมากๆครับ เพราะเราไม่สามารถเปลี่ยนพัดลมเป็น TT3000rpm ของเราให้ได้ แต่หากดูจากผลงานแล้ว นับว่าไม่เลวเลยทีเดียวครับ กับพัดลมรอบต่ำๆ สีสวยๆ ผลการทดสอบน่าพอใจในระดับหนึ่งเลยทีเดียว การติดตั้งก็ไม่ง่ายไม่ยากมากนักครับ เหมือนๆกับฮีทซิงค์ตัวอื่นๆที่ต้องทำการถอดเมนบอร์ดออกจากเคส หากท่านชอบดีไซน์ของมัน และต้องการสร้างคอมพิวเตอร์ที่ไร้เสียงรบกวนแล้วละก็ CNPS9700 LED อาจเป็นคำตอบให้กับคุณได้ครับ
————————————————–


Thermalright HR-01 Plus



นี่ก็เป็นฮีทซิงค์ตัวดังอีกตัวหนึ่งจาก Thermalright และคงไม่ต้องกล่าวซ้ำนะครับสำหรับแพคเกจของมัน ในส่วนของของแถม ก็เช่นเดิมครับ มีเพียงขาล็อคสำหรับ 775 และ AM2 และไม่มีพัดลมติดมาให้ สำหรับ HR01 นั้นทาง Thermalright เหมือนจะจงใจออกแบบมาให้เจาะตลาดกลุ่ม Fanless คือตัวมันเองจะมี Hood สำหรับต่อกับพัดลมหลังเคส แยกขายอีกทีนึงครับ แต่หากใครประสงค์จะใช้พัดลม ในกล่องก็มีขาล็อคสำหรับติดพัดลมขนาด 120mm มาให้1ชุดเช่นกัน


แต่ขาล็อคมันกลับใช้ไม่ได้ครับ เอิ้กๆ ย้ำว่าขาล็อคน่ะมีแถมให้ครับ แต่ใช้กับพัดลม TT Smartfancase 2 ไม่ได้ครับ เพราะว่าพัดลมตัวนี้มีท่อตรงบริเวณที่ยึดน็อต จึงทำให้ขาล็อคไม่สามารถสอดเข้าไปได้ครับ เลยต้องเอาCable Tideร้อยติดตั้งตามรูปครับ  ส่วนการติดตั้งเข้ากับระบบก็เป็นเหมือน Thermalright ตัวอื่นๆ คือต้องถอดเมนบอร์ดออกมาถึงจะทำการร้อยน็อตลงไปได้ครับ


ผลการทดสอบของ HR01+ นั้นก็ยังคงไม่สามารถขึ้นไปสู้กับรุ่นพี่ Ultra120extreme ได้ครับ แต่ว่าก็ทำผลงานออกมาอยู่ในระดับแนวหน้าแซงซิงค์ตัวใหญ่ๆหลายๆตัวเลยครับ แต่ว่าหากมองว่า HR01 เป็นฮีทซิงค์ที่ออกแบบมาสำหรับระบบ Fanless คืออาศัยพัดลมเคสอย่างเดียวแล้วละก็ นับว่าน่าสนใจครับ (เพราะที่ร้านเจไดก็มี Hood สำหรับติดตั้งกับพัดลมเคสได้โดยไม่ต้องติดพัดลมเข้ากับตัวซิงค์) เนื้องานเนี้ยบมากตามสไตล์ Thermalright ผิวชุบนิกเกิ้ล คอ Fanless ก็ควรที่จะรวมเจ้า HR01 มาไว้เพื่อประกอบการตัดสินใจครับ
————————————————–

 Noctua NH-U12P



สำหรับฮีทซิงค์ Noctua ตัวนี้ ดูเผินๆแล้วใครหลายคนอาจจะคิดว่าเป็น Thermalright กลับชาติมาเกิด หรือเป็น HR01 ติดพัดลมน็อคตั้ว ก็เป็นได้ครับ เพราะลักษณะการออกแบบค่อนข้างคล้ายกันมากครับ คือพื้นผิวส่วนใหญ่จะผ่านการชุบนิกเกิ้ลมา เหมือนกันอย่างกับแกะครับ แต่จะต่างกันตรงที่ Noctua นั้นจะถูกบรรจุลงมาในกล่องพิมพ์4สี สวยงามมากๆครับ อิอิ (ขออภัยไม่ได้ถ่ายรูปให้ดู) โดยจุดเด่นที่เห็นอันดับแรกของฮีทซิงคืตัวนี้ ก็คือของแถมดีเด่นครับ โดยอันดับแรกมีพัดลมไฮโซ NF-P12 ขนาด 120mm พร้อมชุดสายปรับรอบพัดลม ที่เราได้เคยทำการรีวิวไปในเวบแล้ว Bundleมากับตัวฮีทซิงค์ชุดนี้ด้วยเลย โดยตัวพัดลมมีรอบการทำงานต่ำเพียง 1300rpm เท่านั้น แต่แรงลมที่ออกมาทำได้ดีแทบไม่ต่างกับพัดลมที่มีรอบประมาณ2000rpmเลยครับ ลวดเกี่ยวพัดลมที่ให้มา2ชุด ทำให้การจะติดพัดลมเพิ่มแบบSandwichทำได้โดยง่ายและสวยงาม ตามด้วยซิลิโคนอย่างดีที่มีแยกขายอยู่ที่หลอดละ380บาท ก็แถมฟรีๆมาในกล่องด้วยครับ ยังครับยังไม่หมด แถมไขควงรูปตัวLที่หาซื้อไม่ได้มาอีกตัวด้วยครับ แต่ฮีทไปป์ที่มามีเพียง 3 ท่อเท่านั้นครับ (ขดกันเป็นตัว U) แล้วฮีตไปป์น้อยแบบนี้ จะทำได้ดีแค่ไหนนะ เราไปชมกันครับ


ขณะทำการทดสอบ เราก็ยังคงใช้พัดลม Thermaltake ในการทดสอบเช่นเคยครับ ที่ไม่เทสต์กับพัดลมที่แถมมา ก็เพราะเวลาเรามีน้อยมากกลัวจะเทสต์ทั้งหมดไม่ทัน ก็ขออภัยด้วยนะครับที่ไม่มีการเทสต์กับพัดลมที่มากับชุดเหมือนตอนเทสต์ซิงค์คิงคอง


สำหรับเจ้านกฮูกจากดินแดนยุโรปตัวนี้ ก็ทำผลงานออกมาได้แบบสอบผ่านกับฮีทไปป์ที่มีเพียงแค่ 3 ท่อ และขนาดที่เล็กกว่าHR01 จาก Thermalright อีกเล็กน้อย ก็สามารถทำผลงานได้ขนาดนี้ เนื้องานก็เนี้ยบมากๆครับ ตามสไตล์ผลิตภัณฑ์จากทางยุโรป ติดตั้งไม่ง่ายไม่ยาก แต่ยังคงจำเป็นต้องถอดบอร์ดออกเพื่อติดตั้งครับ และพัดลมที่แถมให้เสียงรบกวนต่ำมาก ในขณะที่ยังคงรักษาปริมาณแอร์โฟลว์ได้ดี (ที่ได้เคยทดสอบไป) Noctua ตัวนี้ ก็คงจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ที่จะสร้างคอมพิวเตอร์ที่ไร้เสียงรบกวนแบบเรียบหรูดูมีระดับ สำหรับนั่งเล่นตอมสไตล์นกฮูกละครับ กับของแถมเพียบไม่ต้องซื้ออะไรเพิ่มอีก พร้อมส่งฟรีถึงบ้านทั่วประเทศ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้รักธาตุลมนะครับ
————————————————–

 Scythe Orochi



นี่ก็เป็นอีกหนึ่งยักษ์ใหญ่ครับ สำหรับ Orochi ด้วยขนาดใหญ่โตมโหฬาร และฮีทไปป์ที่มากถึง 10 ท่อ Orochi โดยปกติแล้วจะทำงานร่วมกับพัดลมขนาด 14cm ที่ติดมากับตัวมันครับ แต่พัดลม 14cm ที่ติดมานั้นจะมีรอบการทำงานที่ต่ำมากๆ คือ 500 รอบต่อนาทีเท่านั้นครับ นอกจากนี้ตามสไตล์ของ Scythe ยังคงรองรับซีพียูตกรุ่นอย่างซีพียูในซอกเก็ต 478 754/939 รวมไปถึงซอกเก็ตใหม่ๆอย่าง 775 และ AM2 อีกด้วยครับ 


ตัวฮีทซิงค์นั้นในการติดตั้งยังคงต้องมีการถอดเมนบอร์ดออกมาจากเคสเช่นเดิมครับ และด้วยขนาดที่ใหญ่มากๆ ทาง Scythe ได้แนะนำว่า ก่อนที่จะซื้อไปใช้ควรจะตรวจสอบเคสของท่านก่อนว่าสามารถยัดเจ้า Orochi 10 ท่อนี้ลงไปได้อย่างไม่มีปัญหาหรือไม่


ด้วยฮีทไปป์ถึง 10 ท่อ แต่ยังไม่สามารถทำผลงานให้น่าประทับใจได้ แต่ทางทีมงานคาดว่า น่าจะเป็นที่ข้อจำกัดที่ทางเราตั้งขึ้นมาในการทดสอบนี้ ที่เลือกใช้พัดลม 12cm เพียงตัวเดียวในการทดสอบ เพราะระหว่างการทดสอบ จากที่ได้สังเกตตัว Orochi นั้นเกิด Dead Zone บริเวณฟินอยู่หลายๆส่วน ที่พัดลมนั้นไม่ได้ครอบคลุมครับ จึงก่อเกิดให้เป็นความร้อนสะสม สังเกตจากกราฟได้ครับ ว่าแรกๆมาหลังติดตั้งIdleของซิงค์ตัวนี้ก็ทำผลงานได้ดีในระดับดีมาก แต่พอเทสต์นานๆไปกราฟกับค่อยๆไต่ขึ้นเหมือนมีความร้อนที่ระบายไม่ทันสะสมอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง และประกอบกับตัวซิงค์มีขนาดค่อนข้างใหญ่ จึงทำให้ต้องการพัดลมที่มีปริมาณ airflow สูงมากกว่าตัวอื่นๆ จึงทำผลงานออกมาค่อนข้างประหลาดๆครับ แต่ถ้าหากจับกับพัดลมเดิมที่มีความเร็วเพียง 500rpm แต่มีขนาดใหญ่กว่าแล้วละก็ ไม่มีปัญหาเรื่องDeadZoneครับ แต่มันอาจจะร้อนกว่านี้อีก เพราะAirflowที่ต่ำจนเกินไปนั่นเอง แต่ก็ถือว่าเหมาะครับสำหรับการสร้างคอมพิวเตอร์ที่ไร้เสียงรบกวน และไม่ทำให้ซีพียูร้อนจนเกินไป
————————————————–

 Xigmatek Red-Scorpion S1283



ฮีทซิงค์อีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจในการทดสอบครั้งนี้ครับ กับ Sigmatek S1283 ที่โดดเด่นด้วยเทคโนโลยี Heatpipe Direct Touch ครับ (เดี้ยวว่ากันเป็นยังไง) แต่ตัวนี้ก็เป็นฮีทซิงค์อีกหนึ่งตัวครับที่เราได้รับมาจาก somuchmore.biz มาทำการทดสอบ พร้อมๆกับ Noctua ฐานล็อคนั้นล็อคค่อนข้างง่ายครับ (เหมือนซิงค์เดิมเลย) และเนื้องานก็เนี้ยบมากๆครับ มีฮีทไปป์ติดมาเพียง 3 ท่อเท่านั้น ขดกันเป็นรูปตัว U ครับ


มาดูกันในส่วนของฐานของมันครับ เป็นแบบ Heatpipe Direct touch คือนำส่วนของท่อฮีทไปป์มาสัมผัสกับหน้าสัมผัสซีพียูโดยตรง ในส่วนนี้เนี่ย ต้องระวังให้ดีดีครับสำหรับการติดตั้ง ควรจะทำการเกลี่ยนซิลิโคนให้ทั่วเสียก่อนที่จะติดตั้งลงไป ไม่อย่างนั้นแล้ว ซิลิโคนจะไม่กระจายทั่ว แล้วมันจะไปกระจุกตัวกันอยู่ที่ท่อฮีทไปป์อันกลางอันเดียวครับ


ติดตั้งกันอย่างตามมีตามเกิดเช่นเคยกับพัดลมที่เราใช้ในการทำการทดสอบ เจ้าพัดลมที่มีรูร้อยนอตตันๆแบบในรูปนี่ ไม่compatibleกับลวดยึดพัดลมของหลายๆยี่ห้อเลยนะครับเนี่ย


สำหรับพัดลมที่แถมมาให้ ทีอยากจะโชว์ครับ สีค่อนข้างสวยงามหรูหรามั้กๆครับ ทางผู้ผลิตเขาบอกว่าเจ้า Redscorpion นี้ทำมาเพื่อฉลองเทศกาลตรุษจีนครับ (นานมาแล้วละ)


ดูจากผลการทดสอบแล้ว หลายคนอาจจะไม่เชื่อว่านี่คือฮีทซิงค์ที่ใช้ฮีทไปป์เพียง 3 ท่อในการระบายความร้อน แต่ด้วยเทคโนโลยี Heatpipe Direct touch ครับจึงทำให้มันเย็นได้ขนาดนี้ รวมไปถึง พัดลมที่มีสีสวยงาม และเนื้องานเนี้ยบมากในระดับหนึ่ง Xigmatek น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับนักแต่งเคสตัวยงที่ไม่ต้องการฮีทซิงค์ที่หนักทรมานบอร์ดและติดตั้งยากนักครับ เพราะว่าใช้คลิปล็อคเข้ากับบอร์ดแบบเดียวกับซิงค์เดิมอินเทล ทำให้ติดตั้งค่อนข้างง่ายเลยทีเดียวละครับ
————————————————–

 Scythe Ninja Mini



ฮีทซิงค์อีกรุ่นหนึ่งจาก Scythe นะครับ ด้วยขนาดที่เล็ก กับท่อฮีทไปป์ถึง 6 ท่อทำให้มันดูแปลกๆตาไปบ้างเมื่อใส่กับพัดลม 120mm ขาล็อค ยึดค่อนข้างง่ายครับ เป็นขาล็อคแบบซิงค์เดิมอินเทล แต่ว่ามันจะติดมืออยู่บ้างเวลากด แต่ก็ไม่ได้ทำให้ยากจนเกินไปครับ ดูจากสภาพแล้ว เหมาะมากๆครับที่จะเอาไว้ใส่กับเคสเล็กๆ แล้วจับกับพัดลม 80mm เบาๆ สบายๆไว้เปิดโหลดบิต 24ชม อิอิ


อีกหนึ่งผลงานในตระกูล Ninja จากไซท์ นะครับ ดูๆแล้วก็ถือว่าพอรับได้สำหรับฮีทซิงค์ตัวนี้(เย็นกว่าซิงค์เดิมตัวหนาฐานทองแดงของอินเทล2องศา) ที่มีขนาดเล็กกว่าชาวบ้านเขา (ออกแบบสำหรับใช้กับพัดลม 80mm) เหมาะสำหรับที่จะเอาไว้ใส่ในเคสขนาดเล็กๆ และไม่ทำให้ซีพียูร้อนจนเกินไปครับ Scythe Ninja Mini สามารถตอบโจทย์ข้อนี้ได้อย่างดีเลยทีเดียว
————————————————–

Gigabyte Volar




Volar มีจุดเด่นตรงที่ความสวยงามครับ เพราะตัวมัน มีฮีทไปปฺ์ติดมาเพียงแค่ 2 ท่อเท่านั้นครับ โดยที่ลักษณะของฟินเป็นเหมือนฮ๊ทซิงค์เดิมๆของอินเทล 775 ไม่มีผิดครับ ดูเผินๆแล้วก็เหมือนซิ้งค์เดิมยกสูงเลยครับ เอิ้กๆ


ดูจากผลการทดสอบแล้ว ค่อนข้างผิดหวังมากๆครับ เพราะแทบไม่ต่างอะไรจากซิงค์เดิมของอินเทลเลย จะมีน่าสนใจก็ตรงที่รูปทรงที่ดูแปลกตาครับ เหมาะที่จะซื้อไว้โชว์สวยๆกับความมีดีไซด์ซะมากกว่าเอามาใช้งาน overclock ครับ
————————————————–

Arctic cooling Freezer 7 Pro



Arctic Cooling ยี่ห้อที่หลายๆคนคุ้นเคยครับ เพราะในอดีต เจ้าฮีทซิงค์ยี่ห้อนี้ก็ได้เคยทำให้หลายๆคนต้องตกตะลึงในความเย็นและเงียบของมัน แต่ในปัจจุบัน ดูเหมือน Arctic Cooling จะเงียบหายไป เหมือนไม่ได้ออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องของฮีทซิงค์สำหรับซีพียูมากนักครับ ที่เห็นๆก็จะเป็นซิลิโคนอันเลื่องชื่ออย่าง MX1 และ MX2 ซะมากกว่า ดีไซน์ของฮีทซิงค์ในตระกูล Freezer นั้นก็ยังคงเป็นเหมือนเดิมๆที่ผ่านมาในอดีตครับ


ผลการทดสอบนั้น ถือว่าไม่ดีไม่เลวนะครับ แต่ถ้าหากมองๆดูแล้ว AC ก็ได้ใช้ดีไซน์แบบนี้มานานตั้งแต่สมัย AMD64 หรือ Pentium 4 ดังๆแล้ว ก็ยังไม่ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงดีไซน์มากนัก จนทำให้คู่แข่งก้าวหน้าไปอีกขั้น ดูๆแล้ว ฮีทซิงค์ตัวนี้คงเหมาะสำหรับการนำไปทำคอมพิวเตอร์ Noise less มากกว่าจะมาทำการ overclock โหดๆครับ และด้วยความที่เป็นคลิปล็อคแบบมาตรฐานของอินเทล ทำให้ติดตั้งง่าย ถือว่าเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับ คอมพิวเตอร์แบบ Noiseless ก็แล้วกันนะครับ
————————————————–

Gigabyte G-power Pro 2



ฮีทซิงค์หน้าตาดีอีกตัวหนึ่งจากทาง Gigabyte ครับ โดดเด่นด้วยพัดลมไฟ LED สีฟ้า ใครที่เดินผ่านไปผ่านมาในบู้ต Gigabyte ทั้ง 9 วันในงาน DES Roadshow คงจะได้เห็นกันครับ เพราะว่าระหว่างที่วางโชว์อยู่กับเครื่องสาธิตระบบ DES มีแต่คนมามุงดู ไม่ได้สนใจในระบบ DES เลยครับ แต่สนใจซิ้งค์กันครับ เพราะว่ามันโดดเด่นสะดุดตาจริงๆครับ อิอิ ฮีทซิงค์ตัวนี้ มีฮีทไปป์ 5 ท่อด้วยกันครับ และใช้ฐานยึดแบบเดียวกับซิงค์เดิม จึงทำให้ติดตั้งค่อนข้างง่ายมากๆครับ


ผลการทดสอบ ดูจากกราฟอุณหภูมิแล้ว ค่อนข้างประทับใจครับ นอกจากความสวยแล้ว ยังสามารถทำความเย็นได้ในระดับที่น่าพอใจมากๆ(อันดับ1ในการทดสอบนี้ประเภทBundle Fan!!) หากมองหาฮีทซิงค์เท่ๆ สะดุดตา และประสิทธิภาพที่ดี G-power Pro2 ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจครับ
————————————————–

Sunbeam Tuniq Tower 120



มาถึงฮีทซิงค์ตัวสุดท้ายกันแล้วนะครับ นั้นคือ Tuniq จาก Sunbeam   ที่ได้รับการเอื้อเอื้อเฟื้อจากท่าน Dazeb มองจากภาพรวมแล้วฮีทซิงค์ตัวนี้ก็ถือว่าออกแบบได้ค่อนข้างดีในสายตาผมครับ มีการจัดวางพัดลมให้อยู่ตรงกลางฟิน ซึ่งจะทำให้มีปัญหาเล็กน้อย ในการใส่พัดลมขนาดใหญ่ครับ แต่ Tuniq ก็รองรับพัดลม 120mm มาตรฐานที่สำหรับติดเคส แทบทุกแบบนะครับ ดังนั้นหมดห่วงเรื่องใส่พัดลมไม่ได้แน่นอน (พัดลมเดิมก็มีแถมมาให้นะครับ) ฐานที่ใช้ยึดก็ติดตั้งไม่ง่ายไมยาก แต่ต้องถอดเมนบอร์ดออกจากเคสก่อนทำการติดตั้ง สามารถใช้มือเปล่าติดตั้งได้เลยครับ แทบจะไม่ต้องใช้ไขควง เพราะน็อตที่ใช้ยึดก็เป็นแบบมือหมุนมาให้เลย


ผลการทดสอบค่อนข้างไล่เลี่ยกับ Thermalright หลายๆรุ่นเลยทีเดียว (ตาม chart เป็นที่ 2 เลยนะ ) และสนนราคาที่ถูกกว่า U120extreme หลายร้อยบาท เพียง 17xx เท่านั้นครับ แถมยังได้พัดลม 120mm ติดมากับซิงค์โดยไม่ต้องซื้อเพิ่มเลย นับว่าเป็นฮีทซิงค์ที่ผมมองว่าคุ้มค่ามากๆครับ แต่จะต้องติงนิดนึงตรงที่พัดลมนั้นจะใช้พัดลม 120mm ที่มีความหนามากกว่า 1นิ้วไม่ได้ครับ เพราะว่าต้องใส่พัดลมเข้าไปในช่องตรงกลางระหว่างฟิน และเนื้องานที่ยังเนี้ยบสู้ Thermalright ไม่ได้ แต่หากมองจากความคุ้มค่า เม็ดเงินต่อเม็ดเงิน Tuniq ได้ในข้อนี้ไปครองเลยทีเดียวครับ น่าเสียดายนิดที่ตอนนี้ดูเหมือนจะไม่มีวางขายในไทยแล้วตอนนี้ ของดีๆถูกๆแบบนี้ ทำไมตอนนี้ถึงไม่มีขายแล้วก็ไม่รู้ครับ
————————————————–

Conclusion



และนี่ก็เป็นผลทั้งหมดที่เราได้ทำการจดบันทึกโชว์ผู้ที่เดินผ่านไปผ่านมาให้ชมภายในงานครับ (มีคลาดเคลื่อนบ้างในการอ่านกราฟขณะอยู่ในงาน แต่ก็ได้รับการแก้ไขค่าให้ตรงตามภาพกราฟจากSpeedFanที่ได้บันทึกเอาไว้แล้วในบทความนี้ ยังไงทางทีมงานก็ขออภัยเป็นอย่างยิ่งในความผิดพลาดนี้นะครับ)


และนี่ก็เป็น ผลการทดสอบทั้งหมดครับ แต่ต้องอย่าลืมว่า ยังคงมีฮีทซิงค์บางตัวที่เราไม่ได้ทำการทดสอบภายใต้เงื่อนไขเดียวกันคือใช้พัดลม TT Smartcase II 3000rpm ในการทดสอบครับ เราจึงได้ทำ Graph แยกออกมาอีกเป็นสองชุดด้วยกันด้านล่างครับ


กราฟด้านบนเป็นกราฟที่เปรียบเทียบฮีทซิงค์ที่สามารถติดตั้งพัดลม Thermaltake 3000rpm ลงไปได้ครับ 


ส่วนนี่เป็นกราฟของฮีทซิงค์ที่ใช้พัดลมเดิมๆในการทดสอบ

 


 


 


 




นี่ละตัวแสบเลยครับ ดูสิครับลากไก่ไปกินกลางห้างเลย


แท้ที่จริงแล้ว ที่ Thermalright Ultra120 Extreme นั้นได้รับชัยชนะในครั้งนี้ ก็คงจะเป็นเพราะทางทีมงานทดสอบในวันนั้น ได้ถูกซื้อตัวไปด้วยไก่ KFC ที่ทางร้าน Jedi ซื้อมาเลี้ยง โดยไม่ต้องจ่ายค่าแบนเนอร์แพงๆมาซื้อตัวช่วยมั่วผลการทดสอบให้ดูดีเหมือนบางที่แต่อย่างใด ซึ่งทางVmodtechเราก็เชียร์ให้เย็นได้ง่ายๆด้วยเศษไก่เพียงไม่กี่ชิ้นครับ เอิ๊กๆ…. ล้อเล่นน่ะครับ อิอิ จริงๆคือทางร้าน Jedi ใจดีครับ หลังจากที่เจ๊บ๊วยรู้ว่า Thermalright Ultra120 Extreme ที่ตัวเองขายอยู่ได้แชมป์ ก็ดีใจยกใหญ่ ไปซื้อไก่มาเลี้ยงกันเลยทีเดียว ก็ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยนะคร้าบ ^^
ก็ถือได้ว่าสิ้นสุดลงไปอย่างเป็นทางการครับ กับการทดสอบแบบ Liveshow ต่อหน้าสายตาสักขีพยาน ทั้งผู้ที่สนใจทั้งที่เดินผ่านไปมา และตัวแทนจำหน่ายต่างๆที่ให้เกียรติมาเยี่ยมชมและร่วมติดตั้งเป็นระยะๆ กับฮีทซิงค์ทั้งหมด 14 รุ่นจาก ร้านขายอุปกรณ์ระบายความร้อนชื่อดังต่างๆ ที่ได้ทำการทดสอบมาทั้งหมดนี้ ทางทีมงานไม่ได้ต้องการให้ผู้อ่าน อ่านแล้วเข้าใจว่า ตัวโน้นดีที่สุด หรือตัวนี้ดีที่สุดนะครับ เพราะในการทดสอบคราวนี้เราทดสอบกันแบบเหนือธรรมดาด้วยCPU Quadcore กับไฟVCoreที่สูงถึง1.5V. ซึ่งถ้าCPUที่ท่านใช้มันไม่ส่งความร้อนออกมามากขนาดนี้ ผลต่างระหว่างซิงค์แต่ละตัวคงไม่มากขนาดนี้เป็นแน่ครับ ซึ่งการเลือกซื้อของแต่ละอย่างจริงๆแล้ว ของที่ดีที่สุดนั้น ผู้ซื้อ ต้องเป็นคนตัดสินใจครับ ว่ามันจะดีที่สุดหรือไม่ ฮีทซิงค์ทั้ง 14 ตัว ทั้งผู้ชนะ ผู้แพ้ ต่างก็มีข้อดีข้อเสียที่น่าสนใจครับ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้ต้องการข้อดีแบบไหน ถึงจะได้เลือกฮีทซิงค์นั้นๆมาใช้ ในบางครั้ง ตัวที่เย็นกว่า ก็อาจจะแลกมากับราคาสูงจนเกินไป ในขณะที่อีกหลายๆตัวมีราคาที่ต่ำกว่า แต่ของแถมที่ให้มามากกว่า เย็นน้อยกว่าแค่ไม่มาก ทำให้น่าคบหามากกว่า และบางคนก็อยากที่จะซื้อฮีทซิงค์ที่เงียบๆ ไม่มีเสียงรบกวน แต่ไมได้ซีเรียสเรื่องความเย็นมากนัก ในขณะที่บางคนก็ต้องการที่จะแต่งคอมให้สวยๆ ขอให้มีฮีทซิงค์สวยๆติด ก็พอแล้ว เป็นต้นครับ ดังนั้น ของที่ดีที่สุด ไม่ใช่ Media ต่างๆ จะเป็นผู้ตัดสินครับ แต่อยู่ที่ตัวผู้ใช้เองต่างหาก ที่จะต้องเป็นผู้ตัดสินว่าตัวไหนดีที่จะเหมาะกับผู้ใช้ Media อย่างพวกเราก็มีหน้าที่เพียงแค่นำเสนอข้อดีข้อเสีย และประสิทธิภาพ ให้ผู้ใช้ได้ชมอย่างโปร่งใสเท่านั้นครับ

วันนี้ก็ขออำลาไปแต่เพียงเท่านี้ครับ สวัสดีครับ…

ขอขอบคุณ:

ร้านเจได  http://www.jedicool.com/

ร้านทีเค คอมพิวเตอร์ http://www.tkcom99.com

ร้าน Saveway Technology.

Somuchmore.biz

Gigabyte United สำหรับสถานที่ทดสอบถ่ายทำ

ท่าน Dazeb สำหรับฮีทซิงค์ Tuniq

 


ร่วมวิจารณ์บทความนี้ คลิกที่นี่

«ก่อนหน้า 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»